บทสัมภาษณ์ “ผมเสียเงิน 40 ล้านใน 2 ปีไม่มีใครรู้” รำพึง…จาก“โชคชัย คุณวาสี”
อีสานบิซวีค: ธุรกิจอื่นๆ ทำอะไรบ้างครับ
คุณโชคชัย : ตอนนี้ก็ทำปั้มน้ำมันอยู่ แต่ก็ทำยากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งนโยบายน้ำมันเช่นนี้ ลงมาที 50 –60 สตางค์ เราขาดทุนไม่มีเงินชดเชย จะได้เงินชดเชยก็ต่อเมื่อ เกิน 60 สตางค์ขึ้นไปถ้าลดไป 50 – 60 สตางค์ ขาดทุนดอกเบี้ย ขาดทุนค่าใช้จ่าย เพราะต้องซื้อน้ำมันที่แพงมาขายถูก และก็เป็นเช่นนี้มา ขาดทุนไปหลายแทนบาท
อีสานบิซวีค: ตอนนี้มีอยู่กี่สาขา
คุณโชคชัย : มี 8 สาขา ที่ขอนแก่น มี 6 สาขา ที่อุดร 1 สาขา และที่โคราชอีก 1 สาขา
อีสานบิซวีค: ธุรกิจน้ำมันจะมีการขยายอีกไหม
คุณโชคชัย: ตรงนี้เราก็ไม่ได้คิด เพราะเราถือว่าเป็นการช่วยเหลือเขา ในส่วนของสาขาที่8 ที่พึ่งทำ ตรงทางเข้าอำเภอชุมแพ เจ้าของเก่าทำไม่ไหว ทางเอสโซ่เองก็ไม่อยากปิดก็มาขอให้เราช่วย เราก็ถือว่าได้ดูแลคนที่ได้เคยทำปั๊มไม่ให้ตกงาน ช่วยได้ก็ช่วย ถ้าไม่ไหวก็เลิก พอเปิดมาตอนนี้ก็ค่อนข้างจะหนัก เพราะราคาน้ำมันลงอย่างต่อเนื่อง ก็คิดว่าก็ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ ส่วนของภาครัฐก็ปล่อยให้ราคาลงอย่างเดียว
อีสานบิซวีค: ธุรกิจตัวอื่นๆละครับ
คุณโชคชัย : ตัวอื่นๆก็จะเป็นในเรื่องของการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำแร่ทิศทางก็น่าจะโต แต่ไม่ง่ายที่จะทำที่ผ่านอยู่ในเกณฑ์พอไหว เราเผชิญปัญหาเรื่องค่าแรง และพอราคาน้ำมันลดลง เราต้องเจอกับค่าขนส่งที่สูงมาก ต้องมาดูว่ามีผลต่อกำไรมากขึ้นไหม ที่ผ่านมาก็อยู่ตัวไม่ถึงกับขาดทุน พอเลี้ยงลูกน้องได้ ถ้าขยายตัวเลขได้มากกว่านี้โดยใช้คนเท่าเดิมอาจจะมีกำไรกลับเข้ามา ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้น
อีสานบิซวีค: ได้เล็งธุรกิจใหม่ๆอย่างอื่นอีกไหมครับ
คุณโชคชัย : คงไม่มีครับ ก็ทำธุรกิจที่มีอยู่ในมือ ถ้าโตก็โตไปตามธุรกิจของเขา ที่จะไปลงมือทำใหม่คงไม่มี ถ้าจะมีก็คงมีในเรื่องของการทำภาพรวมมากกว่า KKTT คงหารือกันในกลุ่ม ถ้าทำส่วนตัวตอนนี้คงไม่มี
อีสานบิซวีค: คุณโชคค่อนข้างลดบทบาทการเข้าไปดูรายละเอียดน้อยลง
คุณชคชัย : ครับ ซึ่งตรงนี้ไม่ค่อยจะมีรายละเอียด ผมแทบจะไม่รู้ราคารถยนต์เลย ตอนนี้ผมก็อายุ 50 กว่าแล้ว ทุกธุรกิจที่ทำผมต้องการเข้ามาทำ ผมต้องการเห็นตอนที่มีชีวิตอยู่ว่า องค์กรทำงานต่อได้หรือไม่ นั่นคือสิ่งที่อยากเห็น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรืออะไรต่างๆ น้ำมันก็คิดว่าทำได้ ซึ่งบางคนก็มองว่า ยังไม่ดีเท่าที่ผมทำซึ่งหากผมลงไปทำเองก็คงทำไม่ได้ขนาดนี้ สิ่งที่ทำผมเป็นคนดูมันก็ง่ายที่จะดู
อีสานบิซวีค: ธุรกิจดีลเลอร์ตอนนี้ยากกว่าเดิมไหม
โชคชัย: ยากขึ้นแน่เพราะผู้เล่นมากขึ้น ทุกค่ายทุกยี่ห้อมีผู้เล่นในจังหวัดของตัวเองมากขึ้น การแข่งขันก็มากขึ้น และก็เป็นธุรกิจที่คนอยากเข้ามาทำ สนุกแต่แข่งขันรุนแรง ในทุกธุรกิจเริ่มจากนี้ไปมันไม่มีอะไรง่าย ธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป ค่อนข้างที่จะเจอปัญหาแบบหนึ่ง ในเรื่องของดารแข่งขัน มีคนอยากเข้ามาทำเยอะ แต่ผมมอกว่าเป็นเรื่องสนุกที่ได้แข่ง กันในเกม
อีสานบิซวีค : ในชีวิตที่เติบโตมาในครอบครัวธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ และมาสานต่อ อยู่ในแวดวงหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ถ้าจะสรุปตัวความคิดหรือความต้องการ มุมของคุณโชคเองในแง่ของการทำธุรกิจคิดว่าตัวเองจะสรุปว่า อาจจะมี Concept ของตัวเองในการทำธุรกิจว่า เพื่อตรงไหน อย่างไร
โชคชัย: ที่แน่ๆว่าทำธุรกิจก็คงทำให้ตัวเองเข้มแข็ง และยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ มีกำลังที่แข็งแรงพอ จากนั้นในส่วนที่เกิดไปก็พยายามคืนกลับ แต่ในการที่ทำให้ตังเองเข้มแข็งต้องยืนในกรอบของคุณธรรม จริยธรรมในการทำธุรกิจค่อยเป็นค่อยไปแล้วแต่จังหวะและโอกาส
ผมอาจจะโชคดีหน่อยที่ดูเหมือนว่ามาเร็ว และได้บทเรียนมาตอนที่เจอวิกฤตผมเสียเงิน 40 ล้านบาทภายใน 2 ปี ไม่ค่อยมีใครรู้ เพราะมีแต่ภาพด้านบวกอย่างเดียว ผมเองก็มีภาพด้านลบ มีภาพที่ผิดหวังมาเหมือนกัน ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยได้รู้กัน เพราะฉะนั้นเวลาเรื่องที่เป็นประสบการณ์
ผมอาจจะเรียนรู้ประสบการณ์มาเร็วในช่วงแรกๆ แล้วก็มาปรับมาเร่ง พอได้จังหวะที่ดี มันก็ดี แต่ผมเชื่อสิ่งหนึ่ง ถ้าเราทำโดยที่เราไม่หวัง ทำโดยพอดี ไม่ได้ไปเคร่งเครียดกับมันว่าต้องมีเท่านั้นต้องมีเท่านี้ ผมก็ว่ามันก็ง่ายในการทำทุกอย่าง และสามารถทำให้เราลดอัตตาบางอย่างลงได้ ผมก็อาจจะให้นักธุรกิจทุกๆคน แบ่งส่วนหนึ่งทั้งเวลาและกำลัง ในด้านที่ตัวเองมีเหลือเกิน แบ่งคืนกลับสังคม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
อีสานบิซวีค: ที่คนมักจะพูดว่าให้รวยก่อนแล้วค่อยช่วยสังคม คุณโชคชัยนิยาม หรือตีความอย่างไร ที่พูดเสมอว่าพอเข้มแข็งแล้วต้องคืนสังคม ต้องเข้มแข็งขนาดไหน
โชคชัย: ผมว่าตรงนี้คนนั้นก็ต้องตอบตัวเองว่า ถ้าไม่รู้จักคำว่าพอก็จะไม่รวย เท่าไหร่ถึงเรียกว่ารวย แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางคนบอกว่า 1 ล้านบาทก็รวยแล้ว บางคนก็ว่า 100 ล้านบาทก็รวยแล้ว บางคนก็บอกว่า 1,000 ล้านบาทก็รวยแล้ว แต่ผมมองว่ามีเงิน 1,000บาท ถ้าพอก็รวย และพยายามใช้ชีวิตให้ได้ใน 1,000บาท ซึ่งก็เป็นชีวิตที่แน่นอน
ไม่เหมือนคนที่มีเงิน 1 ล้านบาท แต่ว่าก็ใช้เท่าที่เราสามารถหามาได้ แต่ว่าบางครั้งรวยไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้ารวยแล้วใช้เงินไม่เป็น ไม่มีคนคบ รวยแล้วไม่มีสังคม รวยแล้วไม่มีคุณค่าในสายตาคนอื่น มีเพียงคุณค่าที่ยอมรับในตัวเราเอง ผมว่า มันคงไม่พอ แต่สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครมาเห็นหรือยกย่อง แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราได้ทำแล้วเราก็จะมีความสุขกับการให้