ครม.อนุมัติเวียนคืนที่ดิน รถไฟทางคู่ บ้านไผ่-มุกฯ-นครพนม

ครม. อนุมัติเวนคืนที่ดิน รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม แล้ว!!! พร้อมเดินหน้าเต็มที่ หลังการรถไฟเปิดประมูลรถไฟทางคู่สาย บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาแรก ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก มูลค่า 27,123 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่าแฟนเพจ “โครงสร้างพื้นฐาน” รายละเอียดสัญญาตามลิ้งค์นี้
ซึ่งวันนี้ เป็นอีกข่าวดีของโครงการทางคู่สายนี้ คือ ครม. ได้อนุมัติโครงการ รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม แล้ว!!!
ขอแสดงความยินดีกันพี่ๆน้องๆ ทั้ง 6 จังหวัดที่รถไฟสายนี้ผ่านด้วยนะครับ
รายละเอียดมติครม.
ถ้าใครสนใจอยากทราบตำแหน่งการเวนคืนเพื่อก่อสร้างดูภาพจากในลิ้งค์นี้
—————————
รายละเอียดการอนุมัติ
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น
อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม พ.ศ ….
​​คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม พ.ศ ….
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
​​สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
​​เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟทาง และสิ่งจำเป็นอื่น ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน
ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
—————————
ในโครงการแบ่งการประมูลเป็น 2 สัญญาคือ
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก มูลค่า 27,123 ล้านบาท
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 มูลค่า 28,333 ล้านบาท
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
มูลค่าโครงการรวม 55,453
—————————
ถ้าใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียดของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
คนมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม สบายใจได้แล้วนะครับ ของจริงมาแล้วๆ
————————
เอาล่ะมาเริ่มกันที่รายละเอียด โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม กันครับ
{เรื่องนี้ยาว ให้มือถืออ่านให้ฟังนะครับ}
ก่อนอื่นต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า เส้นทางนี้อยู่ในแผน E-W Economic Corridor เชื่อม ตะวันออก-ตะวันตก ของประเทศ และเชี่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ซึ่งเค้ามีทางเลือกหลายเส้นทางตามรูป แต่ทางที่เลือกในโครงการล่าสุดคือ
แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-ชัยภูมิ-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
ซึ่งสายที่ศึกษาและพร้อมทำก่อนคือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม นี่เราพูดถึงกันอยู่นี่
————————
โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ครม. อนุมัติ มาตั้งแต่ ช่วงพฤษภาคม 62
ซึ่งตอนนี้ รฟท ก็เดินหน้าประเมินราคาที่ดินเพื่อเตรียมเวนคืน ซึ่งคาดว่าจะออกประมูลได้ในปีหน้า ตามสายเชียงราย ที่ตอนนี้เตรียมประมูลแล้ว
ใครยังไม่ได้ดูคลิปเส้นทางโครงการดูได้จากโพสต์นี้ครับ
ภาพรวมรายละเอียดโครงการ
– ระยะทางโครงการทั้งหมด 354 กิโลเมตร
– มีสถานีรถไฟและป้ายหยุดรถไฟทั้งหมด 31 สถานี
– ความเร็วรถไฟสูงสุดในการออกแบบในทางประธาน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
– เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร เท่ากับรถไฟทางคู่ของการรถไฟ
– ความสูงชานชลา เป็นชานชลาสูง (เหมือนทางคู่ ขอนแก่น) สูง 1.1 เมตร
– มาตรฐาน โครงสร้างทางรถไฟ
รางรถไฟเป็นมาตรฐาน UIC 60
เป็นแบบหินโรยทาง บนทางระดับดิน
เป็นแบบไม่ใช้หินโรยทาง เป็นหมอนเหล็ก บนทางยกระดับหรือสะพาน
– ออกแบบรองรับรถไฟน้ำหนักสูงสุด 20 ตัน/เพลา (รับรถจักร CSR ซึ่งใหญ่สุดของการรถไฟได้)
– ใช้อาณัติสัญญาณ แบบ ETCS Level 1 ซึ่งเป็นระบบเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีแดง. และรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้งหมดทุกสายทาง
{ใครอยากอ่านเส้นทางและตำแหน่งสถานี อยู่ล่างสุดเลยครับ}
——————————
*แนวคิดในการออกแบบ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายสถานี*
1. พื้นที่เพื่อระบบการเดินรถ
2. พื้นที่อาคารสถานีและอาคารประกอบ
3. พื้นที่ลานสถานีและท่ีจอดรถ
4. พื้นที่เพื่อการขยายตัวในอนาคตสําหรับเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ (ITF-Inter modalTransfer Facilities)
5. พื้นที่เพื่อการพักอาศัยสําหรับการสร้างที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่และคนงาน
6. พื้นท่ีเพื่อการขยายตัวในอนาคต เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในย่าน
7. พื้นท่ีโล่งเพื่อสันทนาการและชุมชน
8. เป็นพื้นท่ีว่างเอนกประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของย่านสถานี
*รูปแบบสถานี แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ*
– สถานีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นสถานีระดับจังหวัด มีทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีมหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, มุกดาหาร และนครพนม
การออกแบบจะให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ในท้องถิ่น เช่น เช่นการตกแต่งเอาศิลปะในพื้นที่มาใส่ (แต่จริงๆผมว่าทำได้ดีกว่านี้ครับ แบบสายระยอง-ตราด)
ขนาดย่านสถานีขนาดใหญ่ ในการเวนคืน ขนาด 180X1000 เมตร ซึ่งยังไม่รวมลานเก็บคอนเทนเนอร์ที่บางสถานีมีด้วย
– สถานีขนาดกลาง มีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบรบือ, โพนทอง, เลิงนกทา, ธาตุพนม และสะพานมิตรภาพ 3
เป็นสถานีสำหรับอำเภอขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารมาก
ขนาดย่านสถานีขนาดกลาง ในการเวนคืน ขนาด 150X700 เมตร
– สถานีขนาดเล็ก มีทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่สถานีภูเหล็ก, กุดรัง, เชียงขวัญ, โพธิ์ชัย, หนองพอก, นิคมคำสร้อย, สะพานมิตรภาพ 2, หว้านใหญ่, เรณูนคร
เป็นสถานีที่มีปริมาณผู้โดยสารน้อย และเป็นอำเภอหรือเมืองขนาดเล็ก
ขนาดย่านสถานีขนาดเล็ก ในการเวนคืน ขนาด 130X500 เมตร
– ป้ายหยุดรถไฟ มีทั้งหมด 12 ป้าย ได้แก่ นาโพธิ์, หนองโน, เขวา, ศรีสมเด็จ, สีแก้ว, เมยวดี, โคกสว่าง, ห้องแซง, บ้านป่งแดง, บ้านดานคำ, นาถ่อน และบ้านกลาง
เป็นแค่ชานชลา ไม่มีตัวอาคารสถานีขายตั๋ว มีผู้โดยสารน้อย รองรับแค่รถไฟท้องถิ่น
ขนาดพื้นที่ป้ายหยุดรถไฟ ในการเวนคืน ขนาด 100X300 เมตร
————————
*ลานกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard (CY)*
นอกจากรถไฟสายนี้จะใช้ขนส่งคนแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของเส้นทางสายนี้คือการขนส่งสินค้า เพื่อที่จะส่งจากแหล่งผลิตไปโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่าเรือ และส่งสินค้าขายประเทศเพื่อนบ้าน
ดังนั้นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างระบบถนนและระบบรางในเส้นทางก็เป็นส่วนที่สำคัญมาก
จึงมีการก่อสร้างลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) ในเส้นทางไว้ถึง 6 จุด แบ่งเป็น 2 ระดับ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประกอบการคือ
– ย่านกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard ซึ่งมีขนาดใหญ่ 15,000-25,000 ตารางเมตร เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ สถานีร้อยเอ็ด, สะพานมิตรภาพ 2 และสะพานมิตรภาพ 3
– ลานกองเก็บตู้สินค้า จะมีขนาดย่อมลงมา ประมาณ 6,000 ตารางเมตร ได้แก่ สถานี ภูเหล็ก, มหาสารคาม และโพนทอง
—————————
ขบวนรถไฟที่ให้บริการในเส้นทาง
ในโครงการ จะมีรถไฟโดยสารให้บริการจากการศึกษา 4 รูปแบบ คือ
1. รถด่วน กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 8 สถานี ได้แก่ บ้านไผ่, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, เลิงนกทา, มุกดาหาร, ธาตุพนม, นครพนม และ สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม)
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 3:30 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
2. รถเร็ว กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 16 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ, เชียงขวัญ, โพนทอง, สถานี นิคมคําสร้อย, สถานีสะพานมิตรภาพ 2, สถานีหว้านใหญ่ และสถานีเรณูนคร
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 4:30 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
3. รถเร็ว กรุงเทพ-ร้อยเอ็ด จอดในพื้นที่โครงการ 5 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง ร้อยเอ็ด ประมาณ 1:20 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
4. รถท้องถิ่น บ้านไผ่-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) เป็นรถจอดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 5:10 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
รูปแบบขบวนรถไฟสินค้า
แบ่งรูปแบบการเดินรถไฟเป็น 4 แบบคือ
– รถสินค้าด่วนเข้า-ออก CY ร้อยเอ็ด
– รถสินค้าด่วนสะพานมิตรภาพ 3
– รถสินค้าสะพานมิตรภาพ 2 และ 3
– รถสินค้า จอดระหว่างทาง โพนทอง-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม-ภูเหล็ก
ซึ่งการจัดขบวนรถไฟขึ้นกับความต้องการของภาคขนส่งเอกชนอีกทีครับ
โครงการต้องใช้รถไฟทั้งหมด 18 ขบวน คือ
ขบวนรถด่วน 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว (ร้อยเอ็ด) 2 ขบวน
ขบวนรถท้องถิ่น 2 ขบวน
ขบวนรถสินค้าทั่วไป 4 ขบวน
ขบวนรถซิเมนต์ 2 ขบวน
————————
พูดมาซะยาวเรามาดูเรื่องการเงินของโครงการบ้างครับ
โครงการมีการลงทุน ทั้งหมดไม่รวมค่าขบวนรถไฟ 61,682 ล้านบาท
มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ 13.60%
มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ -4.77%
ซึ่งรูปแบบการลงทุนในการศึกษา ให้รัฐบาลลงทุนทางรถไฟพร้อมงานระบบทั้งหมด (เหมือนทางคู่ขอนแก่น) และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงเส้นทาง
ซึ่งรูปแบบนี้มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) สูงถึง 8.86% ซึ่งทำให้โครงการมีกำไรได้
————————
จากที่เราดูรายละเอียดของโครงการ EIRR และ FIRR แค่ส่วนเดินรถและบำรุงรักษา สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ดังนั้น ผมว่าก็ควรเร่งทำให้เร็วที่สุดครับ
————————
แนวเส้นทางโครงการ และตำแหน่งสถานี
1. ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น- ที่ กม. 0 + 300 โดยที่ บ้านหนองแวงไร่ ห่างจากสถานีบ้านไผ่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่ 3 กิโลเมตร
2. สถานีภูเหล็ก – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลภูเหล็ก อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น – ที่ กม. 10 สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
3. ป้ายหยุดรถไฟนาโพธิ์ ที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม – ที่ กม. 21
4. สถานีกุดรัง – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 30
5. สถานีบรบือ – สถานีขนาดกลาง ที่ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 45
6. ป้ายหยุดรถไฟ หนองโน – ที่ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่ กม. 59
7. สถานี มหาสารคาม – สถานีขนาดใหญ่ – ที่ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บริเวณชานเมืองติดทางหลวงท้องถิ่น 2040 ที่ กม. 69
พร้อมสร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตรที่นี่
8. ป้ายหยุดรถไฟ เขวา – ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่ กม. 78
9. ป้ายหยุดรถไฟศรีสมเด็จ – ที่ ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ร้อยเอ็ด – กม. 85 ลดชั้นจากสถานี ศรีสมเด็จ
10. ป้ายหยุดรถไฟสีแก้ว – ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัด ร้อยเอ็ด ที่ กม. 93
11. สถานีร้อยเอ็ด – สถานีขนาดใหญ่ ที่ตำบลยางใหญ่ อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด อยู่ตรงแถวถนนวงแหวน ตัดกะถนน ไปจังหาร ที่ กม. 104
สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 25000 ตารางเมตร ที่นี่ เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง น้ำตาลที่นี่
12. สถานีเชียงขวัญ – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 117
13. สถานีโพธิ์ชัย – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 128
14. สถานีโพนทอง – สถานีขนาดกลาง ที่ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 150
– สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
15. ป้ายหยุดรถไฟเมยวดี – ที่ตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 159
16. สถานีหนองพอก – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 175
17. ป้ายหยุดรถไฟโคกสว่าง – ที่ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 183
18. สถานีรถไฟห้องแซง – สถานีขนาดเล็ก ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กม. 197
19. สถานีเลิงนกทา – สถานีขนาดกลาง ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ห่างจากศาลาว่าการอำเภอเลิงนกทา 6 กิโลเมตร ใกล้ทางหลวง 212 (ถนนชยางกูร) – ไปอำนาจเจริญได้ที่นี่ กม. 209
20. สถานีนิคมคำสร้อย- สถานีขนาดเล็ก ที่ ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 223
21. ป้ายหยุดไฟบ้านป่งแดง ที่ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 228
22. สถานีมุกดาหาร – สถานีขนาดใหญ่ ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร กม. 247
23. ป้ายหยุดรถไฟบ้านดานคำ ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 250
24. สถานีสะพานมิตรภาพ 2 – สถานีขนาดเล็ก ที่ ตำบลบางไทรใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 255
– สร้างลานคอนเทนเนอร์(CY) พื้นที่ 15000 ตารางเมตร ที่นี่
25. สถานีหว้านใหญ่ – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร กม. 267
26. สถานีธาตุพนม – สถานีขนาดกลาง ที่ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 291
27. สถานีเรณูนคร – สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กม. 304
28. ป้ายหยุดไฟรถนาถ่อน – ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 315
29. ป้ายหยุดรถไฟบ้านกลาง – ตำบลบ้านกลาง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 320
30. สถานีนครพนม – สถานีขนาดใหญ่ ตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนมไป 4 กิโลเมตร กม. 343
31. สถานีสะพานมิตรภาพ 3 สถานีขนาดเล็ก เป็น ที่ทำการรับส่งสินค้าเชิงสะพานมิตรภาพ ณ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ใกล้ตีนสะพานมิตรภาพ กม. 354
– สร้างลานคอนเทนเนอร์ พื้นที่ 15000 ตารางเมตร

 

แสดงความคิดเห็น