งานสืบชะตาแม่น้ำพอง “เอิ้นขวัญน้ำ ถามช่าวปลา มาโฮมพี่น้อง ฮ่วมใจป้อง แม่น้ำพอง “

งานสืบชะตาแม่น้ำพอง “เอิ้นขวัญน้ำ ถามช่าวปลา มาโฮมพี่น้อง ฮ่วมใจป้อง แม่น้ำพอง “

 

หลักการและเหตุผล
แม่น้ำพอง หรือลำน้ำพอง แม่น้ำแห่งชีวิตที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน ชุมชนคนอีสานและคนขอนแก่น ริมสองฝั่งน้ำ แม่น้ำพอง ต้นกำเนิดเกิดจากน้ำตกขุนพอง บนภูกระดึง จังหวัดเลย
ไหลผ่านลงมาเข้าเขตจังหวัดขอนแก่น ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และไหลต่อไปผ่านเขตอำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น ก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำชี ในเขตอำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม มีความยาวเฉพาะที่ผ่านเขตจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 125 กิโลเมตร
ในอดีตแม่น้ำพอง อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยพันธุ์ปลาและแหล่งอาหารธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของ แม่น้ำพอง ไม่ใช่มีแค่เฉพาะตัวลำน้ำพอง แต่ยังประกอบไปด้วย ลำห้วยสาขา พื้นที่ชุ่มน้ำ บึงหนอง ป่าไม้ริม สองฟากฝั่ง พื้นที่การเกษตรริมฝั่งน้ำ ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำพองเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2524 เมื่อเริ่มมี โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มีโรงงานต่างๆ เข้ามาตั้งมากขึ้น เข้ามาใช้น้ำเพื่อการผลิต และหลังขบวนการผลิตก็ มีน้ำทิ้งปริมาณมหาศาล ระบายลงสู่ลำห้วยสาขาต่างๆ อาทิเช่น ลำห้วยโจด ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำพอง ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชน กระทบต่อระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อม ที่ไม่ใช่แค่แม่น้ำพอง แต่กระทบไปถึงระบบนิเวศน์ของ ลุ่มน้ำไปด้วย ผลกระทบเหล่านี้นำไปสู่ การเคลื่อนไหวต่อสู้จากชุมชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก อุตสาหกรรม นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับ โรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นดั่งเหมือน
มหากาพย์ของปัญหา ที่ยาวนานกว่า 30 ปี จนยากที่จะเห็นทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการการมีส่วนร่วมในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรน้ำ ในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง มูลนิธิชุมชนอีสาน ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการ Together และ USAID มีวัตถุประสงค์มุ่งที่จะให้เกิดการสานเสวนาระหว่างชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรรัฐ และคณะทำงานให้เกิดการ
แก้ปัญหาในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรน้ำและแก้ปัญหาข้อพิพาทที่มีอยู่ใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างกระบวนการสนทนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (สานเสวนา ในประเด็นปัญหาและการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน และสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและการปรองดองของคนในชุมชน เพื่อแก้ไขและ จัดการปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ซึ่งผลจากการดำเนินงานนำไปสู่การเห็นพ้องร่วมกันที่จะสานสร้างความ ร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำพอง โดยใช้วิถีทางวัฒนธรรมของชุมชน ผ่าน งานสืบชะตาแม่น้ำพอง

วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม
1. เพื่อสร้างกิจกรรมโดยใช้ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน ในการสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์
แม่น้ำพอง
2. เพื่อจัดงานกระตุ้นให้ทุกฝ่ายทั้งชุมชน หน่วยงานรัฐ เอกชน ฯลฯ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของลุ่มแม่น้ำพอง
3. เพื่อสานความสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู
แม่น้ำพอง
4.เพื่อจัดกิจกรรมรำลึกถึงคุณูปการของกลุ่มชาวบ้านและผู้นำชุมชนนักอนุรักษ์ลำน้ำพอง ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ปัญหาลำน้ำพองที่ต้องพูดคุย

1.ชาวบ้านที่อยู่อาศัยมานาน

2.เกิดการเปลื่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมที่เข้ามา

3.น้ำเสียที่มากขึ้น

ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอ “อนาคตของแม่น้ำพอง จากข้อมูลการสำรวจพื้นที่การเกษตรรอบบึงโจด โดยนำโดรนบินสำรวจพื้นที่ลำน้ำพอง อยากให้ชุมชนเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ของตำแหน่งบ่อน้ำเสีย และเปิดประเด็นปัญหา นิคมอุตสหกรรมที่ติดกับลำน้ำพอง ปัญหาที่ต้องอยู่ร่วมกันยังไง แก้ปัญหากันยังไง

 

แสดงความคิดเห็น