ในยุคแห่งโรคระบาดโควิด-19 ประเทศของเราเต็มไปด้วยการทุจริตเต็มแผ่นดิน ในระบบราชการก็กระทำกันอย่างกล้าโกง โคตรโกง
ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูก็ไม่น้อยหน้าโกงจนไฟลามทุ่งทั่วประเทศเช่น โกงแชร์ลอตเตอรี่ 13 สหกรณ์มูลค่า 728 ล้านบาท ฯลฯ ไม่เกินก.ย. 64 ได้เวลาพิสูจณ์แล้ว
อีกไม่เกินสามเดือนท่านทั้งหลาย อาจได้รับข่าวดียิ่งที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด (สอ.นม.) จะต้องเผชิญชะตากรรมใน 3 กรณีด้วยกันคือ เรื่องแรกการร้องเรียน (1) ขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจหน้าที่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทน สอ.นม. ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 กรณีคณะกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์กำหนดหลักประกันเงินกู้หรือจัดสวัสดิการที่ขัดต่อกฎหมาย และนำทรัพย์สินของสหกรณ์ฯ ไปก่อหนี้ผูกพันกับบุคคลภายนอกที่ประกอบธุรกิจประกันภัย (พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535) และเป็นการจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจนอกกรอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ฯ โดยนายศิลป เศษกลาง ผู้ร้องเรียน (ดูเอกสารประกอบ)
(2) การจัดการดำเนินคดีกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฉ้อโกงประชาชนกรณีการซื้อบ้านพร้อมที่ดินของสหกรณ์เคหะสถานเมืองโคราช จำกัด โดยชำระเงินด้วยเงินกู้จาก สอ.นม.ครบถ้วนทุกบาททุกสตางค์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสิทธิในที่ดินทั้ง 24 แปลงได้อย่างไร (กรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษแล้วในการประชุมครั้งที่ 2/2559 ดูประกาศในราชกิจจานุเบกษา 13 กันยายน 2559)
และ (3) การอายัดปันผลและเงินเฉลี่ยคืนโดยไม่สุจริต โดยยื่นเรื่องให้นายทะเบียนสหกรณ์และรองนายทะเบียนสหกรณ์(สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา) ไปเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 แต่สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาได้ขอขยายเวลาออกไปอีก โดยสหกรณ์จังหวัดอ้างว่า กลุ่มตรวจการสหกรณ์ได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบ สอ.นม. เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แต่เนื่องจากยังมีข้อสงสัยบางประการที่ต้องได้รับการตรวจสอบ…ซึ่งไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในระยะเวลากำหนด ประกอบจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเบื้องต้นอาจร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกได้ เพื่อสัมพันธภาพและประโยชน์สูงสุดร่วมกันระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์ ทั้งนี้ผลเป็นประการใดแจ้งให้ท่านทราบต่อไป (ดูเอกสารสหกรณ์จังหวัดฯ ประกอบทั้งสองฉบับ)
จากการศึกษาอย่างละเอียดในหนังสือร้องเรียนจำนวน 5 หน้ากระดาษ นางพูนทรัพย์ฯ ร้องเรียนไปยังนายทะเบียนสหกรณ์(อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์) และสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาใน 3 ข้อใหญ่ แต่สหกรณ์จังหวัดตอบไปข้อเดียวคือปันผลเฉลี่ยคืน (หนังสือสหกรณ์จังหวัดฯ ที่ นม 0010/911 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2564) ประเด็นข้ออื่นๆ ปรากฏว่า สหกรณ์จังหวัดฯ ยังไม่ตอบมา (ทั้งนี้ถ้าเนิ่นนานอาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญา) ใน 3 หัวข้อใหญ่ที่นางพูนทรัพย์ฯ ร้องเรียนมาประกอบด้วย
ข้อ 1. พฤติการณ์ที่ 1 คณะกรรมการดำเนินการ สอ.นม.เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินกิจการสหกรณ์ในลักษณะ “การจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจ” (ผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 ข้อ 6.) คณะกรรมการดำเนินการฯ กำหนดเงื่อนไขไว้ในระเบียบการให้ผู้กู้เงินต้องทำประกันชีวิตหรือประกันภัยแล้วมอบเงินค่าสินไหมทดแทนชำระหนี้แก่สหกรณ์ฯ เป็นหลักประกันเงินกู้(กรณีนี้ถือว่าเป็น”ความผิดสำเร็จ” แล้ว) และถ้าสมาชิกผู้กู้เงินสหกรณ์มีหลักทรัพย์คำประกันไม่คุ้มหนี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ”สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์” 3 สมาคม(ส.ส.นม. ส.ฌ.นม. และ ฌ.ส.นม.) และบางแห่งให้ผู้กู้เงินสหกรณ์นั้นยังถูกบังคับให้บริจาคเงินเมื่อ
อายุเกินอีกด้วย(ดูเอกสารประกอบ) ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ให้กับสหกรณ์ฯ สมาชิกต้องเขียนแสดงความจำนองจะยกเงินสงเคราะห์ศพ(สมาชิกผู้กู้นั้นตาย) ให้ชำระหนี้ให้สหกรณ์เป็นลำดับแรก(ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545) สมาชิกจะมีหนี้ผูกพันไว้จำนวนหลายสัญญา และทำประกันภัยไว้หลายกรมธรรม์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการฯกำหนด ด้วยเหตุนี้สมาชิกมีภาระส่งเงินเบี้ยประกันรายเดือน และเงินค่าสงเคราะห์ศพให้กับสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ อีก 3 สมาคมเป็นจำนวนมาก อันเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้สมาชิกส่งเงินได้ไม่เต็มจำนวน
โดยสมาชิกชำระดอกเบี้ยได้เต็มจำนวน ส่วนเงินต้นคงเหลือทุกเดือนและเงินค่าหุ้นได้ไม่เต็มจำนวนตามที่สหกรณ์เรียกเก็บรายเดือนซึ่งไม่กระทบรายได้หลักของสหกรณ์ กรณีการหักเงินเดือนนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551 โดยศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1684/2562 โดยหักให้เหลือเงินเดือนร้อยละ 30 (สำเนาข่าวศาลปกครอง สำนักงานศาลปกครองวันที่ 26 กันยายน 2562)
โดยฝ่าฝืนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอผ่อนผันชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตามหนังสือของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ กษ 1110/11300 ลงวันที่ 17 กันยายน 2541 แต่กลับไปสร้างเงื่อนไขให้สมาชิกต้องทำประกันสินเชื่อและงดเงินกู้ทุกประเภทจากสหกรณ์(เว้นแต่คณะกรรมการดำเนินการจะอนุญาต) และสมาชิกปรับโครงสร้างหนี้ต้องทำบันทึกต่อท้ายสัญญาไม่ให้รับเงินปันผลเฉลี่ยคืนที่ขัดต่อข้อบังคับของสหกรณ์ (ความเห็นชองนักกฎหมายบอกว่าหนี้สหกรณ์กู้เงินปันผลเฉลี่ยคืนเป็นเงินคนละส่วนกัน)
เมื่อสมาชิกไม่สามารถทำตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ คณะกรรมการดำเนินการจึงมีมติให้โอนจากการเป็นสมาชิกตามข้อบังคับสหกรณ์ฯ ข้อ 47(2) และ (5) และระเบียบฯว่าด้วยการผิดนัดส่งเงินงวดชำระหนี้ พ.ศ.2563 จำนวน 8 รายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ 26 สิงหาคม 2563 มตินี้ยังได้ชะลอการโอนออกจากการเป็นสมาชิกจำนวน 52 รายอีกด้วย และด้วยมตินี้เช่นกัน สอ.นม.จะนำหุ้นของสมาชิกที่ถืออยู่กับสหกรณ์ฯ ไปหักกลบลบหนี้กับสหกรณ์ฯ ไม่ได้ เพราะ”หุ้น” นั้นเป็น “ทุนของสหกรณ์” ที่ใช้ดำเนินกิจการในแต่ละปีตามกฎหมายเฉพาะแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ที่กำหนดห้ามนำค่าหุ้นมาหักกลบลบหนี้กับ สอ.นม. และกำหนดห้ามเจ้าหนี้ของสมาชิกเรียกร้องในค่าหุ้นของผู้นั้นตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุดที่ อส 0017/18849 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ในทรรศนะของเรา(ผู้เขียน) ด้วยความเคารพ ไม่สู้จะเห็นด้วยอย่างยิ่ง อะไรความจริง อะไรผิดกฎหมายก็ย่อมเป็นสิ่งนั้น ที่สหกรณ์จังหวัดได้มีหนังสือตอบนายภิสิทธิ์ สมาน เรื่องการอายัดเงินปันผลเฉลี่ยคืนว่า “พิจารณาแล้วเห็นว่า อาจร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกได้ เพื่อสัมพันธภาพและประโยชน์สูงสุดร่วมกันระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์” (หนังสือฯ ที่ นม 0010/1155 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2564) อยากจะให้ทำหน้าที่นี้ไปดูการฟ้องศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดของนายสานิตย์ พลศรีกับพวก (ดูกูเกิลข่าว “แชร์ลอตตารี 728 ล้าน ศปค.สูงสุดพิพากษายืนปลดสานิตย์ พลศรี และพวกมิชอบ” อีสานบิซ. 31 กรกาคม 2020) ว่านายทะเบียนสหกรณ์ และสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิกับพวกแพ้คดีทั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดอย่างไร และนายสานิตย์ได้ยื่นเรื่องให้สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อฟ้องศาลทุจริตฯ ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว
ข้อ 2 การชะลอการโอนออกจากสมาชิกและไม่(จ่าย)ให้รับเงินปันผลจำนวน 52 ราย โดยสมาชิกนั้นจะต้อง “บันทึกต่อท้ายสัญญาไม่ให้ได้รับเงินปันผลเฉลี่ยคืน นับเป็นความผิดอย่างชัดแจ้งของคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับที่ 25(1) และ (2)
ข้อ 3 นับเป็นความกล้ากระทำอย่างยิ่ง โดยไม่ใส่ใจการตรวจสอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ และการตรวจสอบจากสมาชิก
อาจเข้าข่ายกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำการตกแต่งบัญชี และมีพฤติการณ์ร่วมกันยักยอกเงินของสมาชิกหรือเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ด้วย เนื่องจากนางพูนทรัพย์ฯ ได้ยื่นบันทึกขอตรวจดูปันผลเงินเฉลี่ยคืนประจำปี 2563 ภาพปรากฏหน้าจอปี 2563 มียอดเงินเฉลี่ยคืน 18,675.02 บาท และเงินเฉลี่ยคืน 44,550.57 บาท รวม 63,225.59 บาท (ดูภาพประกอบปรากฏว่า ตอนหลังถูกมือมืดทำให้ข้อมูลปี 2563 หายไป) นางพูนทรัพย์ฯ ก็ขอเอกสารรับรองสำเนาถูกต้อง(สอ.นครราชสีมา ลงรับที่ 143 วันที่ 23 มกราคม 2563 เวลา 10:49 น.)
ปรากฏว่ารอกรรมการดำเนินการ(ใคร?) จนเวลา 14.00 น. คณะกรรมการดำเนินการไม่อนุญาตตามที่ขอ(ใคร?) และนางพูนทรัพย์ฯ ทำบันทึกอีกครั้งในวันที่ 28 มกราคม 2563 (สอ.นครราชสีมา…ไม่ยอมลงเลขรับและไม่ลงวันที่ไว้) คณะกรรมการดำเนินการอนุญาตให้ได้ 2 รายการคือ 1. ข้อมูลเงินปันผลเฉลี่ยคืน(ลบปี 2563 ทิ้งไปเสีย) 2. มติคณะกรรมการดำเนินการวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ให้โอนออกจากสมาชิก โดยไม่ยอมชี้แจงรายละเอียด และไม่มีใบเสร็จรับเงินให้กับลูกหนี้ถือไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นจึงยื่นเรื่องนี้ให้นายทะเบียนสหกรณ์และสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา(สหกรณ์จังหวัดรับที่ 993 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563) ทำการใน 3 ข้อคือโปรด (1) เพิกถอนมติคณะกรรมการดำเนินการที่ฝ่าฝืนกฎหมายฯ (2) มีคำสั่งให้ สอ.นม.จ่ายเงินปันผลเฉลี่ยคืนสมาชิกที่ถูกออนออกจากสมาชิก 8 ราย และถูกอายัดโดยมิชอบอีก 52 รายกรณีชะลอฯ และออกคำสั่งให้ สอ.นม.จ่ายเงินปันผลเฉลี่ยคืนในปี 2560-2561-2562 (ถ้ามี) ด้วย และที่สำคัญ (3) ให้จัดการ “การจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีปี 2547 ด้วย
ท้ายหนังสือร้องเรียนนี้ นายทะเบียนสหกรณ์ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายสหกรณ์มาตรา 20-21-22 และกฎหมายอื่นๆ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากงานสวัสดิการของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูของกรรมการดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ และผู้สนับสนุนที่เป็นไปโดยไม่สุจริตและ(ถือ) เป็นภัยร้ายแรงต่อประชาชนและเศรษฐกิจต่างกรรมต่างวาระโดยเร็ว
เราจะเห็นได้ว่า นายพิชัย สมพงษ์ นายศิลป เศษกลาง นายสำคัญ จงโกเย็น และครูคนอื่นๆ รวมทั้งนักกฎหมายพยายามหาโอกาสทำความดีเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน พวกเขาจึงจัดตั้งปี 2560 “ศูนย์ประสานงานสมาชิกสหกรณ์สูงเนิน” เป็นที่รับเรื่องรับเรื่องราวร้องทุกข์ในสหกรณ์ออมทรัพย์และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ในจังหวัดนครราชสีมา จนบัดนี้เรื่องร้องเรียนตั้งแต่ปี 2560 เริ่มเกิดความแน่ชัดหลายเรื่องราวที่สามารถดำเนินคดีได้ในศาลทุจริตฯกลาง(กรุงเทพฯ) และศาลทุจริตฯนครราชสีมา(ตั้งอยู่สุรินทร์) ศาลอาญา ศาลแพ่ง และศาลปกครอง โดยในปี 2563 นายพิชัยฯ ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่องทุจริตในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ “อีสานบิซ”มาแล้ว
ในยุคแห่งโรคระบาดโควิด-19 ประเทศของเราเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันเต็มแผ่นดิน ในระบบราชการก็กระทำกันอย่างกล้าโกง โคตรโกง ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูก็ไม่น้อยหน้าโกงจนไฟลามทุ่งทั่วประเทศตัวอย่างเช่น โกงแชร์ลอตเตอรี่ 13 สหกรณ์มูลค่า 728 ล้านบาท ฯลฯราวเดือนไม่เกินกันยายน 2564 นี้ได้เวลาที่ศูนย์ประสานงานสมาชิกสหกรณ์สูงเนินจะได้เวลาพาไปพิสูจน์กันที่ศาลแล้ว
หลังจากเฝ้ารอจากระบบราชการอันยืดยาด โดยยื่นเรื่องผ่านนายทะเบียนสหกรณ์(กระทรวงเกษตรฯ) และผ่านนายทะเบียนกลางสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์(กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ) มาตั้งแต่ปี 2560 แล้ว บัดนี้ยังไม่มีอะไรดีขึ้นเลย รอไปพิสูจน์ยังศาลให้สิ้นสุดเสียทีว่า ประเทศนี้สังคมอันวุ่นวายนี้ ยังพอจะมีความยุติธรรมหลงเหลื่ออยู่บ้างหรือไม่.
หนังสือ/หลักฐานประกอบ
หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ที่ กษ 1101/2867 ลว 6 พฤษภาคม 2564 ตอบนายศิลปฯ/หนังสือสหกรณ์จังหวัด 2 ฉบับที่นม 0010/911 ลว 5 มีนาคม 2564 และที่ นม 0010/1155 ลว 22 มีนาคม 2564/การสนทนาระหว่างในกลุ่มไลน์ว่าด้วยเรื่องสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์โกงอายุด้วยการบริจาคเงินแล้วเอาไปเป็นหลักประกันเงินกู้ในสหกรณ์/หลักฐานของนางพูนทรัพย์ฯ ก่อน(ยังไม่ถูกลบ…หลังจากนั้นลบทิ้งหมด และกรรมการไม่ยอมชี้แจงหรือให้หลักฐานอะไรเลย