6 ต.ค. 65 เวลา ที่บริเวณคันคลอง 3L RMC บ้านปากเปลือย ต.บึงเนียม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานชลประธานที่ 6 ขอนแก่น โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย เร่งเสริมคันดิน บริเวณลำน้ำพอง 3L RMC หลังเขื่อนอุบลรัตน์มีการเพิ่มการระบายน้ำ 41,000,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งทำให้พื้นที่บางส่วนมีน้ำไหลเข้ามาโดยเฉพาะพื้นที่ต่ำ จึงเร่งเสริมคันดินขึ้นในชั้นแรก และมีการประเมินแล้วว่าจะได้ ทำคันดิน และบิ๊กแบ็คเสริม เพิ่มอีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำข้ามคลองไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องมีการเร่งมือเพื่อไม่ให้น้ำข้ามคลอง
ทางด้านนายณัฐวรรธน์ ถิระวณิชยางกูล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ชลประทานจังหวัดขอนแก่น ต้องใช้รถแม๊คโฮมาเสริมคันดินหลังจากที่มีน้ำทะลัก ไหลเข้าในคลองชลประทาน เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีน้ำไหลเข้าไปเพิ่มเติมภายในคลองชลประทาน เพื่อรักษาความแข็งแรงของคันคลองตลอดสาย และมีน้ำที่ล้นตลิ่งจากลำน้ำพองได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ในพื้นที่ตำบลบึงเนียม และขยายเป็นวงกว้างต่อเนื่อง โดยให้ที่ประตูระบายน้ำห้วยพระคือ D8 เป็นจุดในการกรอกกระสอบทราย เพื่อนำไปวางตามแนวคันคลอง 3L ซึ่งมีความยาวกว่า 5 กิโลเมตร และถ้าหากน้ำได้ไหลข้ามคลองมวลน้ำทั้งหมดก็จะลงที่บริเวณลำห้วยพระคือ ทางโครงการก็จะทำการเร่งสูบน้ำ ที่ประตูระบายน้ำ D8 ห้วยพระคือ เพื่อออกสู่แม่น้ำชี นอกจากนี้ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายยังได้แจ้งเตือนไปยังผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ที่มีท่อลอด ตามคลองต่างๆ ให้ตรวจสอบว่าประตูได้มีการลักลอบเปิด ประตูระบายน้ำอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนุนหรือไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรอีกชั้น
สำหรับในพื้นที่สำนักชลประทานที่6 มีพื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 3 แสนไร่ คาดว่าน้ำจะท่วมนานกว่า 1 เดือน ซึ่งขณะนี้จะต้องเฝ้าดูมวลน้ำ ที่ไหลมาจากจังหวัดชัยภูมิซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณมาก ส่วนน้ำจากการระบายของเขื่อนอุบลรัตน์ ก็จะไหลมารวมกันที่อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น หากน้ำมารวมกันจะทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ซึ่งขณะนี้ได้มีการเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำชี ตั้งแต่จังหวัดยโสธ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้น้ำไหลลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด
ฝากแจ้งเตือนไปยังผู้นำชุมชนผู้นำท้องที่ให้ตรวจสอบประตูระบายน้ำหรือท่อลอด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันมวลน้ำที่อาจจะเลยเข้าไปท่วมพื้นที่ทางการเกษตร และไหลข้ามคลอง เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้