กฎบัตรไทย ให้อะไรกับสังคม
#ขวัญฤทัย แก้วหนองตอ นักศึกษาฝึกงาน สาขาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียบเรียง
…………………….
อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย กรรมการ และเลขานุการกฎบัตรแห่งชาติ ร่วมสนทนากับ อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายการขอนแก่น learning city by KKTT เมืองที่สร้างโอกาสให้ทุกคน Smart City แล้วพี่น้อง อิ่มท้อง รึปล่าว? หัวข้อ กฎบัตรไทย ให้อะไรกับสังคม วันที่ 16 กันยายน 2564 เวลา 19.00 น.- 20.15 น.
การเติบโตในประเทศไทย คือ การเติบโตไปเรื่อย หมายถึง หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันอยากจะทำอะไรก็ทำ โดยไม่มีการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งทำให้การเติบโตของเมืองไร้ทิศทาง
กลุ่มคนเปราะบางซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต้องมีการดูแล โดยขาดโอกาสทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เป็นการแบ่งปันในสัดส่วนที่แต่ละภาคส่วนสามารถได้รับอย่างสมดุล
กฎบัตร ได้รับการสนับสนุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
หลักการของกฎบัตรเป็นการนำเอาทุกภาคส่วนมานั่งพูดคุยกันถึงเมืองในอนาคต แต่จะคุยอย่างเดียวนั้นไม่เกิดอะไร ซึ่งคนที่มาคุยจะต้องเรียนรู้เกณฑ์ Smart Growth และการพัฒนาเมือง เป็นการเรียนรู้สิ่งที่ควรจะทำและสิ่งที่สามารถทำได้ เป็นการดูแลกลุ่มคนเปราะบางหรือกลุ่มคนที่ไม่มีโอกาสในสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งก่อนที่จะรับฟังความคิดเห็นทุกคนต้องมาเรียนรู้เกณฑ์ก่อน เมื่อเรียนรู้เกณฑ์แล้วจึงนำไปคิดวิเคราะห์ถึงอนาคตของเมือง และเมื่อได้รู้ถึงอนาคตของเมืองจึงทำการแบ่งหน้าที่กันแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำการแยกเป็นเรื่อง แบ่งภาระกิจ มีการทดสอบ และมีการประสานงานพูดคุยในส่วนของต้องใช้ทรัพยากรจากหน่วยไหน
เราต้องสัมพันธ์กับใคร เมื่อทำการวางแผนอนาคตเมืองแล้วจึงเป็นการทำการคาดการณ์ของนักวิชาการ ซึ่งจะมีเครื่องมือโดยเฉพราะ วิธีคิด การทำฐานข้อมูลของพื้นที่ ขั้นตอนต่อไปการลงนามหรือข้อตกลงร่วม โดยจะแตกต่างกับคำว่า MOU ซึ่งหมายถึงเอกสารการจับมือร่วมกันทำงาน แต่กฎบัตรมีการเขียนบทบาทไว้ชัดเจน ขั้นตอนต่อมาการเข้าทำงานรูปแบบเป็นระดับชั้นเหมือนการทำงานทั่วไป แต่ความพิเศษ คือ ต้องเรียนรู้เกณฑ์การพัฒนาเมืองและแนวคิดทฤษฎีก่อน ต้องทำการคาดการณ์อนาคตข้างหน้าซึ่งจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และสุดท้ายต้องจำแนกบทบาทหน้าที่
ทำไมถึงทำสาขาพัฒนาขึ้นมา ทำไมไม่ใช่ของสหประชาชาติ SDGs
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก่อนจะหมดวาระได้ทำเรื่อง BCG ได้มีการเขียนยุทธศาสตร์เมืองในการใช้กฎบัตรซึ่งเป็นการใช้แบบผสมผสานกัน คือ การเอาตัว B (Bioeconomy) C (Circular Economy) ไว้ แล้วตัว G (Green Economy) ใหญ่ที่สุด เพราะเข้าถึงง่ายกลุ่มเปราะบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสามารถเข้าถึงได้ และเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานของกายภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมผังเมือง โดยประเทศไทยได้นำแนวคิดของแวนคูเวอร์ New York และสิงคโปร์ มาบูรณาการกัน จึงเกิดเป็นสาขาพัฒนา 13 สาขาด้วยกัน ประกอบด้วย
1 สาขาเศรษฐกิจเขียว ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมทุกระดับชนชั้น และตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตในอนาคต
2 สาขาคมนาคมขนส่งเขียว เป็นสาขาที่พยายามให้สังคมเกิดการเดิน ปั่น และใช้ขนส่งมวลชนมากขึ้น เพื่อให้ผู้คนใช้รถยนต์น้อยลงและหันมาใช้ขนส่งเขียว
3 สาขาพลังงานเขียว เช่น โซลาร์เซลล์ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ยกเว้นพลังงานที่มาจากถ่านหินและน้ำมัน
4 สาขาอุตสาหกรรมเขียว ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรในท้องที่
5 สาขาโครงสร้างพื้นฐานเขียว เน้นโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เน้นระบบที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและไม่ทำลายธรรมชาติ เช่น คลองน้ำที่ญี่ปุ่น น้ำใสสวยงาม
6 สาขาที่อยู่อาศัย ผู้คนสามารถครอบครองที่อยู่อาศัยได้ มีความยั่งยืนในที่อยู่อาศัยได้
7 สาขาเกษตรและอาหารปลอดภัย เมืองต้องมีแหล่งอาหารเพียงพอ ปลอดภัยและปลอดสารเคมี
8 สาขาสวนสาธารณะและที่โล่ง คือ เมืองต้องมีแหล่งนันทนาการ มีสวนต้นไม้ สวนหย่อม ซึ่งทุกคนสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ช่วยลดอุณหภูมิของเมืองและสร้างทัศนียภาพที่ดีให้กับเมือง
9 สาขาสุขภาวะ เป็นการสุขภาพใจ สุขภาพกาย สุขภาพจิต เน้นลดกลุ่มโรค ICD โรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น โรคอ้วน ความดัน เบาหวาน มะเร็ง หลอดเลือด เป็นต้น
10 สาขาการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง การฟื้นฟูเมืองให้ดีขึ้น ที่สำคัญต้องฟื้นฟูเมืองเดิมก่อน
11 สาขาการบริหารจัดการเมืองและเทคโนโลยี ต้องมีเทคนิครูปแบบการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น การบริหารจัดการพลังงานของเมือง เป็นต้น
12 สาขานวัตกรรมและปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งปัจจุบันใช้ในการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก
13 สาขาความเสมอภาคทางสังคม เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีความแตกต่างระดับรายได้และโอกาส ซึ่งเป็นการตรวจสอบอีกครั้งว่าแต่ละหัวข้อที่ดำเนินการเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนให้กลับชาวบ้านหรือเปล่า
กฎบัตรอาหารปลอดภัย ประเทศไทยมีทรัพยากรแหล่งน้ำ ที่ดิน และทรัพยากรเกษตรกร โดยออกแบบเป็น smart Farm ซึ่งมีทั้งหมด 144 แห่ง และได้ดำเนินการไปแล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งบางส่วนมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากมีข้อตกลงในการจัดการอาหารในเมือง หลักการสําคัญของกฎบัตร คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีเกษตร ใช้นวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่ขัดกลับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกษตรกรเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ เหมือนประเทศญี่ปุ่นที่มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบผลิตเป็นการผสมผสานกับการผลิตเบื้องต้น จึงต้องการให้เกษตรกรในประเทศไทยยกระดับขึ้น “การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากกับคนเปราะบาง”
ยกตัวอย่าง Smart Farm ไม่จำเป็นเป็นการใช้ที่ดินปริมาณมาก หากมีที่ดินเพียง 2 ไร่ก็สามารถทำเกษตรรูปแบบ Smart Farm ได้ ซึ่งต่อไปจะทำฟาร์มสมุนไพร เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญแพทย์ด้านสมุนไพรให้ความสนใจเยอะ ใช้พื้นที่ไม่เยอะแต่ได้ผลผลิตสูง Smart Farm ยังมุ่งดูแลผักและผลไม้
เขตอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นตัวที่นำเอาอาหารต่าง ๆมาให้คนทั้งซื้อขายและบริโภค โดยแหล่งมาจาก Smart Farm ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้คนในชนบทและผู้คนในเมือง และความสัมพันธ์ทางสังคม
กดบัตรเมืองอัจฉริยะและย่านอัจฉริยะ Smart Block ออกแบบพื้นที่ ลดการใช้งานของรถยนต์ส่วนบุคคล ออกแบบทางเดินเท้า ทางเดินข้ามถนน เปลี่ยนรูปแบบหน้าร้าน เพื่อทำให้เมืองดีขึ้นและสวยขึ้น ส่งเสริมให้คนเดินเพื่อที่กระตุ้นเศรษฐกิจร้านค้ามากขึ้น
กฎบัตรท่องเที่ยวยั่งยืน เป็นกฎบัตรที่ระดมปรัชญาท้องถิ่น ศิลปะพื้นถิ่น ดนตรีพื้นถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน นำมายกระดับและจัดเป็นกิจการ
ภาพใหญ่ที่กำลังดำเนินการทำ คือ การสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่แตกต่างจากเดิม ซึ่งในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ได้บรรจุให้เมืองที่เป็นเมือง Smart City จำนวน 8 เมือง ต้องใช้เกณฑ์กฎบัตร