นวัตกรรมในทางวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมโดยได้รับการยอมรับจากสังคม จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
แต่นวัตกรรมในทางสังคม จะหมายถึง ความคิด ความรู้ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆที่สามารถใช้แก้ไขปัญหาสังคมหรือพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าเดิม
สภาพลเมืองเชียงใหม่ มีนวัตกรรมทางความคิดความรู้ เกี่ยวกับการกระจายอำนาจในรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง จนสามารถยกร่างพระราชบัญญัติ(พรบ.)เชียงใหม่จัดการตนเอง แม้ว่าจะไม่สามารถผลักดันจนออกมาประกาศใช้เป็นกฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นต้นแบบให้หลายๆจังหวัดยกร่าง พรบ.จังหวัดขึ้นมาอีกหลายจังหวัดและเป็นกระแสเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง
สมาคมเครือข่ายสร้างบ้านแปงเมือง จ.พะเยา เน้นท้องถิ่นจัดการตนเองและขับเคลื่อนเรื่องต่างๆในระดับตำบล ทั้งแผนแม่บทชุมชน สวัสดิการชุมชน ภัยพิบัติ เกษตรปลอดภัย ฯลฯ
สภาพลเมืองสุรินทร์ ใช้พลังชุมชนในการจัดการตนเอง มีการเชื่อมโยงข้าวและเกษตรอินทรีย์สู่นโยบายระดับจังหวัด จนสามารถขับเคลื่อนพื้นที่และมีเกษตรกรร่วมขบวนการหลายหมื่นคน
สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืนนครสวรรค์ มีแนวคิดท้องถิ่นกำหนดอนาคตตนเอง จนเกิดโรงเรียนชาวนาเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ มีเกษตรอินทรีย์ การทำงานกับเด็กเยาวชนจนถึงผู้สูงวัย
สมาคมศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนนครปฐม ใช้แนวคิดพลังชื่นชม ทำอะไรคิดให้ชัด นำไปสู่การแก้ไขปัญหาน้ำเสียแม่น้ำท่าจีน ฟลัดเวย์ (Flood Way) คัดค้านการย้ายพิพิธภัณฑ์จนประสบผลสำเร็จ
รักจังสตูล ใช้แนวคิดสันติวิธี มีอารยะ รวมคนร่วมคิด กำหนดทิศทางสตูล พัฒนาโดยรากหญ้า สร้างพลังแรงเหวี่ยงที่เรียกว่า ลูกข่าง (ลูกกะสิงห์) จนสามารถคัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา สร้างสัปดาห์บอกรักเภตรา ตกปลาหัวโทงฟิชชิ่ง เดินเท้าตามเส้นทางแลนด์บริดจ์ จัดตั้งธนาคารปู เป็นต้น
โดยสามารถสรุปนวัตกรรมประชาสังคม ได้ดังตารางที่ 2 ดังนี้
ตารางที่ 2: นวัตกรรมประชาสังคม
แกนนำ/กลไก | ความคิด+ความรู้ | วิธีการ | กิจกรรม |
1.เชียงใหม่
“สภาพลเมือง” |
– การกระจายอำนาจ
– การจัดการตนเอง |
– การหาข้อตกลงร่วม
– เผยแพร่ – ติดตาม – เวที+รณรงค์ – เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข |
– ธรรมนูญสภาพลเมือง
– เคลื่อนไหวจังหวัดจัดการตนเอง – บ้านพักผู้พิพากษา – ถนนเส้นยางนา |
2.พะเยา
“สมาคมเครือข่ายสร้างบ้านแปงเมือง” |
– จิตอาสา
– คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน – ท้องถิ่นจัดการตนเอง |
– ระดมข้อมูล
– วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม – ปรึกษาหารือ – กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ – ขับเคลื่อนพื้นที่ – เชื่อมโยงประสานกับภาคีภายนอก – รณรงค์ เผยแพร่ |
– ขับเคลื่อนพื้นที่สภาองค์กรชุมชน
– เกษตรครบวงจร/เกษตรปลอดภัย – สวัสดิการชุมชน – 7 วาระคนพะเยา – ธรรมนูญตำบล – ภัยพิบัติ – แผนแม่บทชุมชน |
3.สุรินทร์
“จากสุรินทร์เสวนาสู่สภาพลเมือง” |
– ประยุกต์ศาสนธรรมเพื่อการพัฒนา
– คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน – ความเข้มแข็งของชุมชน – พลังพลเมืองจัดการตนเอง – Micro สู่ Macro เกษตรอินทรีย์ |
– เรียนรู้
– ปฏิบัติร่วม – ศึกษาปราชญ์ – เสวานาตามสถานการณ์ “เพื่อนชวนเพื่อน” – รณรงค์ เวทีเคลื่อนไหว – วิชาการชาวบ้าน – กลุ่มธรรมชาติ |
– สหบาลข้าว
– ข้าวอินทรีย์ – พลังงานทางเลือก – 20 เครือข่าย – ตลาดนัดสีเขียว – งดเหล้างานเทศกาล – เกษตรอินทรีย์ – สวัสดิการชุมชน |
4.นครสวรรค์
“นครสวรรค์ฟอรั่มสู่สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน” |
– ทำงานแบบพหุภาคี บูรณาการ
– คิดเชิงบวก – ท้องถิ่นกำหนดอนาคตด้วยตนเอง – สร้างนำซ่อม |
“ใจมา เวลามี เวทีเกิด”
– สร้างแกนนำและคนกลุ่มใหม่ๆ – วิจัยท้องถิ่น – ถอดบทเรียน – จัดการความรู้ – ประเมินเสริมพลัง – สร้าง+ยกระดับงานบนฐานปฏิบัติจริง |
– โรงเรียนชาวนาคุณภาพพันธุ์ข้าว
– รัก ฒ เขาทอง – เด็กปฐมวัย – เกษตรอินทรีย์ |
5.นครปฐม
“สมาคมศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชน” |
– “ทำอะไร? ชัดหรือยัง?”
– พลังชื่นชม |
– ใช้วิกฤตปัญหาเป็นโอกาส
– เชื่อมความรู้ เชื่อมคน ความรัก + ประวิติศาสตร์ท้องถิ่น – สร้างความไว้วางใจ จริงใจ สุจริต – รวมตัว นั่งคิด นั่งคุย หาแนวทางบริหารจัดการ – วิถีลงแขกเอาแรงกัน – ข้อมูลชัด ทิศทางชัด – เงินต้องโปร่งใส – สื่อสารทางสังคม Online |
– แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียแม่น้ำท่าจีน
– Flood Way – คัดค้านการย้ายพิพิธภัณฑ์ – ร่วมอาลัย ร.9
|
6.สตูล
“รักจังสตูล” |
– สันติวิธี มีอารยะ
– รวมคน ร่วมคิด กำหนดทิศทางสตูล – พัฒนาโดยรากหญ้า – ลูกข่าง (ลูกกะสิงห์) สร้างพลังแรงเหวี่ยง |
– เคลื่อนไหวเรียกร้องคัดค้านนโยบาย
– รวมกลุ่มชาวบ้านทำงานร่วม NGOs – เฝ้าระวัง – สื่อสารสาธารณะ – เสริมพลังชุมชน – เวทีช่วงละศีลอด+วิชาการ |
– คัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา
– สัปดาห์บอกรักเภตรา – ตกปลาหัวโทงฟิชชิ่ง – เดินเท้าตามเส้นทางแลนด์บริดจ์ – ธนาคารปู |
ในด้านวิธีทำงาน ภาคประชาสังคมใช้สถานการณ์ปัญหา รวมรวบผู้คน เรียนรู้จากการปฏิบัติ การค้นคว้าข้อมูล การจัดเวที การรณรงค์เผยแพร่และการผลักดันเปลี่ยนแปลงนโยบาย/โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ วิธีทำงานแบบนี้แตกต่างจากหน่วยงานรัฐและเอกชน จึงเป็นนวัตกรรมการทำงานที่มีทั้งต่อสู้กับนโยบายรัฐและการพัฒนานวัตกรรมหรือกิจกรรมดีๆ ขึ้นมาในจังหวัด
โดย:ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น