เอาฤกษ์เอาชัย กลุ่มมิตรผล เปิดป้ายความร่วมมือวิทยาลัยอุตสาหกรรมน้ำตาลนานาชาติบนเส้นทางสายไหมยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมเกษตร
ที่โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น , นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล , Mr.Qiu Zhenlin President of Guangxi Vocational & Technical Institute of Industry , นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา และดร.วัชรินทร์ ศิริพานิช ที่ปรึกษา บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ร่วมพิธีเปิดป้ายความร่วมมือวิทยาลัยอุตสาหกรรมน้ำตาลนานาชาติบนเส้นทางสายไหม (Silk Road International College of Sugar Industry) เพื่อยกระดับคุณภาพของคนในอุตสาหกรรมเกษตรของมิตรผล และประเทศไทย ตลอดจนพัฒนาการศึกษาในเรื่องเกษตรอุตสาหกรรม ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องนโยบาย Belt and Road Intiatve ประเทศจีน
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า “ทุกวันนี้ innovation ประเทศจีนก้าวหน้าไปมาก และเป็นระบบ Open ถือเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้วิทยากรและเทคโนโลยีต่างๆ โดยกลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ที่มุ่งมั่นพัฒนาธรกิจอย่างต่อเนื่อง ได้กำหนดกรอบความร่วมมือ พัฒนาบุคลากรของอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศ รวมถึงสนับสนุนนโยบาย “One Bel One Road” ของประเทศจีน กลายเป็นที่มาความร่วมมือกับ ที่ Guangxi Vocational & Technical Institute of Industry ร่วมกันพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพของลุ่มมิตรผล ร่วมกันพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาที่จะเข้าร่วมงานกับกลุ่มมิตรผล รวมถึงองค์กรอื่นๆ ในประเทศไทยให้มีความรู้ ความสามารถ ตรงตามที่ต้องการ หลังจากจบการศึกษา ร่วมกันพัฒนาระบบอาชีวศึกษาของประเทศไทย ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนระหว่างวิทยาลัย”
สำหรับแนวทางความร่วมมือ พัฒนาบุคลากรของกลุ่มมิตรผล ได้จัดทำโปรแกรมการพัฒนาพนักงาน (หลักสูตรระยะสั้น) และส่งพนักงานไปเรียน ที่ Guangx Vocational & Technical Institute of Indนstry เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทางกดนิด, ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่อง ในระดับ ปวส. ตลอดจนให้ทุนบุตรพนักงาน ลูกหลานชาวไร่ เพื่อไปเรียนยังสถาบันดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ในอนาคตมีแผนพัฒนาระบบอาชีวศึกษาของไทยและจีน เพื่อนำแนวทางมาขยายผลในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาในประเทศไทย กระทั่งจัดตั้งวิทยาลัยต้นแบบ Sugar Production (สอนตามกระบวนการผลิตน้ำตาล แทนการสอนตามสาขาแบบเดิม) ต่อไป